บล.บัวหลวง:

Gulf Energy Development (GULF TB / GULF.BK)

GULF – 3 สิ่งที่ตลาดเข้าใจผิด

ตลาดกังวลเกี่ยวกับกลุ่มโรงไฟฟ้า 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การลดค่าไฟ กระบวนการลงนาม PPA พลังงานหมุนเวียนของ กกพ. และโอกาสที่จำกัดในตลาดไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งรายงานนี้จะชี้แจงว่า ทำไมเราถึงคิดว่าตลาดเข้าใจผิด

การลดค่าไฟไม่ใช่เรื่องใหญ่ เมื่อ PTT ช่วยจำกัดราคาก๊าซ

ตลาดแสดงความกังวลว่าการปรับลดค่าไฟในเดือน ก.ย.- ธ.ค. (จาก 4.45 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโม งมาเหลือเป็น 3.99 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง) จะส่งผลลบต่อโรงไฟฟ้า SPP อย่างมีนัย อย่างไรก็ตาม การลดค่าไฟจะมาพร้อมกับ 2 มาตรการ ได้แก่ การขยายระยะเวลาคืนทุนค่า Ft ให้กับ กฟผ. และ PTT กำหนดเพดานราคาก๊าซ โดยทางกกพ. ได้สั่งให้ PTT จำกัดราคาก๊าซในช่วงก.ย.-ธ.ค. ให้อยู่ไม่เกิน 305 บาท/ล้าน btu ซึ่งลดลงประมาณ 12% เมื่อเทียบ กับช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค. เนื่องจากต้นทุนก๊าซจะลดลงเร็วเกือบเท่ากับอัตราค่าไฟ จึงช่วยลดผลกระทบต่ออัตรากำไรของโรงไฟฟ้า SPP ได้

การขายไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมของ GULF มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยต่อรายได้ ดังนั้นการลดค่าไฟจึงแทบไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยต่อแนวโน้มกำไรของ GULF นอกจากนี้ เราคาดว่า GULF จะรายงานกำไรหลักสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาส 3/66 หนุนจากกำไรจากกำลังผลิตใหม่ของโรงไฟฟ้า IPP ต้นทุนก๊าซที่ลดลง และกำไรที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

กกพ.จะยังคงเซ็นสัญญา PPAs อย่างต่อเนื่อง

ข้อพิพาทระหว่างบริษัท Energy Absolute (EA) และ กกพ. อาจกระทบต่อการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าพลังงานลม (EA ได้ยื่นฟ้อง กกพ. หลังจากที่ฟาร์มกังหันลมของบริษัทไม่เข้าเกณฑ์ข้อกำหนดของ กกพ. แต่ กกพ. มีแนวโน้มที่จะยื่นอุทธรณ์เนื่องจาก EA ใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ในการยื่นขออนุญาต) แต่เราไม่คิดว่าจะกระทบต่อกระบวนการลงนาม PPA กับผู้ที่ชนะโครงการฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ที่พร้อมระบบกักเก็บพลังงาน และโครงการพลังงานขยะ (เนื่องจากนโยบายของภาครัฐกำลังพยายามที่จะลดคาร์บอนและค่าไฟของโครงการเหล่านั้น ราคาถูกกว่าค่าไฟในปัจจุบัน)

เนื่องจาก กกพ. ได้กำหนดกรอบเวลาในการลงนาม PPA ไว้ 6 เดือนหลังประกาศผล (ในเดือน เม.ย.) เราจึงคาดว่า GULF จะเริ่มลงนาม PPA บางฉบับในเร็วๆ นี้ เมื่อบริษัทประกาศการลงนาม PPA ใหม่ เราคาดว่าความกังวลของตลาดเกี่ยวกับกระบวนการลงนาม PPA จะคลี่คลายลง

รงไฟฟ้าของประเทศไทยยังคงมีโอกาสอีกมาก

อัตราสำรองไฟที่สูง (แต่กำลังการผลิตสำรองส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้งานได้ เกิดมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด) ทำให้ตลาดเข้าใจผิดว่าโอกาสของโรงไฟฟ้าในประเทศไทยมีจำกัด แต่ในความเป็นจริงยังมีอัพไซด์การเติบโตใน
กลุ่มพลังงานหมุนเวียน (จากปัญหาสภาพภูมิอากาศ) ในระยะยาว นอกจากนี้ กำลังการผลิตไฟฐานประมาณ 10 กิกะวัตต์ จะถูกหมดอายุลงในช่วงปี 2566-2571 และหากการนำ EV มาใช้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการใช้ไฟสูงสุดเพิ่มขึ้นเร็วเกินไป ประเทศไทยอาจประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงที่เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (กลางคืนในฤดูร้อน ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่สามารถพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำได้) ดังนั้นแผน PDP ใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าฐานขนาดใหญ่ภายในปี 2571 และหาก กฟผ. ไม่มีความสามารถในการลงทุนเพียงพอ (เนื่องจากภาระอุดหนุนค่าก๊าซจำนวนมาก) ก็จะมีโอกาสต่อโรงไฟฟ้า IPP ใหม่

- Advertisement -