บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Kiatnakin Phatra Bank (KKP.BK/KKP TB)*
ถูกฉุดโดยผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมา
Event
ประชุมนักวิเคราะห์ และ ปรับลดราคาเป้าหมาย
lmpact
ผลประกอบการ 3Q66 ต่ำกว่าประมาณการ
กำไรสุทธิของ KKP ใน 3Q66 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท (-9% QoQ , -39% YoY) ต่ำกว่าประมาณการของเรา/consensus 24%/11% เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมต่ำกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่ credit cost และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้น แต่หากไม่รวมการตั้งสำรองกำไรใน 3Q66 จะต่ำกว่าประมาณการของเราประมาณ 7% ทั้งนี้ กำไรที่ลุดลง QoQ สะท้อนถึงรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ส่วนกำไรที่ลดลง YoY สะท้อนถึงคชจ.สำรองฯ (credit cost) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และผลขาดทุนก้อนใหญ่จากการขายรถที่ยึดมา สำหรับในงวด 9M66 กำไรสุทธิอยู่ที่ 4.8 พันล้านบาท (-23%)
มีผลขาดทุนจากธุรกิจ H/P หนักขึ้นอีก
ผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาทำสถิติใหม่ที่ 1.3 พันล้านบาทใน 3Q66 (จาก 1.0 พันล้านบาท ใน 2Q66 และ 497 ล้านบาทใน 3Q66) และ 3.5 พันล้านบาทใน 9M66 (จาก 1.1 พันล้านบาทใน 9M66) ธนาคารชี้แจงว่ามีหลายเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจ EP ขาดทุนหนัก ได้แก่ การรุกปล่อยกู่ในช่วง COVID ในกลุมุรถยนต์มือสอง โดย กระบวนการพิจารณาสินเชื่อเป็นแบบผ่อนปรน, ความต้องการที่สูงของรถ EV ทำให้ราคารถมือสองตกหนัก และการที่ ธปท. กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อ H/P รถมือสองที่ <15% ทั้งนี้ผลขาดทุนรายการนี้ คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งจนถึงปี 2567 ซึ่งที่ระดับนี้ เราได้ปรับเพิ่มประมาณการผลขาดทุนจากยอดขายรถที่ยึดมาในปีนี้เป็น 4.5 พันล้านบาท (จากเดิมที่ 3.6 พันล้านบาท)
ทั้งธุรกิจปล่อยกู้ และตลาดทุนอ่อนแอทั้งคู่ใน 3Q66
เมื่อพิจารณาไส้ในงบ 3Q66 พบว่า KKP บันทึกรายได้ดอกเบี้ยพิเศษจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งทำให้ NII และ NIM ดีเกินเหตุ อย่างไรก็ตาม หากตัดรายได้ส่วนนี้ออกไป yield สินเชื่อและมาร์จิ้นจะลดลงประมาณ 15-20bps QoQ ในขณะเดียวกัน ภาวะตลาดทุนที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้รายได้จากธุรกิจตลาดทุนลดลงอย่างมากใน 3Q66 และมีแนวโน้มจะต่อเนื่องใน 4Q66 เพราะมีดีล IB 6 ดีลที่ถูกเลื่อนไปเป็นปี 2567
ปรับลดประมาณการปี 2566/2567 ลง 10%/7% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 2567F เหลือ 57 บาท
เพื่อสะท้อนถึงผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นจากการขายรถที่ยึดมา เราจึงปรับประมาณการผลขาดทุนรายการนี้ในปี 2566/2567 เป็น 4.5 พันล้านบาท/3.6 พันล้านบาท (จากเดิมที่คาดว่าจะขาดทุน 3.6 พันล้านบาท/3.0 พันล้านบาท) เราคิดว่า KKP กำลังอยู่ในช่วงที่ยากลำบากในการกลับมาสร้างโมเมนตัมการเติบโตของธุรกิจ เพราะต้องการเวลานานขึ้นในการที่จะทำให้ผลขาดทุนจากธุรกิจ H/P นิ่ง ในขณะที่ธุรกิจตลาดทุนยังซบเซา ซึ่งที่ระดับนี้ เราประเมินราคาเป้าหมายของ KKP โดยอิงจาก PBV ที่ 0.75x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายปี 2566F ใหม่ที่ 57 บาท (ลดลงจาก 62 บาท)
Risk
NPLs สูงเกินคาด, ตลาดทุนผันผวน, ผลขาดทุนจากธุรกิจ H/P.