บล.กรุงศรีฯ:

INVESTMENT STRATEGY – ตัวเลขเศรษฐกิจและเหตุการณ์สัปดาห์นี้จะส่งผลต่อ Yield Curve หรือไม่

ตั้งแต่เดือนส.ค. มีการขายหุ้นและพันธบัตรทั่วโลก อัตราผลตอบแทน UST1OY ทะลุระดับ 5% ส่วนสินทรัพย์เสี่ยง ดัชนี MSCI ทุกประเทศ, US S&P500 และ SET ลดลง 8.4%, 8.8% และ 11.1% ตามลำดับ สู่ระดับต่ำสุดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจและการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นได้ ในทางกลับกัน ข้อมูลที่ออกมาน้อยกว่าที่คาดไว้อาจทำให้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นบนเส้นอัตราผลตอบแทนลดความร้อนแรงลง โดยในรายงานฉบับนี้เป็นข้อสังเกตของเราที่อาจมีผลกระทบต่อตลาดการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สัปดาห์นี้เต็มไปด้วยข้อมูลที่ส่งผลต่อตลาด

สัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์ที่วุ่นวายและน่าหงุดหงิดสำหรับนักลงทุน เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญจะออกมาในอีกไม่กีวันข้างหน้า รวมถึงการประชุม FOMC ครั้งต่อไปอาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน ท่ามกลางความคาดหวังว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก็ตาม ทั้งนี้เรามุ่งเน้นไปที่กิจกรรมด้านอุปทาน และตัวชี้วัดตลาดงานตลาดคาดว่าข้อมูล ISM ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ในเดือนต.ค. จะใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ 49.0 ขณะที่ภาคบริการคาดชะลอลงจาก 53.6 เป็น 53.0 สำหรับข้อมูลการจ้างงาน JOLTS (การเปิดรับตำแหน่งงานใหม่) คาดว่าจะอ่อนตัวลงเป็น 9,265k จาก 9,610k และอัตราการว่างงานน่าจะทรงตัวที่ 3.8% ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรคาดจะชะลอลงเช่นกัน ตลาดคาดว่าการจ้างงานใหม่จะลดลงเหลือ 188,000 ตำแหน่ง จาก 336,000 ตำแหน่ง ในเดือนก.ย. ทั้งนี้จากการคาดการณ์ของตลาดมีโอกาสที่ข้อมูลจะออกมาดีกว่าคาด และสร้างแรงกดดันต่ออัตราผลตอบแทน พันธบัตรระยะยาว อย่างไรก็ตาม มี upside ที่จำกัดสำหรับอัตราผลตอบแทน USTIOY ในระยะอันใกล้นี้ จากปัจจัยหลักคืออัตราเงินฟ้อที่ผ่อนคลายลง และ อัตรา Fed Funds Rate ในระดับปัจจุบัน

ดัชนีหุ้นไทยถูกขายลงมาลึกพอแล้วรียัง

SET Index ร่วงลงมาต่ำกว่า 1,400 ถือเป็นจุดที่น่าสนใจ ปัจจุบันตลาดมีการซื้อขายที่ -1.5SD ของค่า PE เฉลี่ย ซึ่งเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายในช่วงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ จีนก่อนเกิด Covid-19 นอกจากนี้จำนวนหุ้นที่มีราคาหุ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย 200 วันลดลงเหลือเพียง 89 ราย ซึ่งปกติจะเป็นฐานที่ดีในการฟื้นตัว จากข้อมูลในอดีตจาก ณ ระดับจุดต่ำสุดเมื่อมีการฟื้นตัว ตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 6% ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน (ไม่รวมการปรับตัวลงรอบปี 2008 และ 2020) นอกจากนี้ยังหมายความว่ากลุ่มหุ้น / sector ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดอาจฟื้นตัวได้ดี

ทั้งนี้เพื่อให้สินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ จำเป็นต้องอ่อนตัวลง ทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลจะรายงานออกมาจะเป็นอย่างไรในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ยังต้องคอยติดตาม

- Advertisement -