บล.กรุงศรีฯ:

BANKING SECTOR – บางสิ่งที่ต้องแลก…เพื่อให้ได้มา (NEUTRAL)

  • Highlights: 3Q23 Results Review

สำหรับสรุปภาพรวมผลประกอบการ 3Q23 ของธนาคาร (BBL, KIB, KBANK และ TTB) ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่า Bloomberg consensus คาดไว้ ยกเว้น SCB ที่ออกมาตามคาด โดย TTB ออกมาสูงกว่า consensus คาดไว้มากที่สุด รองลงมาคือ KBANK และ BBL โดยมาจากปัจจัยหนุนเดียวกันคือการเพิ่มขึ้นของ NIM และสัดส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (C/I) ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ทั้งนี้ผลประกอบการของ SCB ออกมาแย่สุดในกลุ่ม โดยมีกำไรสุทธิลดลงทั้ง yoy และ qoq เนื่องจาก ECL, credit cost และสัดส่วน C/I ที่ออกมาสูงกว่าคาด

ในแง่ของอัตราการเติบโตของกําไรสุทธิ BBL มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดใน 3Q23 (+48% yoy) และมีอัตราการเติบโตที่สุดว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของกลุ่มอยู่ที่ 16% yoy ตามมาด้วย TTB และ KTB แต่เมื่อเทียบ qoq กําไรสุทธิของ TTB ออกมาเติบโตดีที่สุด (+4% qoq) รองลงมาคือ KBANK และ KTB อย่างไรก็ตาม ในแง่ของ PPOP KTB ทําได้ดีสุด yoy หนุนจาก NII และ Non-NII ที่สูงสุดในกลุ่ม ขณะที่มี credit cost และสัดส่วน C/I ที่ต่ำสุดในกลุ่ม รองลงมาคือ BBL และ KBANK

ในแง่อัตราการเติบโตของสินเชื่อ SCB มีการขยายตัวสูงที่สุด โดยมี ytd loan growth อยู่ที่ 3% yoy รองลงมาคือ BBL (+0.3% yoy) ทั้งนี้สําหรับ BBL หากไม่รวมสินเชื่อของ PermataBank สินเชื่อในประเทศของ BBL มีการหดตัวลงประมาณ 0.2-0.3% yoy (หรือค่อนข้างถือว่าทรงๆ yoy)

ในแง่ของ NIM SCB มี NIM สูงที่สุดในกลุ่มอยู่ที่ 3.74% รองลงมาคือ KBANK และ KTB เนื่องจากธนาคารมีผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (earnings assets yield) ที่สูงที่สุด ทําให้สามารถชดเชย credit cost ที่เพิ่มขึ้นสูง (เป็นเกือบ 200bps ซึ่งสูงรองจาก KBANK ที่มี credit cost สูงที่สุดใน peer) ในเชิงของคุณภาพสินทรัพย์ NPLs ของ SCB สูงที่สุด (3.30%) แต่ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยทรงตัวอยู่ที่ระดับเดิมติดต่อกันมา 6 ไตรมาสแล้ว และดีขึ้น qoq ส่วน coverage ratio ของ SCB อยู่ที่ 167% ซึ่งสูงเป็นอันดับสองใน 16 ไตรมาสของ SCB เองและสูงเป็นอันดับสามในกลุ่ม ในขณะที่ NPLs ของ KBANK อยู่ในอันดับสองตามมาด้วย KTB

  • Outlook and Implication

เราคาดอัตราการเติบโตของสินเชื่อจะยังคงอ่อนแอใน 4Q66F ซึ่งจะทําให้สินเช่ือรวมในปี 2023F ขยายตัวในระดับเลขตัวเดียวต่ำ ๆ สอดคล้องกับอัตราการขยายตัวของ GDP (ธปท. คาดอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2023F ที่ 2.8%) ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าสินเช่ือน่าจะขยายตัวได้ในระดับปานกลางที่ประมาณ 4% ในปี 2024F เพื่อให้ สอดคล้องกับ GDP (ธปท. คาดอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2024F ที่ 4.4%) ทั้งนี้ หากมีการปรับเพิ่ม หรือ ลดประมาณการ GDP จะทําให้การอัตราการขยายตัวของสินเช่ือจะมีการปรับล้อไปตาม ขณะที่เรามองว่า NIM จะมี upside จํากัด หลังจากที่คาดว่า NIM น่าจะทําจุดสูงสุดใน 4Q23F ในแง่ของ ECL เนื่องจากธนาคารสามแห่ง (KBANK, SCB และ KTB) มีการเพิ่มขึ้นของ ECL ที่สูงประมาณ เฉลี่ย 30-40% yoy ใน 3Q23 ขณะที่ BBL และ TTB คงระดับ ECL เอาไว้ในระดับเดียวกับ 1Q23 (ต่างจากที่ประชุมใน 1Q23 ที่มองว่า ECL จะมากที่สุดใน 1Q23 แล้วค่อยๆ ลดลงในไตรมาสถัดๆ ไป) เราจึงเชื่อว่าผู้บริหารอาจจะมองเห็นความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่อาจจะแย่ลง และส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์ จึงยังคงระดับ ECL ไว้ในระดับสูง รวมถึงการมองแนวโน้ม credit cost จะยังเพิ่มขึ้นในปี 2024F ดังนั้น เราจึงมีมุมมอง Neutral กับหุ้นกลุ่มธนาคารไทย (upsides จะมา จากการเติบโตของสินเชื่อและ NIM ถ้าออกมาสูงกว่าคาด คุณภาพสินทรัพย์ที่ดีกว่า คาดรวมถึง credit cost, ECL, NPLs, และ OPEX ที่ต่ำกว่าคาด

- Advertisement -