บล.บัวหลวง: 

STGT (STGT TB / STGT.BK)

STGT – ยังมีความผันผวนทั้งด้านรายได้และต้นทุน

เรามองว่าผลประกอบการของ STGT ยังคงมีความผันผวนทั้งในด้านของรายได้ (ภาวะอุปทานส่วนเกิน) และต้นทุน (ราคาวัตถุดิบยังมีการแกว่งตัวในกรอบกว้างและปัจจัยภายนอกที่ผันผวน) โดยอาจมี Downside จากสมมติฐานกำไรที่ตลาดทำในปีหน้า ราคาหุ้น STGT น่าจะสะท้อนข่าวร้ายไปมากแล้ว แต่ภาวะตลาดปัจจุบันมีหุ้นหลายตัวที่มีแนวโน้มกำไรที่ดีและราคาปรับตัวลงมาน่าจะเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า แม้ Downside จำกัดแต่คาดจะมี Opportunity loss

กำไร 3Q23 เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด YoY และ QoQ

สรุปผลประกอบการใน 3Q23: หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อ covid-19 คลี่คลาย

ส่งผลให้อุปสงค์และราคาขายถุงมือยางมีการปรับตัวลดลง (ราว 74% ตั้งแต่ 1Q21) โดยปัจจุบันยังคงมีอุปทานส่วนเกิน ในส่วนของ 3Q23 STGT รายงานกำไรสุทธิที่ 47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 118% YoY และ 212% QoQ หากตัดรายการพิเศษกำไรปกติอยู่ที่ 92 ล้านบาท (ลง 21% YoY แต่ปรับขึ้น 266% QoQ) โดยมีสัดส่วนการขายถุงมือชนิดไม่มีแป้งที่มากขึ้น เนื่องจากมีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของถุงมือยางสังเคราะห์กับผู้ประกอบการในมาเลเซีย

แนวโน้ม 4Q23 ยอดขายโตขึ้น แต่โดนกดดันจากต้นทุนราคายาง

สำหรับแนวโน้ม 4Q23 ผู้บริหารคาดราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวขึ้นราว 10-20% QoQ ทางบริษัทจะมีการปรับขึ้นราคาขายกับลูกค้า แต่ไม่น่าจะสามารถครอบคลุมกับต้นทุนที่ปรับขึ้นได้ทั้งหมด โดยเราคาดว่า GM มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงจาก 3Q23 อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารคาดว่ายอดขายถุงมือยางจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.3% QoQ แตะระดับ 8,000 ล้านชิ้น (มีสินค้าประมาณ 300 ล้านชั้นที่ติดอยู่ที่ท่าเรือ และมีการส่งออกภายในเดือนตุลาคม ซึ่งน่าจะเป็นล็อตที่ยังคงมีต้นทุนที่ต่ำ) โดยรวมเราประเมินกำไรหลักใน 4Q23 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น YoY (รายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลงเนื่องจากใน 4Q22 มีค่าใช้จ่ายในการออกบูธแสดงสินค้า) แต่ลดลง QoQ สำหรับกำไรสุทธิเราคาดพลิกเป็นกำไร YOY และ ปรับตัวขึ้น QoQ จากกำไรพิเศษมูลค่า 80-90 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสนับสนุนจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

แนวโน้มปีหน้ายอดขายฟื้นตัวต่อ

ปีหน้าผู้บริหารคาดยอดขายถุงมือยางฟื้นตัวต่อเนื่องโดยตั้งเป้าที่ 40,000 ล้านชิ้น (โตขึ้นราว 30% YoY) ผู้บริหารเชื่อว่าปีหน้ายังจะมีอุปทานส่วนเกินแต่น่าจะเริ่มเห็น ผู้ผลิตถุงมือยางอื่นๆมีการลดกำลังการผลิตลง (เพิ่มเติมจากบริษัทอย่าง Hartalega ที่มีการลดกำลังการผลิตไปราว 20%) บริษัทคาดสถานการณ์อุปทาน ส่วนเกินจะกลับมาเป็นปกติได้ในต้นปี 2025 ในด้านของต้นทุนเราคาดราคาต้นทุนยางมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีจากผลกระทบของ EL Nino ในระยะสั้นการเข้ามาดูแลของทางภาครัฐ เช่น การสกัดยางเถื่อน รวมถึงผลกระทบของ อุปทานจากทั้งฝนตกและโรคใบไม้ร่วงเป็นปัจจัยหนุนราคายางให้ปรับตัวขึ้น

Valuation เทรดใกล้เคียงระดับค่าเฉลี่ย: ปัจจุบัน Bloomberg consensus ประเมินกำไรหลักปี 2024 ที่ 1 พันล้านบาทเติบโต 100% จากปี 2023 ณ ระดับราคาปัจจุบันหุ้นเทรดที่ระดับ Forward PER ที่ 18.8 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 18.9 เท่า แต่หากอิงจากกำไรสุทธิ Trailing PER อยู่ในระดับสูงที่ 115 เท่า

 

- Advertisement -