SET Index เดือน ตุลาคม 2564 แกว่งตัวในแนวโน้ม sideway ในกรอบ 1,580 – 1,645

สรุปภาพรวมการลงทุนในเดือน กันยายน 2564

SET INDEX ในเดือน กันยายน 64 แกว่งตัวออกด้านข้าง ทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1,658 จุด ใกล้เคียงกับที่เราประเมินไว้ที่ระดับ 1,660 จุด และทำสุดต่ำสุด 1,591.81 จุด โดยมีปัจจัยที่กระทบต่อตลาด ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามาอย่างต่อเนื่อง การประชุม ECB ที่ส่งสัญญาณปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (Pandemic Emergency Purchase Programme: PEPP) ในไตรมาส 4Q64 ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด รวมถึงการประชุมของเฟดที่ยังไม่ประกาศการทำ QE tapering ส่วนประเด็นที่สาคัญในปลายเดือน เช่น สถานการณ์โควิด-19 ที่ภาครัฐ เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุม และ สถานการณ์น้ำท่วม ส่วนปัจจัยต่างประเทศคือการเรียกร้องให้สภาคองเกรสในการผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวและการเพื่มเพดานหน้ีสหรัฐ

ในแง่ของ Fund flow เร่ิมเห็นแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท ในงวด MTD แม้ว่าภาพรวมทั้งปีจะยังขายสุทธิที่ 7.67 หมื่นล้านบาท ถือเป็นสัญญาณบวกและโมเมนตัมที่ดี

ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ เอเอสแอล ประเมิน SET INDEX เดือนตุลาคม จะแกว่งตัวใน กรอบ 1,580 – 1,645 จุด จากปัจจัยดังต่อไปน้ี

  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าในรอบกว่า 4 ปี ที่ระดับ 33.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศท่ียืดเยื้อ รวมถึงปัจจัยดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศนโยบายการเงินของประเทศหลัก เช่น เฟด และ ECB ส่งสัญญาณการกลับข้างนโยบายการเงินที่ชัดเจนขึ้น โดยเริ่มเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น และอัตราเงินเฟ้อปรับขึ้น ทำให้โทนการทำนโยบายจะกลับมาใช้นโยบายที่ตึงตัวมากข้ึน ด้านผลกระทบต่อตลาดทุนมองว่าจะส่งผลต่อ Fund flow ที่จะชะลอตัว สำหรับกลยุทธ์การลงทุน เราชอบกลุ่มส่งออกเกษตรและอาหาร กลุ่มชิ้นส่วนฯ
  • Bond yield ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานโดยเฉพาะหุ้นในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่มีความอ่อนไหวต่อนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลจากการที่เฟดปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น
  • การหารือของการเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันหนี้สาธารณะของสหรัฐ คิดเป็น 132% ต่อ GDP และสูงกว่าเพดานหนี้สาธารณะ หากสภาไม่สามารถผ่านการขยายเพดานหนี้ รัฐบาลกลางสหรัฐอาจขาดเงินสดอาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่สหรัฐอาจผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะมีการหารือกันหลังจากนี้ หลังได้ผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว เพื่อสนับสนุนหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐให้มีงบประมาณใช้จ่าย จนถึงวันที่ 3 ธ.ค. และหลีกเลี่ยงไม่ให้หน่วยงานเหล่านี้ต้องถูกปิดการดำเนินงาน (US Government Shutdown) ส่วนในแง่ของตลาดทุน ตลาดหุ้นสหรัฐ กำลังมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการปรับฐาน ทั้งเฟดลดการทำ QE และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้, ความขัดแย้งในสภาคองเกรสเกี่ยวกับการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐ, การที่สภาคองเกรสอาจให้การอนุมัติการปรับขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และความ เสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
  • จีนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว golden week กระทบต่อ Fund flow ท่ีหายไปในตลาดหุ้นเอเชีย ตลอดจนยังมีประเด็นการกวาดล้างการทำธุรกิจคริปโตฯ ในประเทศ โดยเรามองว่า รัฐบาลออกการควบคุมเพื่อขจัดคู่แข่งของ “หยวนดิจิทัล” เพื่อให้เป็นสกุลเงินดิจิทัลหนึ่งเดียวในประเทศ และเพื่อให้สินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ภายใต้การควบคุมของทางการจีน ส่วนประเด็นการล้มของยักษ์ใหญ่อย่าง Evergrande อาจทำให้ฟองสบู่อสังหาฯ จีนแตก และจะส่งผลต่อระบบธนาคารในเอเชียที่ต้องเจอความเสี่ยงการผิดนัดชำระหน้ีครั้งนี้ โดยล่าสุด บริษัทได้ทำการชำระเงินจำนวน 10% ของ WMPs ที่ครบกำหนดชำระในวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา
  • สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่ดูคลี่คลายลงมามาก เมื่อเทียบกับช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยเราประเมินจำนวนผู้ป่วยใหม่อยู่ในกรอบ 1.0 – 1.5 หมื่นราย/วัน และอาจเห็น downside risk หลังการคลาย lockdown ส่วนความคืบหน้าการฉีดวัคซีนของไทย จะเริ่มนำวัคซีนไฟเซอร์มาฉีดให้แก่เด็กนักเรียน 4 ต.ค. นี้ และล่าสุดรัฐมนตรีสาธารณสุขลงนามจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 60 ล้านโดส ซึ่งจะทยอยจัดส่งในไตรมาสแรก 15 ล้านโดส ไตรมาสที่ 2 จำนวน 30 ล้านโดส และไตรมาสที่ 3 อีกจำนวน 15 ล้านโดส มองเป็นบวกต่อกลุ่มเปิดเมือง
  • การรายงานงบ 3Q64 ในช่วงปลายเดือน ของกลุ่มธนาคาร, SCC-SCGP, PTTEP, ADVANC และกลุ่มโรงกลั่นเป็นต้น
  • ติดตามการประชุม ECB ช่วงปลายเดือนนี้ โดยประเมินว่ายังคงส่งสัญญาณการปรับลด PEPP

กลยุทธ์การลงทุน

เราประเมินการเคลื่อนไหวของดัชนีจะยังทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า และเคลื่อนไหวใน กรอบ 1,580 – 1,645 จุด โดยเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่ม Event play โดยเราจัด Investment Them ไว้ดังนี้

ค่าเงินบาทอ่อนค่า – ด้านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างมาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แตะระดับที่ 33.97 บาท/ดอลล่าร์สรอ. และมีโมเมนตัมในการอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยมีหุ้นที่น่าสนใจ การได้รับแรงหนุนจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ได้แก่ กลุ่มส่งออก สินค้าเกษตร และยานยนต์ TU CPF GFPT STA STGT MEGA DELTA AH SAT KCE HANA และ VNG ขณะที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ จากการบันทึก Unrealized fx loss เช่น BGRIM GULF GPSC EGCO PTTEP PTTGC และ SPRC

อัตราดอกเบี้ย – เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว (Bottom out) หากต่างประเทศทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้หลังจากนี้ไทยจะมีการปรับตัวขึ้นตาม เพื่อป้องกันเงินบาทอ่อนต่อเนื่อง และเงินทุนไหลออก ให้ทยอยซื้อสะสมกลุ่ม BANK และหุ้น Big Cap. หุ้นที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่น KBANK SCB BBL BLA SCC ADVANC PTT และ CPALL และหุ้นที่ได้รับปัจจัยลบจากต้นทุนเงินกู้ที่สูงขึ้น ได้แก่ กลุ่ม Non-Bank เช่น TIDLOR SAWAD MTC BAM และ JMT กลุ่มอสังหาฯและก่อสร้าง เช่น SPALI LH และ STEC

Re-opening – จากการที่ภาครัฐคลายล็อกดาวน์ให้คนไทยสามารถท่องเที่ยวได้ กิจกรรมท่องเที่ยวที่มากขึ้น กลุ่มที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มร้านอาหาร ค้าปลีก และโรงแรม ได้แก่ M AU TNP CRC BJC CPN ERW AWC CENTEL MINT SPA BEM BTS

น้ำท่วม – หุ้นที่รับประโยชน์จากประเด็นน้ำท่วม และการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วม TOA UMI TASCO DOHOME GLOBAL DCC SCC และ TFMAMA

สำหรับหุ้นเด่นประจำเดือน เราชอบ GLOBAL SCC TU BEM PTG

- Advertisement -