บล.บัวหลวง:
Financial – คณะกรรมการกำกับแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยเปิดเผยว่ามีโอกาสปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตลงเหลือ 15%
What’s new?
คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ เปิดเผยว่ามีโอกาสปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตลงเหลือ 15% ก่อนชงนายกรัฐมนตรีแถลงพร้อมการแก้หนี้ในระบบวันที่ 12 ธ.ค. 23
Highlights:
- ปัจจุบันสินเชื่อบัตรเครดิต (เพดานอัตราดอกเบี้ย 16%) สินเชื่อบุคคล (เพดานอัตราดอกเบี้ย 25%) และสินเชื่อจำนำทะเบียน (เพดานอัตราดอกเบี้ย 24%) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้เราประเมินว่ารัฐบาลต้องหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน จึงยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
- เราประเมินว่าปัจจุบันต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการสินเชื่อบัตรเครดิตจะสูงขึ้นในปี 2024 อยู่แล้ว จากต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและแนวโน้มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ อาจสูงขึ้นบ้าง เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นค่างวดขั้นต่ำเป็น 8% ตั้งแต่ 1 ม.ค. 24 (ปัจจุบันขั้นต่ำอยู่ที่ 5% เป็นมาตรการช่วยเหลือช่วงโควิด) และจะกลับสู่ระดับปกติที่ 10% ตั้งแต่ 1 ม.ค. 25 เป็นต้นไป จึงมองว่าอาจยังไม่ใช่จังหวะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิต
- เราได้ทำ sensitivity หากมีการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตเหลือ 15% จะส่งผลกระทบต่อคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2024 ของ KTC ราว 5% จากปัจจุบัน
- ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อจำนำทะเบียนด้วยเช่นกัน ถือเป็น sentiment เชิงลบต่อกลุ่ม Retail finance
View From Fundamental:
เรามองว่าประเด็นดังกล่าวเป็น sentiment เชิงลบต่อผู้ให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิตและกลุ่ม Retail finance และถ้าหากมีการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจริงจะส่งผลกระทบต่อให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิต ได้แก่ KTC และ AEONTS เป็นหลัก โดยเราแนะนำขาย KTC (TP Bt46) จาก Valuations ที่ค่อนข้างแพง ขณะที่กลุ่มธนาคารเราประเมินผลกระทบค่อนข้างจำกัด