บล.บัวหลวง: 

AgroandFood – ประเด็นสำคัญจากงาน BLS Agro & Food Day

Recommend : คำแนะนำพื้นฐาน : ซื้อเก็งกำไร

What’s new?

เราเชิญคุณคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยมาร่วมงาน BLS Agro & Food Day เมื่อวานนี้ และสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

Highlights:

  • เนื่องจากวอลุ่มไก่ส่งออกไทยช่วง 9M23 เพิ่มขึ้น 5% YoY (8.15 แสนตัน) สมาคมฯ จึงคาดวอลุ่มทั้งปี 2023 เติบโต 4-5% YoY (1.08-1.09 ล้านตัน) ซึ่งทะลุเป้าเดิมที่เคยคาดเติบโต 2.8% วอลุ่มส่งออกไปเกาหลีใต้และมาเลเซียโตแรงกว่าคาดใน 2H23 และวอลุ่มส่งออกไปจีนเติบโตแรงมากในปี 2023
  • สมาคมฯ คาดวอลุ่มไก่ส่งออกไทยปี 2024 เติบโต 2% YoY (แบบอนุรักษ์นิยม) หลักๆ มาจากจีน (3-4 หมื่นตันจากอีก 7 โรงงานไทยเพิ่มเติมที่จะได้รับอนุมัติกลางปี 2024 ให้ส่งออกไปจีน) มาเลเซียและเกาหลีใต้ (รวมกัน 1 หมื่นกว่าตัน)
  • สมาคมฯ คาดราคาไก่ส่งออกไปญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัวกลับมาในปีหน้า ในขณะที่ราคาไก่ส่งออกไปยุโรปปรับขึ้นได้ยากเนื่องจากค่าเงินที่อ่อนค่าและกำลังซื้อที่ยังคงอ่อนตัว (ยกเว้นว่าจะมีการระบาดของไข้หวัดนกในยุโรปในวงกว้าง)
  • อุปทานไก่ที่ลดลงในเดือนพ.ย. เกิดจากผู้เลี้ยงรายย่อยขาดทุนและหยุดเลี้ยง ส่งผลให้ราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มปรับเพิ่มขึ้นจาก 35 บาท/กก. เป็น 40 บาท/กก. (เทียบกับต้นทุนเลี้ยงเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมไก่ไทยที่ 38 บาท/กก.) โดย ภาพรวม อุตสาหกรรมไก่ในประเทศกลับมาดูดีขึ้นใน 4Q23
  • จำนวนการเลี้ยงไก่ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 38 ล้านตัว/สัปดาห์ (ซึ่งเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติและช่วงก่อนหน้าที่ 36-37 ล้านตัว/สัปดาห์ เนื่องจากโรงงานไก่เกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้นจาก 30 โรงเป็น 35 โรงในช่วงก่อนหน้า บวกกับการกลับมาเพิ่มการใช้กำลังการผลิตในช่วง 2H22 และการขยายการผลิตต่อปีไม่ต่ำกว่า 5%
  • สมาคมฯ คาดต้นทุนข้าวโพดในประเทศอ่อนตัวลงจากนโยบายของการเปิดรับซื้อข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ต้นทุนกากถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้นในช่วงสั้นคาดว่าจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลงตั้งแต่กลางปีหน้าเป็นต้นไป โดยภาพรวม ทิศทางต้นทุนวัตถุดิบมีแนวโน้มเป็นขาลงในปี 2024

View From Fundamental:

  • สมาคมฯ มองว่าราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มนับจากนี้ไปคงเคลื่อนไหวโดยขึ้นลงไปตามภาวะฤดูกาลของปี เช่น ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวและหน้าร้อน และปรับลดลงในช่วงหน้าฝนและกินเจ แต่โอกาสที่ราคาไก่มีชีวิตจะกระชากขึ้นไปแรงเหมือนในครั้งก่อนหน้าที่แตะระดับสูงที่ 47-52 บาท/กก. เนื่องจากภาวะหมูขาดแคลนจาก ASF ในช่วงก่อนหน้า (ส่งผลให้หันมาบริโภคไก่มากขึ้น) น่าจะยาก ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของเราว่าราคาไก่มีชีวิตในปี 2024 น่าจะยืนในกรอบ 40-43 บาท/กก. ได้ในช่วง 1H24 เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่น เราคาดวอลุ่มส่งออกไก่กลับไปเพิ่มขึ้นในปี 2024 จากคู่ค้าประเทศแถบเอเชียเป็นหลัก และคาด GM ธุรกิจปศุสัตว์แนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2024 จากราคาเนื้อสัตว์ที่ฟื้นตัวและต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงตั้งแต่ 1Q24 เรายังคงมุมมองบวกต่อกลุ่มปศุสัตว์ไทยในช่วง 1H24 จากผลประกอบการที่จะกลับมาฟื้นตัว และยังแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” CPF GFPT TFG และ BTG
- Advertisement -