ARISE Plus Thailand เปิดตัวโครงการ “Organic For All – เกษตรอินทรีย์ดีต่อใจ” มุ่งเน้นสร้างความตระหนักรู้-พัฒนาเกษตรอินทรีย์ในไทยให้แกร่งสู่ตลาดโลก
วันที่ 14 ธันวาคม ปี 2023 – ARISE plus Thailand เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป ได้นำเสนอโครงการ “Organic For All – เกษตรอินทรีย์ดีต่อใจ” ซึ่งดำเนินกิจกรรมร่วมระหว่างสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (National Bureau of Agriculture Commodity and Food standards – ACFS) และศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (International Trade Centre – ITC) โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการบริโภคอาหารอินทรีย์ และการพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์ในไทยอีกด้วย
โลฆอง ลูร์เดร์ ที่ปรึกษาด้านเกษตรจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ระบุว่า “Organic For All – เกษตรอินทรีย์ดีต่อใจ” เป็นกิจกรรมรณรงค์ที่มุ่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และเสริมศักยภาพให้กับเหล่าผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ โดยทางสหภาพยุโรปนั้นมีความประสงค์ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวในฐานะผู้ช่วยขับเคลื่อนทางการค้าและเศรษฐกิจ และเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบบอาหารแบบยั่งยืนในประเทศไทย
ในด้านของ ซิลวี เบตอม โฆชัง จาก ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (ITC) ระบุถึงความสำคัญของการส่งเสริมตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ว่า “การทำเกษตรอินทรีย์นั้นนอกจากจะส่งผลดีกับความยั่งยืนทางอาหาร และดีต่อคุณภาพของดินของประเทศในระยะยาวแล้วนั้น เกษตรกรไทยที่ทำเกษตรอินทรีย์ยังมีโอกาสได้เข้าสู่ตลาดเกษตรอินทรีย์สากลที่บริโภคให้คุณค่ากับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และมีกระบวนการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นค่านิยมที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในระดับโลก”
โดยกิจกรรม “Organic For All – เกษตรอินทรีย์ดีต่อใจ” ได้จัดขึ้น ณ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพมหานครฯ โดยมีพื้นที่การจัดกิจกรรม เช่น ครัวออร์แกนิก และตลาดออร์แกนิก ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่เกษตรอินทรีย์ได้มาพบปะพูดคุย เพื่อสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้ โดยมุ่งหวังให้การทำให้เกษตรอินทรีย์เป็นหมุดหมายสำคัญของการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ผ่านการสร้างความตระหนักรู้และการส่งเสริมกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งให้สาธารณชนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นให้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นหลังในประเทศไทยต่อไป
กิจกรรมนี้ มีผู้อยู่ในแวดวงเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมงานกว่า 100 ท่าน ทั้งจากฝั่งรัฐและเอกชน ไปจนถึงฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์สายสุขภาพและสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็น พิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ACFS), พงศ์ภพ เมธากุลวัฒน์ จาก ARISE PLUS ประเทศไทย, ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นคร ลิมปคุปตถาวร ผู้ก่อตั้ง บ้านเจ้าชายผัก, กนิษฐา ตรีรัตนภรณ์ จาก คิงดอม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค และผู้เข้าร่วมจำนวนมาก สะท้อนว่ากิจกรรมนี้ไม่ได้เพียงแค่สร้างความตระหนักรู้ แต่ยังนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ด้านการยกระดับความคิด
“หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนหันมาเลือกบริโภคเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่วงที่โลกประสบกับโรคระบาดในปีที่ผ่านๆ ทำให้คนมีเวลาตระหนักถึงความเชื่อมโยงของสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ และผู้บริโภคยังเชื่อว่า การบริโภคผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสุขภาพของพวกเขาเท่านั้น แต่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยเมื่อเทียบกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้สารเคมี” – ผู้ผลิตสินค้าออร์แกนิกภายในงาน กล่าวกับสื่อ
นอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างมีนัยยะสำคัญทั้งในด้านของการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมงาน และการเข้ามามีบทบาทของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมแถลงข่าวนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมผ่านสื่อดิจิทัลและสื่อแบบกายภาพ โดยเน้นไปยังประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพ ตลอดถึงประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจจากการบริโภคและการผลิตอาหารออร์แกนิก โดยจุดสำคัญของกิจกรรมนี้คือการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมงานกับตัวกิจกรรมผ่านพื้นที่ ‘ครัวออร์แกนิก’ และ ‘ตลาดออร์แกนิก’
โดยกิจกรรมแรกในพื้นที่ครัวออร์เกนิก เป็นการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกผ่านรูปแบบของการจำลองห้องครัวและบอกเล่าสาระประโยชน์ผ่านตัววัตถุจัดแสดงที่ผู้เข้าร่วมสามารถหยิบจับและสำรวจตัวสินค้าเพื่อสำรวจว่าผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกนั้นส่งผลดีกับสุขภาพของอย่างไร และในส่วนที่สอง พื้นที่ ‘ตลาดออร์แกนิก’ เป็นพื้นที่ที่ผู้เข้าร่วมสามารถจำลองประสบการณ์จับจ่ายสินค้าออร์แกนิก เสมือนกับการจ่ายตลาดหรือเที่ยวซูเปอร์มาร์เก็ต โดยได้รับสาระความรู้ไปพร้อมๆ กัน และที่พิเศษไปกว่านั้นคือ การแจกกระเป๋าผ้าลายพิเศษที่สามารถสแกน QR โค้ดเพื่อเข้าถึงแหล่งผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของท้องถิ่นต่าง ๆ ทันที
——
เกี่ยวกับ ARISE Plus ประเทศไทย:
โครงการ ASEAN Regional Integration Support from the EU Plus – Thailand Trade-Related Technical Assistance (ARISE Plus Thailand) เป็นโครงการสนับสนุนการเติบโตทางการค้าที่ยั่งยืนในประเทศผ่านการส่งเสริมสภาพธุรกิจที่โปร่งใส การกำกับกิจการที่ดี และมีความแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายของรัฐและการให้บริการ รวมทั้งการเสริมสร้างการกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยและการเผยแพร่ความรู้ในอาเซียน (ASEAN) โดยโครงการนี้มีระยะเวลาทั้งหมด 3 ปี และได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) ด้วยงบประมานสนับสนุนทั้งหมด 3 ล้านยูโร โครงการนี้ได้รับการดำเนินการร่วมกับรัฐบาลไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ (MOC) ผ่านกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (DTN) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ARISE Plus ประเทศไทย กรุณาเยี่ยมชม https://intracen.org/our-work/projects/thailand-trade-related-assistance-arise-thailand
เกี่ยวกับสหภาพยุโรป (EU):
สหภาพยุโรปเป็นสหพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่าง 27 ประเทศของ EU มีประชากรรวม 447 ล้านคน มีบทบาทที่สำคัญในการเมืองระหว่างประเทศผ่านการทูต, การค้า, การสนับสนุนการพัฒนา, และการทำงานร่วมกับองค์กรระดับโลก ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มเศรษฐกิจและการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย EU เป็นพันธมิตรการค้าที่สำคัญสำหรับหลายประเทศ และมุ่งมั่นในการให้ทุกประเทศพันธมิตรสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสการค้านี้ได้อย่างเต็มที่ สหภาพยุโรปมีบทบาทในการรวมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้ากับนโยบายทางการค้า และยังมุ่งหวังที่จะทำให้การค้าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก
สามารถติดตามข้อมูลของสหภาพยุโรปในไทยได้ที่ on: Website | Twitter | Facebook
เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในสหภาพยุโรป:
ตลาดอาหารอินทรีย์กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการเกษตรอินทรีย์นั้นต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม เพราะเกษตรอินทรีย์มีผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ทางการสร้างงานและดึงดูดเกษตรกรรุ่นใหม่ และทางการส่งเสริมให้ผู้บริโภครู้จักคุณประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ โดย ระบบอาหารที่ยั่งยืนนั้นเป็นหัวใจสำคัญของ European Green Deal โดยแผนการดำเนินการปี 2021-2027 ในด้านเกษตรอินทรีย์ จะมุ่งไปที่การช่วยกระตุ้นการผลิตและเพิ่มความต้องการบริโภคสินค้าอินทรีย์ในกลุ่มประเทศผ่านแคมเปญโปรโมทและการจัดซื้อจัดจ้างที่มุ่งเน้นความยั่งยืนโดยหวังว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางพื้นที่เกษตรกรรมของ EU อย่างน้อย 25% ภายในปี 2030 และมุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยกระบวนการแบบอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ
ตัวเลขสำคัญ: ใน EU นั้น พื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นเกือบ 66% ใน 10 ปีที่ผ่านมา – จาก 8.3 ล้านเฮกตาร์เมตรในปี 2009 ไปยัง 13.8 ล้านเฮกตาร์เมตรในปี 2019 ในปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 8.5% ของพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้ใน EU ทั้งหมด โดยการเพิ่มขึ้นนี้เกิดจาก การจับคู่ทางธุรกิจ และ การเพิ่มตลาดขายปลีก ซึ่งเพิ่มขึ้นสองเท่าใน 10 ปีที่ผ่านมา จากประมาณ 18 พันล้านยูโรในปี 2010 ไปยังมากกว่า 41 พันล้านยูโรในปี 2019
เกี่ยวกับ ITC:
ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่างองค์การการค้าโลกและสหประชาชาติ โดย ITC มีโครงการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศที่กำลังพัฒนาให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ผ่านการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนภายใต้กรอบความร่วมมือ Aid-for-Trade ให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.intracen.org