บล.กรุงศรีฯ:

ADVICE IT INFINITE (ADVICE TB/ ADVICE.BK)

ADVICE คิดถึงสินค้า IT คิดถึง ADVICE

ADVICE เป็นบริษัทขายสินค้าไอทีชั้นนำของประเทศไทย มี ประสบการณ์มายาวนานกว่า 25 ปี เรามองว่าด้วยแผนการขยายธุรกิจ ในอนาคต จะช่วยให้บริษัทมีกำไรปี 2024 เติบโตก้าวกระโดด เป็น 237 ล้านบาท (+33% yoy) และประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 6.5 บาท อ้างอิงระดับ P/E ที่ 17 เท่า บน EPS ที่ 0.38 บาท

ADVICE เป็นบริษัท 1 ใน 4 ที่จำหน่ายสินค้าไอทีรายใหญ่ของประเทศไทย 

ADVICE ให้บริการจำหน่ายปลีก-ส่งสินค้าไอที เช่น คอมพิวเตอร์ DIY คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป และอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย รวมถึงมี การให้บริการหลังการขายที่เกี่ยวเนื่องแบบครบวงจร

บริษัทมีแผนธุรกิจในอนาคตที่โดดเด่น 

1) เพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจองค์กร เนื่องจากรายได้ในส่วนนี้ มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง กว่าช่องทางจำหน่ายในรูปแบบอื่น 2) ขยายสาขาเพิ่มเป็น 390 สาขาภายในปี 2026 จาก 338 สาขา ในปี 2023 โดยเน้นเปิดสาขาในกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง 3) เพิ่มการจำหน่ายสินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือ โดยมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ Apple โดยบริษัทมีแผนขอเป็น Apple Authorized Resellers ในอนาคตอีกด้วย

คาดยอดขายและกำไรปี 2024 เติบโตแข็งแกร่ง 

ด้วยแผนธุรกิจดังกล่าว รวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของสินค้าไอทีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นปี หน้าภายหลังที่ซบเซามาสองปี เราประเมินรายได้ปี 2024 ที่ 14,730 ล้านบาท (+ 6%) และมีกําไร 237 ล้านบาท (+33%) โดยมีสาเหตุเพิ่มเติมมาจาก 1) อัตรากำไร ขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นภายหลังรายได้จากกลุ่มธุรกิจองค์กรสูงขึ้น 2) การบริหารจัดการ ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ 3) การชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินหลัง IPO

ประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 6.5 บาท

เราประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ ADVICE ที่ 6.5 บาท บน EPS ปี 2024 ที่ 0.38 บาท โดยอ้างอิง P/E เหมาะสมที่ 17 เท่า เทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ระดับ P/E ที่ 15.6 เท่า เนื่องจากการเติบโตของกำไรของบริษัทในปี 2024 นั้นอยู่ในระดับที่โดดเด่น

Investment theme

มีพื้นฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง

ADIVCE เป็นบริษัท 1 ใน 4 ของผู้จำหน่ายสินค้าไอทีรายใหญ่ของประเทศไทย มีทีมผู้บริหารที่มีความชำนาญในธุรกิจสูง และมีประสบการณ์ในการจำหน่ายสินค้า IT กว่า 25 ปี มีความสามารถในการปรับตัวทางธุรกิจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค อีกทั้งมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคู่ค้า ทั้ง Suppliers และ Customers

มีโอกาสเติบโตที่ชัดเจน

1) บริษัทมีแผนขยายสาขาเป็น 390 สาขาในปี 2026 จากปี 2023 ที่มีสาขาทั้งหมด 338 สาขา ครอบคลุมทั่วประเทศไทย แบ่งเป็นสาขาของบริษัท 110 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ 228 สาขา 2) บริษัทตั้งเป้าขยายธุรกิจลูกค้าองค์กร เพื่อเพิ่มอัตราผลกำไรในภาพรวม คาดจะมีรายได้ 2,000 ล้านบาทในปี 2026 3) บริษัทยังมีแผนเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Apple ผ่านร้าน iStudio by Advice โดยบริษัทคาดว่าจะเซ็นสัญญาได้รับการแต่งตั้ง Authorized Reseller อย่างเป็น ทางการในไตรมาส 1Q24

บริษัทมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง  

เราคาดว่าปี 2024 มียอดขาย 14,730 ล้านบาท โต 6% yoy และมีกำไร 237 ล้านบาท โต 33% yoy จาก 1) อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากรายได้กลุ่มธุรกิจองค์กรสูงขึ้น 2) การบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่ำลง 3) การชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินหลัง IPO ส่งผลให้ D/E Ratio ต่ำกว่า 1.4

โครงสร้างผู้ถือหุ้น 

ก่อน IPO มีผู้ถือหุ้น ADVICE หลักๆ ได้แก่ นาย ณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ ถือ 36.95% บจก. ไทย จอเวนเจอร์ รุ๊ปส์ ถือ 35.56% นาย อมร ทาทอง ถือ 27.65% และผู้ถือหุ้นอื่นๆ รวม 6 ราย ถือ 11.7% ซึ่ง บจก. ไทย จอเวนเจอร์ รุ๊ปส์มี นาย ณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ ถือ 33.20% นายอมร ทาทอง ถือ 33.20% นายปรีชา สินอาภา ถือ 31.67% และผู้ถือหุ้นอื่นๆ รวม 1.93%

บริษัทเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 170 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็น 27.42% ของจำนวนหุ้น สามัญ ภายหลัง IPO แล้วเสร็จ บริษัทจะมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 620 ล้านหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 450 ล้านหุ้น และมีทุนจดทะเบียนหลัง IPO เพิ่มขึ้นจาก 225 ล้านบาท เป็น 310 ล้านบาท หุ้นจำนวน 55% ของทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญ (620 ล้านหุ้น) จะถูกห้ามขายภายใน 1 ปี ซึ่งจะขายได้ไม่เกิน 25% เมื่อครบ 6 เดือน และขายส่วนที่เหลือได้เมื่อครบ 1 ปี

ณ วันแรกที่ ADVICE เข้าตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท 3 ราย ได้แก่ (1) นายณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ (2) นายอมร ทาทอง และ (3) นายปรีชา สินอาภา ต้องการขายหุ้สามัญคนละ 10 ล้านหุ้นขายให้แก่นักลงทุน 2 ราย ในราคาไม่ต่ำกว่าราคาเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน และจะซื้อขายในกระดานซื้อขาย หลักทรัพย์รายใหญ่ (Big Lot Board) จํานวน 30,000,000 หุ้น คิดเป็น 4.84% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด และนักลงทุน 2 ราย ยินยอมที่จะไม่ขายหุ้นดังกล่าว ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกที่หุ้นสามัญเข้าทำการซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์

วัตถุประสงค์การเพิ่มทุน 

บริษัท ADVICE เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก (IPO) จำนวน 170 ล้านหุ้น (พาร์ 0.5 บาท, ทุนจดทะเบียน 310 ล้านบาท หรือ 27.42% ของจำนวนหุ้นหลังเพิ่ม ทุน) โดยมีแผนนำเงินที่ได้ลงทุนขยายธุรกิจ จ่ายคืนเงินกู้ เป็นเงินทุนหมุนเวียน และปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ลักษณะของธุรกิจ 

บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิ จํากัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจจำหน่ายปลีก-ส่ง สินค้าไอทีภายใต้ชื่อร้าน “Advice” เป็นร้านค้าในรูปแบบไอทีซุปเปอร์สโตร์ จำหน่ายสินค้าไอทีที่มีความหลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ประกอบ (D.I.Y) คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook) คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป (Desktop) และ อุปกรณ์เสริมต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจำหน่ายสินค้ากลุ่มดิจิทัลไลฟ์สไตล์ Internet of Things (IoT) ไปจนถึงสมาร์ทโฟนและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน นอกจากนี้ยังให้บริการรับเคลมสินค้าที่มีปัญหากับผู้ผลิต รวมถึงให้บริการซ่อม บํารุและตรวจเช็คอุปกรณ์ไอทีแบบครบวงจร

9M23 บริษัทฯ มีรายได้หลักจากการจำหน่ายสินค้ากลุ่มคอมพิวเตอร์ประกอบ (D.I.Y) คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ (Notebook) เครื่องพิมพ์ (Printers) และ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป (Desktop) มีสัดส่วนของรายได้คิดเป็น 33% 26% 11% และ 11% ตามลำดับ

ที่มาของสินค้า 

ADVICE ซื้อสินค้าไอทีจากผู้จำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ผ่าน 3 ช่องทาง

1. เจ้าของแบรนด์โดยตรง มีประมาณ 1% ของยอดสั่งซื้อสินค้าทั้งหมด

2. ผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Distributors Tier1) เป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นทางการให้กับผู้ผลิตสินค้าหรือเจ้าของแบรนด์ มี 92% ของยอดสั่งซื้อสินค้าทั้งหมด ได้แก่ SYNEX, SIS และ VST

3. Sub-Distributors เป็นผู้ที่ซื้อสินค้าต่อจากผู้จัดจำหน่ายสินค้า Tier 1 อีก ทอดหนึ่ง มี 7% ของยอดสั่งซื้อสินค้าทั้งหมด

การกำหนดราคาขายสินค้าของบริษัท  

ราคาสินค้าถูกกำหนดจาก 2 ประเภท ได้แก่

1. กำหนดจาก ADVICE บริษัทฯ จะกำหนดราคาสินค้าด้วยต้นทุนบวกส่วนต่างกำไร ควบคู่กับการพิจารณาราคาตลาด

2. กำหนดโดยคู่ค้าของบริษัทฯ (Controlled Price) ราคาขายสินค้าไอทีของ บริษัทฯ

ช่องทางจัดจำหน่าย 

ADVICE มีช่องทางจัดจำหน่าย 5 ช่องทาง ดังนี้

1. ธุรกิจค้าปลีกสินค้าผ่านสาขา บริษัทจำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายย่อย อาทิ นักเรียน หรือ ประชาชนทั่วไปที่ ต้องการสัมผัสกับตัวสินค้า โดยจะมีพื้นที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาชมและทดลอง สินค้าผ่านสาขาของบริษัทภายใต้ชื่อร้าน “Advice” ณ วันที่ 30 กันยายน 2023 มีจำนวน 110 สาขา ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล 16 สาขา และต่างจังหวัดอีก 94 สาขา ส่วนใหญ่เป็นสาขาในรูปแบบ Stand Alone จำนวน 75 สาขา และอีก 35 สาขาตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าและ ศูนย์การค้าชั้นนำ

2. ธุรกิจค้าปลีกสินค้าออนไลน์ บริษัทจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ 3 ช่องทางหลัก

    1. อี-เทลเลอร์ออนไลน์ เป็นการจำหน่ายสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์
      www.advice.co.thbn& www.headdaddy.com
    2. แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ต่างๆ เช่น Shopee และ Lazada ภายใต้ชื่อร้าน Advice Online Oficial Shop เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มคน ร่นใหม่ที่มักนิยมเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าวเป็นหลัก
    3. โซเชียลคอมเมิร์ซ เช่น ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ก (Facebook) ติ๊กต่อก
      (Tiktok) และยูทูป (Youtube)

3. ธุรกิจค้าส่งสินค้าให้แก่ตัวแทนจำหน่ายและสาขาแฟรนไชส์บริษัทจำหน่ายสินค้าให้แก่ตัวแทนจำหน่าย (Dealers) หรือร้านค้าปลีกสินค้าไอทีที่มีจำนวน 9,000 กว่าราย ซึ่งจะรับสินค้าไปจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้าที่เป็น ผู้ใช้สินค้า หรือ End Users นอกจากนี ADVICE ยังจำหน่ายสินค้าให้แก่สาขาแฟรนไชส์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2023 มีสาขาแฟรนไชส์จำนวน 228 แห่งกระจายทั่วประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ADVICE มีสาขาแฟรนไชส์ 2 รูปแบบ คือ Advice Shop และ Advice Mini โดย Advice Shop จะมีขนาดูกิจการที่ใหญ่กว่าและใช้เงินลงทุนสูงกว่า Advice Mini ADVICE จะดูแลตังแต่หาผู้รับเหมาก่อสร้าง การตกแต่งภายในตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการเปิดร้านนอกจากนี ผู้ใช้แฟรนไชส์จะได้รับโปรแกรมระบบจัดการธุรกิจ (Advice Software) เก็บฐานข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย และข้อมูลสินค้าคงคลังนอกจากนี้ยังช่วยทำงบการเงินแบบง่ายเพื่อให้เจ้าของกิจการทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในทุกๆ เดือน

4. ธุรกิจลูกค้าองค์กร

บริษัทอกชนต่างๆ ที่มความต้องการสินคำไรอที บริษัท ได้จิดตั้งทีมงานเพื่อดูแลการขายให้กับลูกค้าองค์กรเป็นการเฉพาะ โดยทีมขายสำหรับลูกค้าองค์กรจะทำหน้าที่ติดต่อซื้อขาย ประสานงาน และเป็นศูนย์กลางการรับเรื่องต่างๆ

5. ธุรกิจบริการ ประกอบด้วย

(1) บริการขนส่งสินค้า ADVICE คิดค่าจัดส่งรวมในราคาสินค้าแล้ว ทั้งนี้การขนส่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลใช้เวลาภายใน 1 วัน และขน ส่งไปยังต่างจังหวัดใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน

(2) บริการรับเคลมสินค้าที่อยู่ในการรับประกันกับผู้ผลิต แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก

(2.1) การรับเคลมสินค้าภายใน 7 วันนับจากวันที่ซื้อ หากพบว่าสินค้าเสียจากการใช้งานหรือชำรุด บริษัทจะเปลี่ยนสินค้ารุ่นเดียวกันให้แก่ลูกค้าในทันที

(2.2) การรับเคลมสินค้าภายใต้การรับประกันตามปกติ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข การรับประกันของผู้ผลิตสินค้าเท่านั้น

(3) บริการรับซ่อมสินค้าท่ีอยู่ในและนอกการรับประกัน ADVICE ได้รับการแต่งต้ังจากผู้ผลิตสินค้าไอทีแบรนด์ชั้นนำต่างๆ จํานวน 7 แบรนด์ ได้แก่ Acer, HP, Brother, Gigabyte, Asus, Huawei และ MSI ให้เป็นศูนย์บริการและรับซ่อมสินค้าอย่างเป็นทางการ โดย ADVICE จะเก็บค่าบริการในการซ่อมสินค้าจากลูกค้าหรือผู้ผลิต (แล้วแต่กรณี)

(4) บริการเสริมอื่นๆ

สัดส่วนรายได้ตามช่องทางจัดจำหน่าย 

ในปี 2022 รายได้จากการขายผ่านธุรกิจค้าปลีกมีสัดส่วนสูงถึง 38% รองลงมา ธุรกิจค้าส่งให้แก่ตัวแทนจำหน่ายและสาขาแฟรนไชส์ 36% และผ่านช่องทางออนไลน์ 21% ในขณะที่รายได้จากการขายผ่านธุรกิจลูกค้าองค์กรอยู่ที่ 4% ของรายได้รวม จะสังเกตได้ว่า ตั้งแต่ปี 2019 – 2022 บริษัทมีรายได้จากการขายมีที่สัดส่วนจากธุรกิจค้าปลีกผ่านสาขาและออนไลน์ รวมถึงผ่านลูกค้าองค์กรสูงขึ้น ในขณะที่ธุรกิจค้าส่งสินค้าให้แก่ตัวแทนและสาขาแฟรนไชส์มีสัดส่วนรายได้ที่ลดลง

สัดส่วนรายได้จากช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 รัฐบาลประกาศให้ล๊อดาวน์ ห้างสรรพสินค้า และออฟฟิต รวมถึงโรงเรียนต้องปิดทำการ ผู้บริโภคเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เช่น การทำงานแบบ Work From Home และ การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทำให้ช่องทางนี้เติบโตต่อเนื่อง

สัดส่วนรายได้จากธุรกิจองค์กรเติบโตก้าวกระโดด

รายได้ลูกค้าองค์กรเติบโตจาก 259.5 ล้านบาทในปี 2019 เป็น 307.1 ล้านบาท 471.2 ล้านบาท และ 585.3 ล้านบาท ในปี 2020 – 2022 ตามลำดับ คิดเป็น อัตราการเติบโตเฉลี่ย 31.1% ต่อปี และเป็นช่องทางการจำหน่ายที่มีการเติบโตสูงสุด

แผนธุรกิจในอนาคต 

1. โฟกัสขยายฐานลูกค้าองค์กร

บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าองค์กรสูงกว่าลูกค้า กลุ่มอื่นๆ และมีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าองค์กรเพิ่มขึ้นเป็น 5.4% ใน 9M23 จาก 2% ในปี 2019 ทั้งนี้บริษัทมีแผนขยายยอดขายลูกค้าองค์กรจากปี 2022 ที่ 585 ล้านบาท เป็น 2 พ้นล้านบาท ในปี 2026 และคิดเป็น 10% ของรายได้รวม

กำไรขั้นต้นของลูกค้าองค์กรสูงกว่ากลุ่มลูกค้ารายย่อยประมาณ 2% และสูง กว่ากลุ่มลูกค้าขายส่งประมาณ 6% ดังนั้นการเพิ่มยอดขายลูกค้าองค์กรจะ ช่วยเพิ่มยอดขายในภาพรวมให้กับบริษัทด้วย

2. เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดผ่านการขยายสาขาและร้านค้าแฟรนไชส์

ADVICE วางแผนขยายสาขาของบริษัทเพิ่มอีก 20 สาขาภายในปี 2026 โดยเน้นการขยายสาขาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า ซึงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ New Generation ที่มีความชื่นชอบในสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้บริษัทฯ สามารถเพิ่มยอดขายสินค้าประเภทไฮเอ็นด์ที่มีอัตรากําไรสูงได้เพิ่มขึ้น ส่วนสาขาในต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเน้นการเพิ่มพื้นที่ขายสินค้า โดยรีโนเวทสาขาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีพื้นที่กว้างขึ้น และทำเป็นไอทีคอมมูนิตี้ (IT Community) ขนาดย่อม เพื่อให้ลูกค้าได้มีพื้นที่เข้าชมและทดลองสินค้า ส่วนสาขาแฟรนไชส์ บริษัทวางแผนขยายอีกประมาณ 30 สาขาภายในปี 2026

3. เพิ่มรายได้จากการเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Apple อย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันบริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Apple ใน 64 สาขา โดยจะขยายสู่ 70 สาขา ภายในไตรมาส 1/2024 นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนเซ็นสัญญาแต่งตัง Authorized Reseller อย่างเป็นทางการกับ Apple ในไตรมาส 1/2024 อีก ด้วย

4. เพิ่มรายได้เสริมผ่านการเพิ่มศูนย์บริการและรับซ่อมสินค้าอย่างเป็นทางการ

9M23 บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ชั้นนำต่างๆ รวมทั้งสิ้น 7 แบรนด์ ได้แก่ Acer, HP, Brother, Gigabyte, Asus, Huawei และ MSI ให้ เป็นศูนย์บริการและรับซ่อมสินค้าอย่างเป็นทางการ (Authorized Service Centers) ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถให้บริการซ่อมสินค้าทั้งในประกันและนอก ประกันของแบรนด์ดังกล่าวได้ และในปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจาลง นามในสัญญาแต่งตั้งศูนย์บริการให้กับแบรนด์สินค้าชั้นนำอีก 2 แบรนด์ ทำให้ภายในปี 2567 บริษัทฯ จะมีศูนย์บริการและรับซ่อมสินค้าเพิ่มเป็น 9 แบรนด์

ภาพรวมอุตสาหกรรมสินค้าไอที 

คาดการณ์ตลาดคอมพิวเตอร์ฟื้นตัวได้เล็กน้อยในปีหน้า

ตลาดคอมพิวเตอร์ ถือว่าซบเซามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลก ได้ทำการซื้อคอมพิวเตอร์กันเป็นจำนวนมากในช่วงปี 2020-2021 จากวิกฤตโควิด -19 และภายหลังจากที่ตลาดบิคอยน์ มีการอ่อนตัว รุนแรง โดยข้อมูลจาก Gartner ในปี 2021 แสดงว่า ปริมาณการส่งมอบ คอมพิวเตอร์ทั่วโลกนั้นมีปริมาณสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ที่ราว 341 ล้านเครื่อง ก่อนที่จะลดลงมาเหลือ 285 ล้านเครื่องในปี 2022

ซึ่งในปัจจุบัน ปริมาณส่งมอบคอมพิวเตอร์ในช่วง 9M23 อยู่ที่ 179 ล้านเครื่อง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนราว 18% อย่างไรก็ตาม เราเริ่มเห็นการฟื้นตัว ของปริมาณการส่งมอบที่เริ่มกลับตัวในเชิง QoQ ได้ถึงสองไตรมาสติดกันตั้งแต่ 2Q23 เป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น เนื่องจากปริมาณการส่งมอบได้ ลดลงต่อเนื่องทุกไตรมาสนับตั้งแต่ช่วง 1Q22

โดยในปี 2023 นี้ International Data Corporation (IDC) คาดว่าปริมาณส่ง มอบคอมพิวเตอร์จะลดลงราว 12% อยู่ที่ 252 ล้านเครื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าใน 4Q23 นี้ ตลาดโดยภาพรวมจะสามารถฟื้นตัวต่อเนื่องได้เล็กน้อย และในปี 2024 IDC คาดว่าปริมาณส่งมอบคอมพิวเตอร์จะเติบโตได้ราว 3.7% เป็น 255 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่ายังเป็นระดับการฟื้นตัวที่อยู่ในระดับต่ำ

เนื่องจากด้วยเศรษฐกิจที่ยังคงมีความเปราะบาง ทำให้เรามองว่า ปัจจัยดังกล่าว อาจทำให้ผู้บริโภค มีแผนการเปลี่ยนหรืออัพเกรดคอมพิวเตอร์ของตัวเองช้าลง จากเดิมที่มักจะมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนหรืออัพเกรดที่ราว 3-4 ปี อาจจะล่าช้า ออกไปเป็น 4-5 ปี ซึ่งหากเราเริ่มนับปี 2021 ที่เป็นปีที่มีปริมาณส่งมอบ คอมพิวเตอร์ในปริมาณมาก ปีที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนหรืออัพเกรดในปี 2025 เป็นต้นไป

อุตสาหกรรมสินค้าไอทีในไทย 

GDP ได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว

ศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดการณ์การขยายตัวของ GDP ปีนี้ที่ 2.8% และปีหน้า ขยายตัวที่ 3.4% ขยายตัวทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี สอดคล้องกับดัชนีความ เชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มฟื้นตัวขณะที่ภาครัฐเตรียมออกมาตรการช่วยลดค่าครองชีพ กระตุ้นการใช้จ่าย อาทิ โครงการ Easy E-Receipt และ โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำให้ประชาชนมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการซื้อสินค้าไอทีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน.. อยู่ที่ระดับ 60.9 จุด ยังยู่ต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ด้วยสาเหตุดังกล่าวเราเชื่อว่าจะ ฟื้นกลับมาอยู่ช่วงใกล้เคียงกับก่อนโควิดที่ระดับ 70-80 จุด

ภาพรวมของบริษัท

ปี 2022 บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ 14,388 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงจากปี 2021 จากความต้องการสินค้าไอทีลดลง หลังผู้บริโภค ได้ซื้อสินค้าไอทีจำนวนมากในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพื่อรองรับพฤติกรรมการ ใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์ การทำงาน Work From Home นอกจากนี้มีความนิยมการลงทุนในสินทรัพย์ ดิจิทัลกลุ่มริโตคอร์รนซี ขณะที่รายได้ 9M23 ที่ 10,336 ล้านบาท ชะลอตัว ลง 8% yoy ตามทิศทางภาพรวมตลาดสินค้าไอทีทั่วโลกโลกที่ปรับตัวลง

คาดการณ์ผลประกอบการในอนาคต 

คาดรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

เราเชื่อว่าบริษัทมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยที่เราได้กล่าวไว้แล้ว ข้างต้น เช่น 1) การขยายสาขา 2) การเพิ่มสัดส่วนรายได้ในธุรกิจองค์กร 3) เพิ่มรายได้จากการเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้า Apple และ 4) เพิ่มรายได้จากการเพิ่ม ศูนย์บริการและรับซ่อมสินค้าอย่างเป็นทางการ จากปัจจัยบวกข้างต้น บริษัทจะมีรายได้ในปี 2024 เติบโตทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 14,730 ล้านบาท (+6% yoy) เรามองว่าช่องทางจำหน่ายผ่านองค์กรจะมีการ เติบโตแบบก้าวกระโดด จาก 702 ล้านบาทในปี 2023 เป็น 913 ล้านบาทในปี 2024 (+30% yoy) ในขณะที่ธุรกิจบริการ และค้าปลีกจะเติบโต 9% yoy และ 7% yoy ตามลำดับ

คาดกำไรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ที่ผ่านมาบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่าระดับ 8% ถึงแม้ในช่วง 9M23 รายได้ สินค้าและบริการจะชะลอตัวลง แต่อัตรากำไรขั้นต้นยังอยู่ที่ 8.5% แสดงถึง ความสามารถในการบริหารและจัดการต้นทุนได้ดี นอกจากนี้ภายหลัง IPO บริษัท จะนำเงินไปชำระหนี้แก่สถาบันการเงิน ส่งผลให้ D/E Ratio หลัง IPO อยู่ต่ำกว่า 1.4 เท่า เราคาดว่าในระยะยาว บริษัทจะสามารถรักษาการเติบโตของกำไรได้ อย่างต่อเนื่อง โดยเราประเมินการเติบโตของกำไรในอีก 3 ปีข้างหน้าไว้ที่ระดับ 9% ทำให้เราเชื่อว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิ 237 ล้านบาทในปี 2024 คิดเป็นมูลค่า เติบโตที่สูงถึง 33% yoy

การแข่งขัน

อุตสาหกรรมค้าปลีกสินค้าไอที มีคู่แข่ง 2 ประเภท

(1) คู่แข่งทางตรง เป็นผู้ประกอบการค้าปลีกสินค้าไอทีรายใหญ่ของประเทศ จํานวน 3 ราย ได้แก่

  • บริษัท คอมเซเว่น จํากัด (มหาชน) (COM7 TB, UNRATED) จำหน่ายสินค้าไอทีภายใต้ชื่อร้าน “BaNANA IT”
  • บริษัท ไอที ซิตี้ จำกัด (มหาชน) (IT TB, UNRATED) จำหน่ายสินค้าไอทีภายใต้ชื่อร้าน “IT City”
  • บริษัท เจ.ไอ.บี. คอมพิวเตอร์ รุ๊ จำกัด ซึ่งจำหน่ายสินค้าไอทีภายใต้ชื่อร้าน “JIB”

(2) คู่แข่งทางอ้อม ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าที่มีแผนกสินค้าไอที เช่น โซน “Power Buy” ในห้างเซ็นทรัล และโซน “Power Mall” ในห้างเดอะมอลล์ รวมถึง โมเดิร์นเทรด เช่น Lotus และ Big C และร้านค้าปลีกสินค้าไอทีตามจังหวัด ต่างๆ เป็นต้น

เปรียบเทียบรายได้และกำไรของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ถึงแม้ว่า ADVICE จะมีมูลค่าของยอดขายและกำไรเป็นอันดับสองรองจาก COM7 อย่างไรก็ตาม ADVICE มีมูลค่าของยอดขายและกำไรสูงกว่า IT City และ JIB โดยในปี 2022 COM7 ADVICE JIB และ IT มียอดขาย 62,733 14,388 8,656 และ 8,708 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่มีกำไรสุทธิ 3,038, 206, 78 และ 19 ล้าน บาทตาม ลำดับ

อัตราค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่ำกว่าคู่แข่ง

บริษัทมีอัตราค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้เฉลี่ยที่ 6.4% ซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้รวมเฉลี่ยของ COM7 IT และ JIB ที่ 15.2%, 8.1% และ 12.4% ตามลำดับ สะท้อนถึงความสามารถในการบริหาร ค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เหนือกว่าคู่แข่ง บริษัทสามารถจัดหาร้าน Stand alone ที่มีค่าเช่าที่ถูกกว่าคู่แข่ง เนื่องจากสาขาส่วนใหญ่ของ ADVICE มีสัดส่วนอยู่ ต่างจังหวัด 85% ซึ่งมีค่าเช่าและค่าใช้จ่ายในการตั้งสาขาถูกกว่าในกรุงเทพ

ฐานะการเงินแข็งแกร่ง

ณ สิ้นไตรมาส 3/2023 บริษัทมีระยะเวลาหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ 37 วันแสดง ถึงความสามารถในการขายสินค้าของบริษัทที่เร็วกว่าคู่แข่ง เมื่อรวมกับระยะเวลา เก็บหนี้ 3 วัน (เนื่องจากบริษัทจำหน่ายสินค้าเป็นเงินสดให้กับลูกค้ารายย่อย และ สาขาแฟรนไชส์ที่มีสัดส่วน 93.6% ของรายได้ทั้งหมด) และหักออกด้วย ระยะเวลาชำระหนี้ 46 วัน (บริษัทมีเครดิตเทอม 30-60 วันจากเจ้าหนี้การค้า) ส่งผลให้วงจรเงินสดติดลบ 6 วัน ในขณะที่คู่แข่งเป็นบวก หรือติดลบน้อยกว่า แสดงถึงความสามารถในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน และสภาพคล่องของบริษัทที่ต่ำกว่าคู่แข่ง

ก่อน IPO บริษัทมี D/E Ratio อยู่ที่ 7-8 สูงกว่าที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ที่ ระดับ 5 อย่างไรก็ตามบริษัทจะเงินจาก IPO มาชำระหนี้ นอกจากนี้บริษัทยังมี เงินทุนเหลือไว้ใช้หมุนเวียนธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อกับสถาบัน การเงินเพื่อขยายธุรกิจต่อได้ เราคาดไว้หลัง IPO บริษัทจะมี D/E Ratio อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1.4

ประเมินมูลค่า 

เราประเมินมูลค่าเหมาะสมสําหรับบริษัท ADVICE ที่ 6.5 บาทด้วยวิธี P/E multiple เราใช้ P/E ที่ระดับ 17.0 เท่า เทียบกับ EPS ในปี 2024 ที่ 0.38 บาท เราอ้างอิงระดับ P/E ที่ 17.0 เท่าด้วยการเปรียบเทียบอุตสาหกรรมค้าปลีกสินค้า ไอที ICT และค้าปลีกที่มีระดับ P/E 15.6 ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับบริษัทที่ทำธุรกิจในลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับบริษัทมากที่สุดอย่าง Com7 (COM7 TB) ที่ P/E ปี 2024 14.4 เท่า หรือ IT (IT TB) ที่ P/E ปี 2022 13.8 เท่า ถึงแม้ว่าเราจะ ให้ P/E ที่ระดับ 17 เท่า เนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ต่ำ กว่าคู่แข่ง

นอกจากนี้ เรามองว่าระดับ P/E ที่ 17.0 เท่า ถือว่าเหมาะสมกับการเติบโตของ บริษัท เนื่องจากการเติบโตของกําไรของบริษัทในปี 2024 นั้น เราคาดว่าจะยู่ที่ 33% ทําให้ค่า PEG ratio อยู่ที่ 0.52 เท่า นอกจากนี้ ในด้านการเติบโตเฉลี่ยของ กําไรระยะยาวใน 3 ปี (3-year CAGR) ข้างหน้าของบริษัทนั้นจะยังคงอยู่ใน ระดับที่สูงที่  9.4% ต่อปี ไปจนถึงปี 2026

ความเสี่ยง

1. ความเสี่ยงจากกาพึ่งพิงผู้จัดจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ บริษัทจัดซื้อสินค้าจากผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ 3 ราย ได้แก่ SYNEX, SIS และ VST คิดเป็นสัดส่วนรวมกันถึง 48% ของยอดซื้อสินค้าทั้งหมด หากบริษัท สูญเสียคู่ค้าดังกล่าว อาจกระทบต่อต้นทุนค้าและผลการดำเนินงานของ บริษัทฯ อย่างไรก็ตามบริษัทมีประสบการณ์ในธุรกิจมานานกว่า 25 ปี แสดงถึงบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้า และเราเชื่อว่า ADVICE จะสามารถรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับคู่ค้าดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในอนาคต

2. ความเสี่ยงของสินค้าที่ล้าสมัย การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลให้สินค้าคงเหลือของบริษัท ที่ยังขายไม่ออกเกิดความล้าสมัย ทำให้บริษัทต้องขายลดราคาหรือขายขาดทุนส่งผลต่ออัตรากําไรของบริษัท รวมถึงจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการขาย ที่กระทบกับค่าใช้จ่ายในการขายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีบริษัทได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารความเสี่ยงจากความล้าสมัยของสินค้า โดยใช้ระบบการจัดเก็บสินค้าแบบ FIFO หรือ First In First Out เพื่อบริหารอายุของสินค้าและลดความเสี่ยงจากความล้าสมัยของสินค้า รวมถึงถ้า สินค้ามีการปรับลดราคาลง บริษัทฯ จะได้รับการชดเชยส่วนต่างราคา (Price Protection) ของสินค้ารุ่นที่มีการปรับราคาตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดโดยคู่ค้าแต่ละราย หรือได้รับเงื่อนไขการเปลี่ยนคืนสินค้าที่ตกรุ่นเพื่อ แลกกับสินค้ารุ่นใหม่ (Product Rotation) เป็นต้น เราเชื่อว่าระบบของ บริษัทจะช่วยลดความเสี่ยงจากการระบายสินค้าล้าสมัย ได้

3. ความเสี่ยงจากการแข่งขัน ธุรกิจค้าปลีกสินค้าไอทีมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงขึ้น ทั้งลดแลกแจกแถม การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า รวมถึงการขยายขอบเขตการให้บริการ ทำให้ยอดขายของบริษัทปรับตัวลง และกำไรลดลงตาม เราเชื่อว่าบริษัทเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีข้อได้เปรียบจากการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว และมีบริการหลังการขายที่มีคุณภาพ บริษัทฯ จึงได้รับผลกระทบจากการแข่งขันไม่มากนัก

4. ความเสี่ยงจากการขาดแคลนสินค้า อุปทานสินค้าไอทีมีความผันผวนสูง และถูกกระทบจากปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้ เกิดภาวะขาดแคลนสินค้า ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น และไม่สามารถหาสินค้าให้ลูกค้าได้ตามต้องการ กระทบกับความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของบริษัท อย่างไรก็ตามบริษัทมีการจัดซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหลายราย เพื่อให้มีสินค้ามาจำหน่ายอย่างต่อเนื่องเราเชื่อว่าหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์การขาดแคลนชิป บริษัทมีการเรียนรู้ และมีมาตรการการ ป้องกันแล้ว

5. ความเสี่ยงจากการขยายสาขา สาขาใหม่ไม่สามารถสร้างยอดขายและกำไรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ การเปิดสาขาใหม่ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 – 5 ล้านบาทต่อสาขาขึ้นอยู่กับ ขนาดของพื้นที่ บริษัทต้องศึกษาความเป็นไปได้ทั้งด้านการตลาดโดยพิจารณา จากความหนาแน่นของจำนวนประชากรในพื้นที่ หรือความหนาแน่นของ ผู้ใช้บริการห้างสรรพสินค้านั้นๆ ภาพรวมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทาง เศรษฐกิจในพื้นที่กำลังซื้อของประชาชน ประกอบกับจำนวนคู่แข่งในละแวก ใกล้เคียง และพิจารณาทางด้านการเงินโดยการจัดทำประมาณการทางการเงินและพิจารณาความคุ้มค่าของการลงทุน อ้างอิงจากผลการดำเนินงาน ในอดีตและระยะเวลาคืนทุนของสาขาในบริเวณใกล้เคียง อีกทั้งแผนการลงทุน ต้องได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) ของบริษัท

หากสาขาใหม่มีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้า บริษัทจะติดตามผลการ ดำเนินงานอย่างใกล้ชิดเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ผลประกอบการไม่เป็นไปตาม เป้าหมายและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หากยังไม่สามารถปรับปรุงผล ประกอบการให้ดีขึ้นได้ บริษัท จะปิดสาขาและย้ายไปเปิดสาขาในทำเลอื่นต่อไป

 

- Advertisement -