บล.พาย:

Sector Update: BANKING (OVERWEIGHT)

TOP PICK BBL, KBANK

กำไรสุทธิรวมสร้างสถิติใหม่ในปี 2023

แม้มีความท้าทายจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า กลุ่มธนาคารยังสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดีในปี 2023 เราคาดว่ากำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะสร้างสถิติใหม่ ที่ 2.02 แสนล้านบาท (+18.5% YoY) ในปี 2023 โดยธนาคารยังมีความสามารถการจัดการคุณภาพสินเชื่อได้ดี งบดุลแข็งแกร่ง โดยคาด NPL ratio ของกลุ่มฯ จะทรงตัว YoY ที่ 3.7% ใน 4Q23 และ Coverage ratio สูง ที่ 178.6% แข็งแกร่งเพียงพอต่อความไม่แน่นอนในอนาคต อย่างไรก็ดี อานิสงค์จากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมีแนวโน้มลดลงในปี 2024 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้กำไรของกลุ่มฯ ในปี 2024 จะเติบโตชะลอตัวที่ 11% YoY ส่วน ROE ยังเป็นขาขึ้นที่ 9.3% ในปี 2024 จาก 8.9% ในปี 2023 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องจากระดับต่ำที่ 6.1% ในปี 2020 ด้าน Valuation เรามองว่ายังไม่แพงกลุ่มธนาคารซื้อขายที่เพียง 0.5x PBV’24E หรือ -1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี ด้านมุมมองการลงทุน เราคงน้ำหนักการลงทุน “OVERWEIGHT” ต่อกลุ่มธนาคาร เลือก BBL และ KBANK เป็นหุ้นเด่น

คาดกำไรสุทธิรวมใน 4Q23 โต 29.5% YoY แต่หดตัว 15.3% QoQ

  • เราคาดว่ากลุ่มธนาคาร 8 แห่งที่เราวิเคราะห์จะมีกำไรสุทธิรวมใน 4Q23 ที่ 4.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 29.5% YoY (-15.3% QoQ)โดยการเติบโต YoY ได้แรงหนุนจาก (1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิสูงขึ้น เพราะการเพิ่มขึ้นของ NIM ที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น (2) กำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก BBL และ SCB ที่บันทึกผลขาดทุนของ FVTPL ใน 4Q22 และ (3) ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง โดยเฉพาะการลดลงจาก KBANK อย่างไรก็ดี คาดว่ากำไรสุทธิจะปรับลดลง QoQ จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสูงขึ้น ซึ่งเป็นปกติที่จะเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี
  • แม้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าจนกดดันการเติบโตของสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมลดลง แต่ผลบวกจากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นที่ธนาคารท์ยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่ใน 3Q22 ทำให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับสูงขึ้น และผลักดันกำไรสุทธิรวมปี 2023 จะสร้างสถิติสูงสุดใหม่ที่ 2.02 แสนล้านบาท (+18.5% YoY) สูงกว่า 1.76 แสนล้านบาท ในปี 2019 (ก่อนเกิดโรคโควิด 19) และสูงกว่าสถิติสูงสุดเดิมในปี 2014 ที่ 1.9 แสนล้านบาท

คาดสินเชื่อรวมลดลง QoQ ใน 4Q23 ทำให้ในปี 2023 สินเชื่อรวมโตเพียง 0.5% YoY

  • โดยปกติสินเชื่อใน 4Q จะขยายตัวจากปัจจัยฤดูกาล เช่น การส่งออก และการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุด แต่ใน 4Q23 เราคาดว่าสินเชื่อรวมจะหดตัว 0.5% QoQ จากการลดลงของสินเชื่อของ KTB และ TTB เป็นหลัก เพราะการชำระคืนหนี้ และการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้คาดว่าสินเชื่อรวมในปี 2023 จะขยายตัวได้เพียง 0.5% YoY เท่านั้น
  • เศรษฐกิจชะลอตัวและหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้ธนาคารเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อใหม่ แม้จะทำให้การขยายสินเชื่อชะลอตัว แต่ช่วยด้านการควบคุมคุณภาพสินเชื่อ เราคาดว่าหนี้เสียต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) จะทรงตัวที่ 3.7% ขณะที่สำรองหนี้ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) ของกลุ่มฯ เฉลี่ยที่ 178.6% แข็งแกร่งเพียงพอต่อความไม่แน่นอนในอนาคต

กำไรสุทธิรวมเติบโตชะลอตัวในปี 2024 แต่ ROE ยังเป็นขาขึ้น

  • วัฐจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยสิ้นสุดลงตั้งแต่เดือน พ.ย. 2023 หลังจาก คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% เรามองว่าอานิสงค์ของดอกเบี้ยขาขึ้นจะลดลงในปี 2024 เป็นส่วนสำคัญทำให้คาดว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นชะลอตัว และส่งผลให้กำไรสุทธิรวมปี 2024 โตชะลอตัวที่ 11% YoY แม้คาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 % ล้อกับการฟื้น ตัวทางเศรษฐกิจ และ Credit cost (สำรองหนี้ฯ ต่อหนี้เสีย) ปรับลดลงเหลือ 146 bps จาก 155 bps ในปี 2023
  • ธนาคารมีเงินกองทุนแข็งแกร่งและสภาพคล่องเพียงพอ แม้ว่ากำไรจะโตชะลอตัว แต่ธนาคารจะยังสามารถจ่ายเงินปันผลสูง ต่อเนื่อง เราคาดว่า ROE ของกลุ่มฯ จะยังเป็นทิศทางขาขึ้น โดยคาดว่า ROE จะยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่องที่ 9.3% ในปี 2024 จาก 8.9% ในปี 2023 ซึ่งปรับขึ้นต่อเนื่องจากระดับต่ำที่ 6.1% ในปี 2020 แต่ ROE ของกลุ่มฯ จะยังต่ำกว่า 9.7% ในปี 2019

Valuation ไม่แพง กลุ่มธนาคารซื้อขายที่ 0.5x PBV’24E (-1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี)

  • เรามองว่า Valuation ของกลุ่มฯ ยังน่าสนใจ ขณะที่ความสามารถการทำกำไรปรับตัวดีขึ้น โดยกำไรของธนาคารยังเติบโต ขณะที่ P/BV ของธนาคารส่วนใหญ่ซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ยกเว้นเพียง TISCO เท่านั้น
  • ปัจจัยเสี่ยงที่กดดันต่อการเติบโตในปี 2024 มาจาก (1) เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า (2) คุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง (3) มาตรการเข้มงวดของภาครัฐ และ (4) โอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024

คาดกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะเติบโต 29.5% YoY KBANK เติบโตโดดเด่นเติบโต 170.9% YoY

  • เราคาดว่ากลุ่มธนาคารจะมีกำไรสุทธิรวมที่ 44.3 พันล้านบาท (+29.5% YoY) โดยคาดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะรายงานกำไรเติบโต YoY โดย KBANK จะรายงานกำไรเติบโตสูงสุด 170.9% YoY เนื่องจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิสูงขึ้นขณะที่มีเพียง KKP ที่คาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง YoY เนื่องจากการขาดทุนรถยึดเพิ่มขึ้น และรายได้ค่าธรรมเนียมลดลง จากความผันผวนของตลาดทุน หากเทียบกับงวด 3Q23 คาดว่ากลุ่มฯ จะรายงานกำไรสุทธิลดลง 15.3% QoQ โดยธนาคารทุกแห่งจะมีกำไรสุทธิลดลง สาเหตุหลักเพราะค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น
  • คาดกำไรสุทธิรวมในปี 2023 ของกลุ่มฯ จะเพิ่มขึ้น 18.5% YoY เป็น 2.02 แสนล้านบาท ผลักดันจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และกำไร สุทธิจาก FVTPL สูงขึ้น โดย BBL จะมีกำไรโตโดดเด่นที่สุด 44.1% YoY อานิสงค์จาก NIM เพิ่มขึ้นล้อกับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น โดยจะมีเพียง KKP ที่ค้าดว่ากำไรจะลดลงราว 22.6% YoY เพราะผลกระทบจากหนี้เสียสูงขึ้นทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นผลกระทบจากการขาดทุนรถยึดสูงขึ้น และรายได้ค่าธรรมนียมปรับลดลงจากบรรยากาศในตลาดทุนที่ผันผวนสูงในปี 2023

สินเชื่อรวมใน 4Q23 หดตัว 0.5% QoQ เพราะกังวลปัญหาเศรษฐกิจและมีการชำระคืนเงินเข้ามา

ปกติแล้วความต้องการสินเชื่อไตรมาสสุดท้ายของปีจะแข็งแกร่ง เพราะมีเทศกาลวันหยุดยาว แต่เราพบว่าใน 2023 เศรษฐกิจไทยกลับฟื้นตัวต่ำกว่าคาดทำให้ลูกหนี้ชะลอการใช้จ่าย กอปรกับมีการชำระคืนสินเชื่อเข้ามา โดยเฉพาะการหดตัวของสินเชื่อในธนาคารขนาดใหญ่ เช่น KTB TTB ทำให้คาดว่าสินเชื่อรวมใน 4Q23 จะหดตัว 0.5% QoQ กดดันให้สินเชื่อปี 2023 จะขยายตัวได้เพียง 0.5% YoY เป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 14 ปี (2010-2023) โดยคาดว่าสินเชื่อของ KBANK KTB และ TTB จะลดลงในปี 2023 ขณะที่ KKP TCAP และ TISCO จะรายงานสินเชื่อขยายตัวโดดเด่นราว 7% YoY

คุณภาพสินเชื่อ

หนี้เสียทรงตัวท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังเติบโตชะลอตัว

  • ผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า และหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้ปัญหาหนี้เสียยังเป็นจุดเปราะบางของระบบธนาคารไทย คุณภาพสินเชื่อของลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ยังแข็งแกร่ง ส่วนสินเชื่อ SME ปัญหาหนี้เสียค่อนข้างทรงตัว แต่พบว่าสินเชื่อรายย่อยมีคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล
  • ธนาคารส่วนใหญ่ควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดีผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ การขายหนี้เสีย และการตัดจำหน่ายหนี้สูญ โดยเราคาดว่า NPL ratio ของกลุ่มธนาคารใน 4Q23 จะอยู่ที่ราว 3.7% ใกล้เคียงกับใน 4Q22 โดยคาดว่ามีเพียง KKP TCAP TISCO ที่ NPL ratio ปรับเพิ่มขึ้นใน 4Q23 เทียบกับสิ้นปี 2022 จากคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อ และจำนำทะเบียนที่ปรับสูงขึ้นธนาคารไทยยังเน้นนโยบายการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่รัดกุม เพื่อความปลอดภัยและเสริมความแข็งแกร่งให้กับงบดุลของตนเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น เราคาดว่า Coverage ratio ของกลุ่มฯ จะอยู่ที่ 178.6% ใน 4Q23 สูงขึ้นเทียบกับ 172.9% สิ้นปี 2022
  • ด้านระดับเงินทุนขั้นที่ 1 เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารไทยยังแข็งแกร่งที่ 16.4% ใน 4Q23 ทุกธนาคารต่างมีเงินทุนขั้นที่ 1 ที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 8.5%-9.5% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และด้วยเงินทุนขั้นที่ 1 ที่แข็งแกร่ง กลุ่มธนาคารไทยจะยังสามารถจ่าย ปันผลในระดับสูงได้ต่อเนื่อง โดนคาดการณ์ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนเงินปันผลของที่ 6% ในปี 2023 จาก 5.5% ในปี 2023

- Advertisement -