Daily Focus

Value and Selective Play

ตลาดหุ้นวานนี้: SET Index แกว่งตัวบวกได้แข็งแรงในช่วงครึ่งเช้า ก่อนที่จะย้อนลงมาปิดลบ 4.76 จุด ณ สิ้นวันจากแรงกดดันของตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ที่ปรับลงจาก Bond Yield ที่ยังพุ่ง สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น 181 ลบ. และ 1.2 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติ Short Index Future กว่า 1 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้: เราประเมิน SET Index แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,610-1,630 จุด โดยรวมบรรยากาศการลงทุนผ่านคลายมากขึ้น หลังมีแนวโน้มว่าสหรัฐฯจะบรรลุข้อตกลงขยายเพดานหนี้ได้ถึงสิ้นปี ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือน ก.ย. ออกมาดีกว่าคาด อย่างไรก็ตาม กลุ่มพลังงานคาดชะลอความร้อนแรงลงหลังราคาน้ำมันดิบเริ่มชะลอตัวในระยะสั้น ปัจจัยที่ยังจํากัด Upside ของตลาดหุ้นทั่วโลกยังอยู่ที่ประเด็นเงินเฟ้อและ Bond Yield สหรัฐฯที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ยังมีความกังวลว่า FED อาจเร่งลด QE และปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ประเมิน ส่วนในประเทศยังต้องจับตาพายุลูกใหม่ที่จะกำลังจะเข้าไทย ซึ่งหากไม่ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงขึ้น และเข้าพื้นที่สำคัญทั้งนิคมฯ และกรุงเทพฯ เราคาดว่าแนวโน้มการปรับตัวของ SET Index ยังเป็นขาขึ้นใน 4Q21 และยังได้อานิสงส์จากการทยอย Reopening กลยุทธ์จึงยังแนะนํา “ถือลงทุน” และเน้นหุ้นกลุ่ม Value และ Reopening Play ได้แก่ กลุ่มธนาคาร พลังงาน โรงกลั่น ค้าปลีก อาหาร ท่องเที่ยว รับเหมาฯ ซึ่งจะได้อานิสงส์ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 4Q21-2022

กลยุทธ์: เน้นเก็งกําไรหุ้น Value Play และมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว

หุ้นเด่นเดือน ต.ค. : CFRESH, CK, KBANK, KCE, ORI

หุ้นเด่นวันนี้: ORI

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2022 ที่ 14 บาท
  • โมเมนตัมกำไร 2H21 คาดเร่งขึ้นทั้ง H-H และ Y-Y จากโครงการใหม่สร้างเสร็จอีก 4 โครงการ แม้การปิดแคมป์จะกระทบบ้าง แต่คาดเริ่มโอนได้ในเดือน ก.ย. โดย ORI มีสต๊อกคอนโดพร้อมโอนกว่า 1 หมื่นลบ.
  • ระยะยาวเรามอง ORI เป็นมากกว่าบริษัทอสังหาฯ จากการทำ JV ร่วมกับ Partner ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้เกิด Synergy และเพิ่มรายได้ประจำและมี Catalyst จากการ Spin-Off บริทาเนีย และให้สิทธิผู้ถือหุ้น ORI จองซื้อ
  • แนวรับ 10-10.20 บาท แนวต้าน 10.80-11 บาท

Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาคอีก US$ 1,061 ล้าน นำโดยไต้หวันและเกาหลีใต้ US$ 1,059 ล้าน และ US$ 274 ล้าน ตามลำดับ ส่วนอาเซียนโดยรวมไหลออกนำโดยไทยและเวียดนาม ประเทศละ US$ 23-37 ล้าน มีเพียงอินโดนีเซียที่เม็ดเงินไหลเข้าหนาแน่น US$ 339 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดยังค่อนไปในทิศทางไหลออก โดยยังไม่มีปัจจัยใหม่ ขณะที่แนวโน้ม Dollar Index และ Bond Yield สหรัฐฯยังปรับตัวขึ้น

ประเด็นสําคัญวันนี้

(+) กลุ่มธนาคาร เราคาดตลาดจะมองข้ามกำไร 3Q21 ของกลุ่มฯ คาดจะไม่สดใส -16% Q-Q, + 30% Y-Y จากผลกระทบของ COVID-19 ระลอก 3 และมีปัจจัยที่ต้องติดตามคือ การปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งคาดเป็นบวกในระยะยาวรวมถึงการ Trasformation เราประเมินกำไรจะเริ่มทยอยฟื้นตัวใน 4Q21 เป็นต้นไป เราคาดว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารมีโอกาสถูก Re-Rate PBV ขึ้นใกล้เคียงการปรับขึ้นรอบล่าสุดช่วง ต.ค. 20 เม.ย. 21 ราว 0.7 เท่าโดย Top Pick ยังเป็น SCB (ราคาเป้าหมาย 158 บาท) และเลือก KBANK (ราคาเป้าหมาย 168 บาท) แทน TISCO (Source: FSSIA)

(0) TKN คาด 3Q21 พลิกเป็นขาดทุน 15 ลบ. จากผลกระทบของ COVID-19 รวมถึงเจอแรงงานติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวใน 4Q21 หลังเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นหลังได้ Distributor ในจีนเพิ่มเป็น 2 รายและทำ Campaign ร่วมกับ Tencent ผ่านเกม PUBG ส่วนสิ่งที่ต้องตาม คือ การฟื้นตัวของโรงงาน โดยปัจจุบันยังไม่เต็มที่เพราะขาดแคลนแรงงาน เครื่องจักรใหม่ล่าช้า และปัญหาค่าขนส่ง อยู่ระหว่างปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2022 แนะนำเพียง “เก็งกำไร”

(0) MEGA เราคาดกำไรปกติ 3Q21 -10% Q-Q ชะลอจาก 2Q21 ที่กำไรปกติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ +23% Y-Y เป็นการเติบโต Y-Y ติดต่อกันทุกไตรมาสตั้งแต่ 1Q20 ค่าเงินจ๊าดของเมียนมาร์ที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว 18% ตั้งแต่ต้น ก.ย. ที่ผ่านมา เชื่อกระทบจํากัด เนื่องจากยาเป็นสิ่งจําเป็นและฐานลูกค้าของบริษัท เป็นกลุ่ม B+ อันที่จริงค่าเงินจ๊าดเริ่มอ่อนค่าตั้งแต่ต้นปี 2021 แต่กําไร 2Q21 ทำ New High ได้ คงราคาเป้าหมาย 56 บาทแนะนํา “ซื้อ”

(+) SNNP คาดกําไร 3Q21 -25% Q-Q แต่ +14% Y-Y โดยถูกกระทบจากการ Lockdown ในไทยเวียดนามและกัมพูชา ส่งผลให้รายได้คาดชะลอตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่ากําไรจะฟื้นตัวแข็งแรงใน 4Q21 หลังผ่อนคลายมาตรการหนุนรายได้ฟื้นตัวทั้งในและต่างประเทศ ส่วนสินค้าใหม่คาดเปิดตัวในปี 2022 ขณะที่สิริโปรคาดถึงจุดคุ้มทุนใน 1Q22 เราคาด EPS ปี 2021-2022 +134% Y-Y และ +72% Y-Y คงราคาเป้าหมายที่ 15 บาทแนะนํา “ซื้อ” (Source: FSSIA)

(+) ตลาดดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 102.32 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 34,416.99 จุด หลังมีผู้แทนจากพรรครีพับลิกันกล่าวว่าจะสนับสนุนการขยายเพดานหนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐออกไปถึงเดือน ธ.ค. รวมถึงรายงานการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 568,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. สูงกว่านักวิเคราะห์คาดที่ 425,000 ตำแหน่ง และเร่งขึ้นจาก 340,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค.

(-) ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบจากการปรับลงของหุ้นกลุ่มรถยนต์, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มเดินทาง กดดันจากราคาน้ำมันและก๊าซที่สูงขึ้น

(+) ตลาดเอเชียปรับขึ้นตามทิศทางตลาดดาวโจนส์ ขณะที่ตลาดหุ้นจีนยังปิดทำการวันนี้

(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.83 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.50 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 77.43 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจาก EIA รายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่านักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 บาร์เรล

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 90 เซนต์ หรือ 0.05% ปิดที่ 1,761.80 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปีชะลอตัว

SPDR Gold Trust ถือครองทองคํา 986.54 / +

- Advertisement -