บล.พาย:  

KKP: Kiatnakin Phatra PCL

เน้นโตด้วยคุณภาพ และควบคุมค่าใช้จ่าย

เราคงคำแนะนำ “ถือ” ปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 49 บาท กำไรสุทธิใน 4Q23 ออกมาที่ 669 ล้านบาท (-53.2% YoY, -47.7% QoQ) กดดันให้กำไรสุทธิในปี 2023 ลดลง 28.4% ที่ 5.4 พันล้านบาท หลังจากเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์ เรายังคงกังวลต่อการขาดทุนรถยึดที่ยังสูง และต้นทุนการเงินที่จะเร่งตัวขึ้นในปี 2024 ทำให้มองว่าแม้กำไรสุทธิรายไตรมาสอาจจะฟื้นตัวได้ใน 1Q24 แต่คาดว่าการฟื้นตัวของคำไรในปี 2024 ยังจำกัดที่ 1.4% YoY และเร่งตัวสูงขึ้นเป็น 9.4% ในปี 2025 แม้ราคาหุ้นจะปรับลดลงถึง 37% จากสิ้นปี 2022 สะท้อนปัจจัยเชิงลบไปมากแล้ว และหุ้นชื่อที่เพียง 0.6x PBV’24E แต่เรายังคงกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อที่อ่อนแอลง แนะนำเพียง “ถือ” เพื่อรับเงินปันผลโดยคาดว่าอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 5.5%/6.1% ในปี 2024-25

การประชุมนักวิเคราะห์

  • กลยุทธ์การเติบโตในปี 2024 เน้นเติบโตเชิงคุณภาพและสร้างกำไรดีขึ้น ควบคุมหนี้เสีย และลดผลขาดทุนจากการย์ดรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งปืนปัจจัยที่กดดันผลการดำเนินงานในปี 2023 นอกเหนือจากภาวะการลงทุนผันผวนที่กดดันธุรกิจตลาดทุน สำหรับในปี 2024แนวโน้มธุรกิจจะชะลอการเติบโต่ในสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และจะไปโตในธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียน ทั้งนี้ จำนวนรถยนต์คงค้างที่ยึดมาลดลงที่ 4.6 พันคัน ใน 4Q23 จากราว 6 พันค้นใน 3Q23 นอกจากนี้มองว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติได้ในกลางปี 2024 โดยคาดว่าจำนวนรถยึดจะลดลง ทำให้มองว่าการขาดทุนจากการขายรถยึดจะขึ้นในปี 2024 เทียบกับที่มีผลขาดทุนสูงถึงราว 5 พันล้านบาทในปี 2023 แต่ตลาดอาจจะยังต้องใช้เวลาปรับตัวซักระยะกว่าจะกลับสู่ภาวะสมดุล
  • สินเชื่อ Micro SME และสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังเป็นปกติ ขณะที่มองว่ามีโอกาสในการขยายสินเชื่อธุรกิจเพิ่มขึ้นในปี 2024 หลังจากที่นักลงทุนกังวลต่อตลาดหุ้นกู้
  • เป้าหมายทางการเงินปี 2024 (1) loan growth ที่ 3% (2023: 5.3%) (2) loan spread ลดลงที่ 5% จากต้นทุนการเงินที่จะปรับสูงขึ้น (2023: 5.2%) (3) NPL ratio <3.5-3.7% (2023: 3.2%) (4) Credit cost ที่ 2.5-2.7% (2023: 3.0%) และ (5) ROAE (Comprehensive income) 10-11% (2023: 9.2%)

คาดการเติบโตของกำไรจะชะลอตัวในปี 2024-25

  • จากผลการดำเนินงานปี 2023 ที่ต่ำกว่าคาด และเรามองว่า KKP ยังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดทุนรถยึด และต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นกดดัน NIM ลดลงในปี 2024-25 เราปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2024-25 ลดลง 11%/8% ทำให้คาดว่ากำไรสุทธิจะกลับมาเติบโตได้ 1.4% YoY ในปี 2024 และโตสูงขึ้นเป็น 9.4% ในปี 2025
  • ด้วยแผนกลยุทธ์ที่จะเติบโตชะลอตัว และระดับเงินกองทุนแข็งแกร่ง ทำให้มองว่า KKP จะสามารถเพิ่ม Dividend payout ratio เป็น 40% ในปี 2024 โดยคาดว่าหุ้นจะให้ Dividend yield ที่ 5.5%/6.1% ในปี 2024-25

คงคำแนะนำ “ถือ” ปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 49 บาท

เราปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 49 บาท (จากเดิม 54 บาท) สะท้อนการปรับประมาณการกำไรสุทธิลดลง โดยประเมินมูลค่าด้วยวิธี GGM (ROE 9%, Terminal growth 2%) อิง 0.65x PBV’24E หรือ -1.5SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี (2014-2023)

สรุปผลการดำเนินงานใน 4Q23 และปี 2023

  • กำไรสุทธิงวด 4Q23 ออกมาต่ำกว่าประมาณการของเราอยู่ที่เพียง 669 ล้านบาท (-53.2% YoY, -47.7% QoQ) กำไรที่ปรับลดลง YoY และ QoQ กดดันจาก (1) ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์รอการขายสูงขึ้น (2) รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง โดยเฉพาะจากธุรกิจตลาดทุน และ (3) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง QoQ
  • กำไรสุทธิในปี 2023 อยู่ที่ 5.4 พันล้านบาท (-28.4% YoY) เนื่องจาก (1) ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์รอการขายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 4.8 พันล้านบาท จากขาดทุน 1.5 พันล้านบาทในปี 2022 (2) สำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นล้อกับหนี้เสีย และ (3) รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง
  • NIM ใน 4Q23 ทรงตัว QoQ ที่ 4.4% ส่งผลให้ NIM เฉลี่ยในปี 2023 ทรงตัว YoY ที่ 4.5% ด้าน Cost to income ratio (CIR)เพิ่มขึ้น QoQ เป็น 57.3% เพราะรายได้การดำเนินงานลดลง และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสูงขึ้น
  • สินเชื่อใน 4Q23 ลดลง 0.3% QoQ แต่สินเชื่อในปี 2023 ยังขยายตัว 5.7% YoY จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อรายย่อย
  • คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น เนื่องจากการแก้ไขหนี้เสียของลูกหนี้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และดูแลหนี้เสียเช่าซื้อรถยนต์ดีขึ้น ทำให้ NPL ratio ลดลงที่ 3.3% จาก 3.7% ใน 3Q23 นอกจากนี้ KKP ได้ตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษราว 600 ล้านบาท รองรับสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ที่มีแผนการจะปรับโครงสร้างหนี้ในอนาคต เพราะคุณภาพหนี้อ่อนแอลง ส่งผลให้อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) เพิ่มเป็น 164.6% ใน 4Q23
- Advertisement -