บล.กรุงศรีฯ: 

BANKING SECTOR – เตรียมพร้อมเต็มพิกัดเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ (NEUTRAL)

  • Highlights from 4Q23 and FY23 results

การตั้งสำรอง และ OPEX ที่สูงกว่าคาดเป็นตัวฉุดกำไร

    • ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารใน 4Q23 ออกมาต่ำกว่าคาด เนื่องจาก OPEX สูงขึ้น และการกันสำรองเพิ่มขึ้น ยกเว้น TTB และ SCB ที่งบออกมาดีกว่าคาด
    • กำไรสุทธิรวมของทั้งห้าธนาคารใหญ่เพิ่มขึ้นถึง 35% yoy ใน 4Q23 จาก NIM ที่เพิ่มขึ้น โดยกำไรของ KBANK เติบโตสูงที่สุด yoy เพราะตั้งสำรองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ yoy จาก 2.27 หมื่นล้านบาทใน 4Q22 เหลือเพียง 1.35 หมื่นล้านบาทใน 4Q23 ตามมาด้วย SCB จาก NIM ที่เพิ่มขึ้น (NIM สูงที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารในกลุ่ม)
    • แต่กำไรสุทธิรวมลดลง 15% qoq เนื่องจาก KTB มีการตั้งสำรองพิเศษ, KBANK ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น qoq และ OPEX สูงขึ้น qoq ใน 4Q23 ในขณะที่ BBL ก็มี OPEX สูงขึ้น qoq ทั้งนี้ กำไรสุทธิรวมในปี FY23 เพิ่มขึ้น 21% นำโดย BBL (+42% yoy) ตามมาด้วย TTB (+30% yoy) และ KBANK (+18.6% yoy)
    • สินเชื่อเติบโตค่อนข้างทรงตัว yoy ในปี FY23 โดย โดย SCB เป็นเพียงธนาคารเดียวเท่านั้นที่สินเชื่อขยายตัวได้อยู่ที่ 2% yoy ในขณะที่สินเชื่อของ TTB หดตัวลงมากที่สุดในกลุ่มที่ -3.5% yoy ทั้งนี้ค่าเฉลี่ย NIM เพิ่มขึ้นเป็น 3.56% จาก 3.18% yoy และ 3.46% qoq ทำให้ NII เพิ่มขึ้น (+14% yoy, +3% qoq) ในขณะที่ Non-NII ลดลงทั้ง, yoy และ qoq
    • ค่าเฉลี่ย credit cost เพิ่มขึ้นเป็น 1.92% ใน 4Q23 จาก 1.72% ใน 4Q22 และ 1.59% ใน 3Q23 เนื่องจากมีการตั้งสำรองพิเศษ และ management overlays เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความไม่แน่นอนและการฟื้นตัวช้าของเศรษฐกิจในปี 2024F ทั้งนี้ สัดส่วนค่าเฉลี่ย NPL ratio ใน 4Q23 ลดลงทั้ง yoy และ qoq เหลือ 3.01% โดยที่สัดส่วน coverage ratio เพิ่มขึ้นเป็น 192.6% จาก 178.4% ใน 4Q22 และ 185.9% ใน 3Q23 ซึ่งเป็นการตอกย้ำมุมมองของเราว่าปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มธนาคารไทยยังคงแข็งแกร่ง
  • Outlook

คาดว่ากำไรรวมในปี FY24F จะโตเพียงเล็กน้อย yoy

เนื่องจากดอกเบี้ยขาขึ้นจบรอบแล้ว และเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ในขณะที่ยังมีความไม่แน่นอน เราจึงคาดว่าสินเชื่อจะไม่เติบโตหรือขยายตัวเพียง 1-2% yoy ในขณะที่คาดว่า NIM จะทรงตัวได้สำหรับธนาคารที่มีการลงทุนในต่างประเทศ หรือการปรับพอร์ตสินเชื่อที่ให้ yield สูงกว่าจากในความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ส่วน Non-NII น่าจะทรงตัว หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย yoy สำหรับ OPEX น่าจะลดลง yoy เพราะเราเชื่อว่าใน 4Q23 สูงเกินไป ดังนั้นสัดส่วน C/I น่าจะดีขึ้น โดยสัดส่วน C/I ของ KTB ค่อนข้างน่าประทับใจ รองลงมาคือ SCB เราคาดว่า credit cost น่าจะลดลง yoy ในขณะที่ NPL แม้จะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็น่าจะยังคุมได้โดยที่สัดส่วน coverage ratio ยังสูง

  • Implication

เราชอบ BBL เพราะมูลค่าและคุณภาพสินทรัพย์ดีที่สุด โดยมี coverage สูง

เรายังคงมอง Neutral กับกลุ่มธนาคาร โดยเราชอบ BBL ในแง่ของราคาหุ้น (P/BV ต่ำที่สุดที่ 0.5x โดยที่ ROE มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 8%) ปันผลดี ในขณะที่กำไรมี downside จำกัด นอกจากนี้ เรามองว่า TTB ก็น่าสนใจในแง่ของ earnings yields ที่ดีขึ้น รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี และ ROE แต่ราคาหุ้นดูแพงกว่า (P/BV ที่ 0.7x) แล 7x) และพอร์ตส่วนใหญ่เน้นไปที่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย/ผู้บริโภค ยังคงต้องจับตาดูคุณภาพสินทรัพย์ต่อไป ทั้งนี้ SCB มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่สุด แต่ประเมินมูลค่าหุ้น (valuation) ยังแพงอยู่ ส่วน valuation KBANK ค่อนข้างถูก แต่ความกังวลเกี่ยวกับ AQ อาจจะเป็นปัจจัยที่ฉุดให้ ROE ลดลง สำหรับ KTB แม้ valuation อาจจะดูน่าสนใจ โดยมี ROE สูงถึง 9% แต่เราเชื่อว่ากำไรน่าจะยังมี downside อีก

- Advertisement -