KS Daily View 24.01.2024 >>> แนะนำลงทุนหุ้น ที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว คาด SET แกว่งตัวลงในกรอบ 1,350-1,365 จุด หุ้นแนะนำ MINT, PR9

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้

ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA -0.25% S&P500 +0.29% NASDAQ +0.43%; Dollar index +0.23% เป็น 103.582 และค่าเงินบาทปิดที่ 35.7; ราคาน้ำมันดิบ Brent Futures -0.5% เป็น 79.66/bbl; ราคาทองคำ +0.4% เป็น 2031.20/ounce; US 10Y yield 0.0459bps เป็น 4.1416%

ในประเทศเมื่อวันจันทร์: SET Index -13.380 จุด หรือ -0.98% ปิดที่ 1356.54 จุด หุ้นใน SET100 ที่ราคาเพิ่มขึ้นมากสุด ได้แก่ SJWD (+3.88%), TRUE (+2.80%), SNNP (+1.73%), SAPPE (+1.20%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ราคาลดลงต่ำสุด ได้แก่ JMT (-9.40%), BSRC (-7.78%), JMART (-5.84%), FORTH (-5.58%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

คาดดัชนีแกว่งตัวในกรอบ 1,350-1,365 จุด ปัจจัยกดดันหลักมาจากรายงานของโฆษกรัฐบาลที่เปิดเผยว่าตัวเลข GDP ปี 2563 จะขยายตัวเพียง 1.8% ต่ำกว่าคาดการณ์ของ BB Consensus ที่ 2.5% และ ธปท. 2.4% ตามลำดับ การเติบโตของกำไร บจ. ไทยยังคงอยู่ในขาชะลอตัว หลังกลุ่มธนาคารพาณิชย์รายงานกำไรสุทธิต่ำกว่าคาด 7% ตามมาด้วย SCGD และ SCGP ต่างรายงานกำไรต่ำกว่าคาด 15% และ 16% ตามลำดับ เป็น sentiment ลบต่อเนื่องต่อทิศทางกำไร บจ. (BB Consensus คาด 96 บาท) จากตัวเลข EPS ที่มีแนวโน้มถูกปรับลดลงต่อทำให้ตัวเลขเป้า SET Index target ของทาง KS ที่ 1,470 จุด (-0.5 SD ของ EYG) อิง EPS 97 บาท และ Thai 10y yield 2.70% เปิด downsides เพิ่มอีก จากการประเมินด้วยวิธี Sensitivity Analysis พบว่า EPS ที่ปรับลดลงทุกๆ 1 บาท จะกระทบเป้า SET Index ลดลง 16 จุด และกรณีที่ Bond yield เปลี่ยนไปทุกๆ 10bps จะมีผลต่อเป้า SET Index 25 จุด สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำ Selective Buy ในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว หรือมีกำไร 4Q23 แข็งแกร่ง

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) หุ้นสหรัฐฯ ปิดผสมผสาน โดย S&P 500 และ Nasdaq แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ดัชนี Dow Jones จะปรับตัวลง เนื่องจากแนวโน้มผลประกอบการที่ออกมาดีของ United Airlines และ Verizon ถูกชดเชยด้วยทิศทางผลประกอบการที่น่าผิดหวังของ 3M และ Johnson & Johnson ขณะที่ราคาหุ้น NETFLIX ปรับตัวขึ้น 8.0% หลังรายงานตัวเลขยอด subscriber และยอดโฆษณาเติบโตแข็งแกร่ง ส่วน TESLA ปรับตัวขึ้น 0.2% ก่อนการรายงานงบหลังตลาดปิดคืนวันพุธ ทั้งนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากแรงหนุนของหุ้นในกลุ่ม Magnificent 7 (Alphabet, Amazon, Apple, Meta, Microsoft, Nvidia and Tesla) ที่ปรับตัวขึ้น 87% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาและดีกว่า S&P500 ที่ให้ผลตอบแทน 21% ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การรายงานงบของหุ้นขนาดใหญ่ทั้ง 7 ตัวจะมีผลต่อทิศทางตลาดสหรัฐฯ ในระยะถัดไป ทั้งนี้ปัจจุบัน LSEG Consensus คาดว่ากำไร 4Q23 ของ S&P 500 เพิ่มขึ้น 4.6% YoY ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 7.5% YoY การประเมินมูลค่าตลาดหุ้น S&P 500 ซื้อขายที่ 20 เท่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 16 เท่า

2.) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และคงกรอบการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (Yield Curve Control: YCC) ไว้ที่ระดับอ้างอิง +/- 1% ห้องค้ากสิกรไทยประเมินว่า บีโอเจมีแนวโน้มยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือน เม.ย. 2024 ตามการสื่อสารของนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจ ที่เปิดโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น โดยเราประเมินว่าไตรมาสที่ 2 จะถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่อาจเห็นจุดเปลี่ยนของค่าเงินเยนไปในทิศทางแข็งค่าขึ้น

3.) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเอกสารข่าวกระทรวงการคลังที่ยังมีตราประทับลับและเตรียมแถลงต่อสื่อมวลชนในวันที่ 24 ม.ค. เรื่องการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2566 และ 2567 เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ 1.8% จากการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวกดดัน และเร่งตัวขึ้นเป็น 2.8% ในปี 2567 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและท่องเที่ยว

4.) ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินกรณีอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เกี่ยวกับการถือหุ้นในบริษัทสื่อแห่งหนึ่งที่เลิกกิจการในเวลา 14.00 น. วันนี้

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

คาดตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบ 1,350-1,404 จุด ในสัปดาห์นี้ แต่หากหลุดแนวรับดังกล่าวมองแนวรับถัดไปที่ 1,330 จุด และ 1,310 จุด ตามลำดับ แรงขายของนักลงทุนต่างชาติยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยให้ underperform ตลาดหุ้นโลก จากกำไร บจ. โตน้อย การชะลอตัวของจีนกระทบส่งออกและท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นภาครัฐไม่แน่นอนและปัญหาการ rollover หุ้นกู้ รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นจากการปรับลดโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟด โดยปัจจัยสำคัญที่จะต้องติดตามคือ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนี PCE/Core PCE Price Index เดือน ธ.ค. ดัชนี PMI เดือนม.ค. (เบื้องต้น) รวมถึงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/66 ของสหรัฐฯ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม BOJ และ ECB ดัชนี PMI เดือน ม.ค. (เบื้องต้น) ของญี่ปุ่น ยูโรโซน อังกฤษ รวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR เดือน ม.ค. ของจีน

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

MINT (ราคาพื้นฐาน 40.88 บาท) Chairman Bill Heinecke ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าตัวเลข Occupancy rate ในเดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 75% ในเดือน ธ.ค. ขณะที่เห็นสัญาณยอดจองที่เร่งตัวขึ้นต่อในเดือน ม.ค.-ก.พ. อีก 20-30% พร้อมแสดงความมั่นใจว่าผลประกอบการปี 2024 จะดีกว่าปี 2023 ทั้งนี้จากการ cross check ตัวเลข Service charge ของโรงแรมในเครือของ MINT (Anantara Layan-Phuket) พบตัวเลข service charge เดือน ม.ค. เร่งตัวขึ้นเป็น 71,715 บาท (+23% YoY, +289% MoM) ราคาหุ้น MINT ซื้อขายมี discount จาก peers โดยเทรดบน PER ปี 2024 ที่ 20x เทียบกลุ่มโรงแรมที่เทรดบน PER ปี 2024 ที่ 26x ขณะที่ราคาหุ้น Peers ในต่างประเทศอย่าง Marriot, Intercontinental, Hyatt, Accor เป็นต้น ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดนับแต่ก่อนโควิด จากตลาดคลายกังวลเรื่อง Recession และแนวโน้ม RevPar ที่แข็งแกร่ง

PR9 (ราคาพื้นฐาน 18.50 บาท) หุ้นกลุ่มโรงพยายามเป็นกลุ่ม defensive สำหรับช่วงที่ภาวะตลาดยังมีความคลุมเครือ PR9 มี growth story ที่ชัดเจน บนการเพิ่มฐานลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะตะวันออกกลางจากปัจจุบันรับเฉพาะ OPD จะขยายเป็น IPD และเพิ่มการรักษาในส่วนโรคเฉพาะทางมากขึ้นหนุนรายได้ต่อหัวเพิ่ม คาดกำไร 4Q23 จะทำ new high (163 ลบ. +17.5% YoY, +16.4% QoQ) และดีต่อเนื่องในปี 2024 จากเป้ารายได้โตระดับ 10-12% YoY

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันพุธติดตาม ตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่นสำหรับเดือน ธ.ค. ตลาดคาดที่ 6.7% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.2% YoY และติดตามตัวเลขภาคการผลิตเบื้องต้นของยุโรป (Flash manufacturing PMI) สำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ 45.0 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 44.4 จุด
  • วันพฤหัสบดีฯ ติดตาม ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมัน (German ifo business climate) สำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ 87.5 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 86.4 จุด ต่อด้วยติดตามผลการประชุมธนาคารกลางของยุโรป (ECB) ตลาดคาดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50% ช่วงข้ามคืนติดตามตัวเลข GDP ของสหรัฐฯสำหรับไตรมาส 4/2566 ตลาดคาดขยายตัวที่ +1.8% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ +4.9% และตัวเลขยอดขายสินค้าคงทน (Durable good orders) ของสหรัฐฯสำหรับเดือน ธ.ค. ตลาดคาดที่ +0.9% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 5.4% MoM
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขดัชนีราคารายจ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนทั่วไป (Personal Consumption Expenditure – PCE) ของสหรัฐฯสำหรับเดือน ธ.ค. ตลาดคาดทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 2.6% YoY และดัชนีราคารายจ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนพื้นฐาน (Core PCE) ตลาดคาดทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 3.2% YoY ต่อด้วยตัวเลขยอดขายบ้านรอปิดการขายของสหรัฐฯสำหรับเดือน ธ.ค. ตลาดคาด -3.4% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -5.2% YoY
- Advertisement -