บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
SCG Packaging (SCGP.BK/SCGP TB)*
ฟันฝ่าพายุใหญ่
Event
ปรับลดกำไร, สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์ 4Q66
Impact
แนวโน้มไม่สดใส – ฟื้นตัวอย่างเอื่อยๆ
เรามองว่าเป้ารายได้ของ SCGP ที่ 1.50 แสนล้านบาท (+15% YoY) ดูท้าทายภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ลุ่มๆ ดอนๆ ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าบริษัทจะตั้งงบลงทุน (CAPEX) ไว้ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท (R&D 2 พันล้านบาท, ESG 5 พันล้านบาท และ M&A 1 หมื่นล้านบาท) แต่ดีลขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้เวลากว่าจะทำได้ตามเป้า ในขณะเดียวกัน SCGP กลับมาพิจารณาเข้าลงทุนในโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์แห่งใหม่ในเวียดนามเหนือ ซึ่งจะใช้งบลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท โดยจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในปี 67 ส่วนดีลของ Fajar ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่นักลงทุนเป็นกังวลยังอยู่ในขั้นตอนของการหาพันธมิตร และ/หรือ ต่อรองราคา ซึ่งในแง่บวกเรายังคงมองว่าอุปสงค์บรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย และอินโดนีเซียยังคงมีแนวโน้มสดใสจากภาคการท่องเที่ยวและบริการ ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยขาขึ้นคลายตัวลง
ปรับลดกำไรปี 2567-68F ลง 10%/4%
เราปรับประมาณการลงเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนการจัดจำหน่ายที่สูงขึ้นในปี 2567F ยอดขายที่อ่อนแอลงและต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทั้งนี้ SCGP กำลังดิ้นรนเผชิญกับภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย ซึ่งได้แก่ สถานการณ์ที่ตึงเครียดในประเทศจีน, การเข้าซื้อ Fajar, และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (กระดาษรีไซเคิล และอัตราค่าระวางขนส่ง) ในขณะเดียวกัน ต้นทุน old corrugated container (OCC) ซึ่งเป็นต้นทุนหลักเพิ่มขึ้น 12% QoQ เป็น US$213/ton ในขณะที่อัตราค่าระวางขนส่งเพิ่มขึ้นเพราะสถานการณ์ในทะเลแดงทวีความตึงเครียดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจับตาต่อไป อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่ากำไรจากธุรกิจหลักใน 1Q67F จะเพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจาก i) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงขึ้น ii) เทศการตรุษจีน iii) การเลือกตั้งประธานาธิบดีในอินโดนีเซีย (14 กุมภาพันธ์) และ iv) ราคา dissolving pulp สูงขึ้น
ผลประกอบการ 4Q66 – ต่ำกว่าประมาณการของเรา และนักวิเคราะห์ในตลาด 11%/12%
กำไรสุทธิของ SCGP ใน 4Q66 อยู่ที่ 1.21 พันล้านบาท (+171% YoY, -8% QoQ) ในขณะที่กำไรจากธุรกิจหลักอยู่ที่ 1.21 พันล้านบาท (+94% YoY, -7% QoQ) ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ เพราะอัตราภาษีสูงเกินคาด (นำโดย Fajar) ทั้งนี้ กำไรที่ลดลงอย่างมาก QoQ เป็นเพราะต้นทุนการดำเนินงานของ integrated packaging unit (IPB) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราภาษีที่สูงขึ้นมาก (เป็น 20.8% จาก 14.9% ใน 3Q66), DD&A, และต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน EBITDA margin ของ IPB ลดลงเหลือ 14.5% (จาก 15.4% ใน 3Q66) ส่วน EBITDA margin ของธุรกิจ fibrous (FB) เพิ่มขึ้นเป็น 15.5% (จาก 13% ใน 3Q66) เพราะไม่
มีการ overhaul รอบใหญ่ และราคาขาย short fiber สูงขึ้น สำหรับกำไรที่เพิ่มขึ้น YoY เป็นเพราะผลจากฐานที่ต่ำ ซึ่งเกิดจากต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น และอุปสงค์ที่อ่อนแอใน 4Q65 ทั้งนี้ กำไรสุทธิของ SCGP ในปี2566 อยู่ที่ 5.2 พันล้านบาท (-10% YoY) ในขณะที่กำไรจากธุรกิจหลักอยู่ที่ 5.1 พันล้านบาท (-11% YoY)
Valuation and action
เรายังคงคำแนะนำ ถือ แต่ปรับลดราคาเป้าหมายเหลือ 34.00 บาท จาก 39.00 บาท สะท้อนถึงการปรับลดกำไร และการ derate EV/EBITDA ลงเหลือ 8.5x (จาก 9x) (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นกลุ่มนี้ในต่างประเทศเล็กน้อย) ทั้งนี้ SCGP จะจ่าย DPS 2H66 ที่ 0.30 บาท/หุ้น (XD: 2 เม.ย 67) คิดเป็นผลตอบแทนที่ 1%
Risks
ความผันผวนของวัตถุดิบ และต้นทุนพลังงาน, ความเสี่ยงด้อยค่าดีล M&As, และความเสี่ยงของประเทศ