บล.บัวหลวง:

ลงทุนแบบเมกะเทรนด์ – เมื่อ Robotics ผนวกกับ Gen AI…อะไรคือโอกาสของอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและหุ่นยนต์บริการ-สองเครื่องยนต์ขับเคลื่อนการเติบโต

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์มีแนวโน้มการเติบโตที่สดใส หนุนจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI ค่าแรงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสาขา มูลค่าตลาดหุ่นยนต์ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตจากระดับ 50,096 ล้านเหรียญ ในปี 2022 สู่ระดับ 214,600 ล้านเหรียญในปี 2030 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 22.8% ต่อปี 1 เซคเม้นต์ที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมคาดว่าจะมาทั้งจาก หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและหุ่นยนต์บริการ

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญความท้าทายหลาย ด้าน แต่ยอดการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลกยังสามารถทำระดับสูงสุดในประวัติการณ์ได้ โดยในปี 2022 ยอดการติดตั้ง หุ่นยนต์ใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 553,052 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อนหน้า และถือตัวเลขที่ทะสุระดับ 500,000 ตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 (รูปที่ 1) ทั้งนี้ยอดการติดตั้งหุ่นยนต์ในปี 2022 กว่าครึ่งหนึ่งกระจุก ตัวอยู่ในประเทศจีน (52%) รองลงมาคือญี่ปุ่น (9%) สหรัฐฯ (7%] เกาหลีใต้ (6%) และเยอรมนี (5%) โดยอุตสาหกรรมที่มีการติดตั้งหุ่นยนต์เพิ่มมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ และโลหะและเครื่องจักร โดยนำไปในใช้การหยิบจับชิ้นงาน (Handling) เชื่อมโลหะ (Welding) ประกอบชิ้นงาน (Assembling)

ปัจจุบันทั่วโลกมีหุ่นยนต์ที่ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมรวม 3.904 ล้านตัว (รูปที่ 2) สำหรับแนวโน้มในช่วงหลายปีข้างหน้าคาดว่าการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร่ง โดยคาดว่ายอดการติดตั้ง หุ่นยนต์ใหม่คาดว่าเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเฉลี่ย 7% ต่อปีในช่วงปี 2022-2026 แตะระดับ 718,000 ตัว ในปี 20262

เรามองว่าเทรนด์ที่น่าสนใจสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ได้แก่ Cobot หรือ Collaborative Robots ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหุ่นยนต์ใหม่ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างเฉลียวฉลาด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสัดส่วนยอดการติดตั้ง Cobot เทียบกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมโดยรวมได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและแตะระดับ 10% ในปี 2022 หรือหากคิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยต่อปีในช่วงปี 2017-2022 ถือว่า สูงถึง 37.9% ต่อปี (รูปที่ 3) เราคาดว่าการเติบโตของ Cobot เป็นตัวผลักตันที่สำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมเติบโตในอัตราเร่งขึ้น เนื่องจากจุดเด่นในด้านความปลอดภัย ความ ยืดหยุ่นในการใช้งาน และต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม

สำหรับหุ่นยนต์บริการ ซึ่งหมายถึงหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้ในงานอื่นๆ นอกเหนือจากงานผลิตหรืองานอุตสาหกรรมนั้นจากข้อมูลของ International Federation of Robotics หรือ IFR ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์บริการ 975 บริษัททั่วโลก พบว่ายอดขายหุ่นยนต์บริการสำหรับภาคธุรกิจทั่วโลกในปี 2022 อยู่ที่ 158,000 ตัว หรือเพิ่มขึ้น 48% จากปีก่อนหน้า โดยยอดมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายหุ่นยนต์บริการดังกล่าวนำไปใช้ในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ (ยอดขาย 86,000 ตัว หรือคิดเป็นสัดส่วน 54%ของยอดขายรวม) รองลงมาคือธุรกิจ Hospitality (บริการ) (ยอดขาย 24,500 ตัว หรือคิดเป็นสัดส่วน 16%) และธุรกิจการแพทย์ (ยอดขาย 9,300 ตัว หรือคิดเป็นสัดส่วน 6%) (รูปที่ 4) ในแง่ของการเติบโตของยอดขายเทียบกับปีก่อนหน้า หุ่นยนต์ในธุรกิจ Hospitality มีอัตราการเติบโตโดดเด่นที่สุด คือสูง ถึง 125% YOY ตามด้วยหุ่นยนต์ที่ใช้ในภาคการเกษตร ซึ่งเติบโต 18% YoY

อีกโมเดลธุรกิจที่เรามองว่าจะมีแนวโน้มเข้ามามีบทบาทและจะผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมโดยรวมได้ คือ Robot as a Service (RaaS) หมายถึงการให้บริการด้วยหุ่นยนต์ในรูปแบบของการเช่าใช้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากจุดเด่นในด้านความยึดหยุ่นและลงทุนได้ง่ายด้วยต้นทุนไม่สูงนัก ทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ไม่ยาก โดยปริมาณหุ่นยนต์ของธุรกิจในรูปแบบ RaaS เพิ่มขึ้นถึง 50% สู่ระดับ 21,000 ตัวในปี 2022

ความก้าวหน้าเทคโนโลยี-อีกแรงส่งที่ทำให้หุ่นยนต์ทำงานได้หลากหลายขึ้น

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing และโครงข่ายมือถือ 56 รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์

เราคาดว่าเทคโนโลยี Cloud Computing และ โครงข่ายมือ ถือ 5G จะหนุนโมเดลธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Robot as a Service (RaaS) และ Cloud Robotics ซึ่งโมเดลธุรกิจนี้จำเป็นต้องอาศัยโครงข่าย 5G ที่มีความเร็วสูง การสื่อสารที่ตอบสนองได้ไว ช่วยให้สามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ สำหรับ Cloud Robotics นั้นจะช่วยโอนภาระการคำนวณและประมวลผลจากหุ่นยนต์ไปอยู่ที่คลาวต์แทน ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์มีราคาถูกลง อันจะส่งผลให้การนำหุ่นยนต์มาใช้ในอุตสาหกรรมกว้างขวางมากขึ้น

นอกจากนั้นการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หุ่นยนต์ฉลาดขึ้น ประมวลผลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาของ Generative AI ซึ่งจะเข้ามาช่วยทั้งในแง่ของการออกแบบ (ใช้ในการออกแบบหุ่นยนต์ที่มีน้ำหนักเบา ประหยัดพลังงานเคลื่อนไหวและจัดการวัตถุในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและไม่มีรูปแบบที่แน่นอน) การควบคุม (ใช้ในการเรียนรู้การทำงานใหม่ๆโดยดูจากมนุษย์ ตลอดจนวางแผนและนำทางในสภาพแวดล้อมที่ไม่รู้ล่วงหน้าได้) การฝึกเทรน (ใช้ในการสร้างสถานการณ์จำลองที่เสมือนจริง เพื่อที่จะเรียนรู้ก่อนที่จะทำงานจริง] รวมถึงความสามารถในปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ (ใช้ในการพัฒนาหุ่นที่เข้าใจและตอบโต้กับภาษามนุษย์ได้หรือสามารถแสดงภาษาทางสีหน้าหรือภาษากายได้)

ปัจจุบัน บริษัทต่างๆเริ่มนำ Generative AI เข้ามาพัฒนาหุ่นยนต์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการขยายการประยุกต์การใช้งานหุ่นยนต์ไปในหลากหลายสาขายกตัวอย่าง เช่น

  • ABB: หุ่นยนต์หยิบจับสิ่งของ (Robotic Item Picker) ที่พัฒนาโดยบริษัท ABB ใช้ Generative AI ทำให้หุ่นยนต์หยิบสิ่งของและวางในถังได้โดยไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม ซึ่งสามารถหยิบได้ถึง 1,400 ชิ้นต่อชั่วโมง
  • Nadine: หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ (Humanoid Robot) ที่พัฒนาโดยบริษัท Nadine ได้อัพเกรดด้วยโมเดล AI GPT-3 ซึ่งเป็นอนาคตที่มีศักยภาพของหุ่นยนต์เพื่อดูแลผู้สูงอายุ
  • Intuitive Surgical: บริษัทเบอร์ 1 ด้านหุ่นยนต์ผ่าตัดได้เปิดตัวเครื่องมือชื่อ Case Insight เฟสแรก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำงานคู่กับหุ่นยนต์ผ่าตัด Da Vinci และระบบข้อมูลของโรงพยาบาล ในการสร้างโมเดล AI เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการผ่าตัด ฐานข้อมูลคนไข้ และผลลัพธ์การผ่าตัด ซึ่งอนาคตน่าจะทำให้ประสิทธิภาพการผ่าตัดดีขึ้นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีความซับซ้อนสูง
  • Dreame Technology: หุ่นยนต์ดูดฝุ่นของ Dreame Technology ถูกฝึกให้ทำงานในบ้านจำลองซึ่งสร้างขึ้น
    จาก Generative Al
  • Electric Sheep: พัฒนาหุ่นยนต์สำหรับตัดหญ้า อัตโนมัติโดยใช้ Generative AI
  • Levatas: พัฒนาวิธีการควบคุมหุ่นยนต์ Boston Dynamics Spot โดยใช้คำสั่งเสียง ChatGPT ช่วยให้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้อย่างเป็นธรรมชาติและไม่ต้องใช้มือในการควบคุม และสามารถทำงานที่ยากในการเขียนโปรแกรมมากกว่าวิธีแบบเดิมๆ
  • Engineered Arts: Ameca Humanoid Robot lở ChatGPT มาช่วยในด้านการสนทนา ทำให้สามารถให้ข้อมูลและตอบคำถามได้อย่างครอบคลุม และยังสามารถ พูดคุยเล็กๆน้อยๆได้อีกด้วย
  • Agility Robotics, NTT และอีกหลายบริษัท ได้นำ Generative Al เข้ามาประยุกต์ใช้ในหุ่นยนต์เพื่อช่วยให้เข้าใจคำสั่งทั้งในรูปแบบของข้อความและเสียง ปัจจุบันเทคโนโลยีของ NVIDIA เช่น แพลตฟอร์ม NVIDIA Isaac และ Jetson ซึ่งช่วยในการพัฒนาและใช้งานหุ่นยนต์ที่นำ AI มาช่วยนั้น มีการใช้งานจากนักพัฒนากว่า 1.2 ล้านคนและมีลูกค้าและพาร์ตเนอร์กว่า 10,000 รายการพัฒนาของ AI ยังมีอนาคตอีกยาวไกลซึ่งจะสามารถปฏิวัติวงการหุ่นยนต์ให้มีความเฉลียวฉลาด ปรับตัว และทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้นอีกมากในช่วงหลายปีข้างหน้า

ค่าแรงปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับต้นทุนหุ่นยนต์ที่มีราคาถูกลง

ค่าแรงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอีกปัจจัยที่จะหนุนการเติบโตของ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถตอบโจทย์ใน ด้านการทำงานที่ซ้ำซ้อน งานประเภทที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก (Labor-intensive) งานที่มีสภาพแวดล้อมมีความเสี่ยงสูง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในการทำงานได้จากการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องหยุดพักเหมือนมนุษย์ และสามารถตั้งโปรแกรมใหม่หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับงานใหม่ได้ง่ายตามสภาพแวดล้อมหรือความ ต้องการตลาดที่เปลี่ยนไป ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ที่การ ฝึกอบรมอาจต้องใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง

คาดว่าในปี 2030 ราคาเฉลี่ยของหุ่นยนต์จะปรับตัวลงถึงกว่าใน 10 ซึ่งสวนทางกับสำแรงที่ปรับเพิ่มขั้น 5% หรือ เพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน (รูปที่ 5) นอกจาก หุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทในการตอบโจทย์ด้านค่าแรงที่เพิ่มขึ้นแล้ว ในช่วงหลายปีข้างหน้าพัฒนาการของ AI ที่ฉลาดขึ้นมาก จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากจะเข้ามาทำงานสำคัญแทนมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อกลุ่มคนทำงานประเภท White Collar หรือ พนักงานออฟฟิศ ผู้บริหารนอกเหนือจากหุ่นยนต์ยุคก่อนหน้าที่กระทบกลุ่มคน Blue Collar หรือ แรงงานระดับปฏิบัติการเป็นหลักล่าสุด IMF ได้ประเมินว่า Al จะกระทบต่อตำแหน่งงานเกือบ 40% ทั่วโลกโดยกลุ่มประเทศรายได้สูง จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศรายได้ต่ำ การเปลี่ยนแปลง นี้ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาดแรงงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นและเป็นธีมที่น่าลงทุนในระยะยาว

 

- Advertisement -