บล.กรุงศรีฯ:
INVESTMENT STRATEGY – ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยส่งสัญญาณอ่อนตัวชัดเจนขึ้น
- What’s new
รายงานเศรษฐกิจรายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยั้งคงอ่อนแอลงอีกในเดือนธันวาคมของปีที่แล้ว และเป็นการชะลอตัวในวงกว้าง โดยในฝั่งอุปทาน กิจกรรมในภาคการผลิตหดตัวลงมากขึ้นที่ 6.3% yoy จาก -4.6% ในเดือนก่อนหน้า ดังนั้น อัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมจึงลดลงถึง 1% เหลือ 56.2% ซึ่งที่ระดับนี้สะท้อนถึงอุปสงค์การลงทุนภาคเอกชนที่อ่อนแออย่างมาก การผลิตในเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม (ยกเว้นเคภัณฑ์, ปิโตรเลียมและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์) ขยายตัวติดลบทั้งหมดในเดือนนี้ ในขณะเดียวกัน ภาค บริการขยายตัวลดลงเล็กน้อยจาก 6.2% yoy เหลือ 5.9% เรามองว่าอุปสงค์ในประเทศดูน่าเป็นห่วง เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 5.9% จาก 7.3% แม้ว่าจะเป็นช่วง high season ของการจับจ่ายใช้สอยก็ตาม ซึ่งหากไม่นับการจับจ่ายของนักท่องเที่ยว การบริโภค (ของคนไทย) ขยายตัวติดลบ 1.3% ซึ่งอาจจะเป็นเพราะผู้บริโภคชาวไทยเลื่อนแผนการใช้จ่ายไปหลังปีใหม่ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากโครงการ e-receipt ของรัฐบาล ส่วนทางด้านของการลงทุนการใช้จ่ายในภาคเอกชนหดตัวลง 1.8% จากที่ขยายตัว 0.4% ในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลโดยรวมแสดงว่าเศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ โดยเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ตลาดงานยังค่อนข้างนิ่งในช่วงปลายปีที่แล้ว
Analysis
เราคิดว่าตัวเลขเศรษฐกิจของเดือนล่าสุด แสดงสัญญาณที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงในหลาย ๆ ด้าน โดยในฝั่งอุปทาน เรายังคงคาดว่าการค้าโลก และภาคการผลิตน่าจะดีดตัวขึ้นได้เล็กน้อย ซึ่งจะพอช่วยประคับประคองประเทศไทยได้บ้าง อย่างไรก็ตาม เรายังจะรอดูตัวเลข PMI ของโลก และประเทศต่าง ๆ ที่จะประกาศ ออกมาในวันนี้ (1 กุมภาพันธ์) เพื่อให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น ประเด็นสำคัญที่เราเป็นห่วงยังคงเป็นเรื่องของการบริโภคในประเทศที่อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจไทยจะอ่อนไหวกับสถานการณ์ในภาคการท่องเทียว ซึ่งหาก ไม่มีการตอบสนองอย่างจริงจัง และสมเหตุสมผลจากทางด้านของนโยบายการคลัง ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จะทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ผู้คนจะเริ่มคิดถึงการผ่อนคลาย นโยบายการเงินใน 2H04 จากรูปแบบของเงินเฟ้อของไทยที่ค่อนข้างแผ่วเบาในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังถือเป็น wild card ที่สำคัญอยู่ดี