บล.เอเซีย พลัส:
AOT ฟื้นตัวไม่ทันใจตลาด
จากการประชุมนักวิเคราะห์บ่ายวานนี้ ฝ่ายวิจัยมองกลาง เมื่อเทียบกับประมาณการฝ่ายวิจัย หลังกำไร 1Q67 คิดเป็นสัดส่วน 25% ของประมาณการกำไรทั้งปี แต่คิดเป็นสัดส่วน 20% ของประมาณการตลาด ประเมินมี Downside risk จากประมาณการของตลาด โดยมีรายละเอียดการประชุมดังนี้
งบ 1Q67 : รายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์งวด 1Q67 (สัดส่วนราว 57% มาจาก Duty free ทุกสนามบินของ AOT, 22% มาจากการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ และ 21% มาจากอื่นๆ อาทิ คลังสินค้า Ground service การให้บริการรถลีมูซีน) ที่ 5.5 พันล้านบาท (สัดส่วน 35% ของรายได้รวม) ทำได้เพียงทรงตัว QoQ สวนทางจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (+12.5% QoQ) ทาง AOT เปิดเผยว่าเนื่องจากงวด 4Q66 มีการปรับปรุงรายได้ย้อนหลัง ให้สอดคล้องกับผู้ใช้บริการสนามบินที่เกิดขึ้นจริง ราว 350 ล้านบาท หากไม่รวมรายการ
ปรับปรุง รายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์งวด 1Q67 เพิ่ม 5% QoQ
ทั้งนี้ แม้การจ่ายขั้นต่ำตามสัญญาส่วนแบ่งผลประโยชน์ของผู้ประกอบการทุกรายยังคงอยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรอบล่าสุด (พ.ย. 66 – เม.ย.67) แต่ทาง AOT เปิดเผยว่ามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงก่อนหน้า ทางคู่ค้ามีการจ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ด้านการยกเลิก Duty free ขาเข้า ที่เป็นข่าวตาม นสพ. ในประเทศ ช่วงก่อนหน้า ขึ้นอยู่กับ ครม. ซึ่งทาง AOT เปิดเผยว่าพื้นที่ส่วน Duty free ขาเข้า คิดเป็นสัดส่วนราว 10% ของพื้นที่ Duty free
CAPEX : ปีนี้ตั้งไว้ 1.1 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงปีก่อน โดยแผนการขยายสนามบินยังคงเป็นไปตามเดิม อาทิ Third Runway (งบลงทุนตามแผน 2.8 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นทยอยตัดค่าเสื่อม 50 ปี) น่าจะเปิดให้บริการช่วง ก.ค. 67 รองรับเที่ยวบินเพิ่ม 26 เที่ยวต่อชั่วโมง จากปัจจุบัน 68 เที่ยวต่อชั่วโมง
เป้าหมายผู้โดยสารปี 2567 (ก่อนมีมาตรการวีซ่า ฟรี ระหว่างไทยกับจีน) : ประมาณ 120 ล้านคน (100 ล้านคนปี 2566) แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 70 ล้านคน และในประเทศ 50 ล้านคน โดยภายหลังมีมาตรการวีซ่าฟรีไทย – จีน จำนวนผู้โดยสารจีนมีสัญญาณดีขึ้น ซึ่งแนวโน้มข้างหน้าทาง AOT จะประเมินจากสายการบินที่ทำการขอตารางบินฤดูร้อน (เม.ย. – ต.ค.) อีกครั้ง (ต่อด้านหลัง)
ความเห็นฝ่ายวิจัย มองกลางต่อการประชุมวานนี้ เพราะยังสอดคล้องกับสมมติฐานฝ่ายวิจัย ทั้งสมมติฐานผู้โดยสารรวมที่ทำไว้ 117 ล้านคน (ต่างประเทศ 70 ล้านคน และในประเทศ 47 ล้านคน) ประกอบกับรายได้รวม / OPEX / กำไรปกติ งวด 1Q67 คิดเป็นสัดส่วน 24.8% / 24.5% / 25.1% ของประมาณการฝ่ายวิจัยปี 2567 ตามลำดับ (2Q67 ขยายตัว QoQ ตามฤดูกาลท่องเที่ยว) อย่างไรก็ดีกำไร 1Q67 คิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของประมาณการกำไร Bloomberg consensus (ณ 14 ก.พ. 67 เช้า) บ่งชี้ โอกาสในการปรับลดกำไรจากตลาด เป็นปัจจัยลบต่อราคาหุ้น
ด้วยคาดอัตราการขยายตัวของกำไรปี 2567 – 69 เฉลี่ย (CAGR) ที่ 42.5% (VS ปี 2560 – 62 ที่ 9% ต่อปี) แม้มาจากฐานต่ำ แต่ ROE ยืนได้ในกรอบ 16% – 18% (ปี 2562 ที่ 17%) บน D/E ที่ 0.7 เท่า ซึ่งตัวเลขคาดการณ์ CAGR และ ROE ข้างต้น ประเมินว่าทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ย SET index ประกอบกับยังมองว่า AOT คงเป็นแกนหลักของภาคท่องเที่ยวไทย จึงคงคำแนะนำตามเดิม
ประเด็นความเสี่ยงสำคัญ และ SENSITIVITY ANALYSIS
1. การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวแตกต่างจากที่มอง ย่อมส่งผลถึงรายได้จากกิจการการบินและที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน ตรงข้ามกับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ โดยรายได้รวมปี 2567 – 68 ที่ลดลง (เพิ่มขึ้น) 10% (ปี 2569 – 72 คงเดิม) บนสมมติฐานอื่นคงเดิม จะส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 68 ลดลง (เพิ่มขึ้น) ราว 26% ตามลำดับ ส่วน FV อิง DCF (FCFF ปี 2567 – 2572) ลดลง (เพิ่มขึ้น) ราว 1 บาท
2. กรณีคู่ค้าเชิงพาณิชย์ มีการปรับแก้สัญญา โดยทุก 20% ของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ต่ำกว่าสมมติฐานปี 2567 – 72 บนสมมติฐานอื่นคงเดิม ส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 2572 ต่ำลงเฉลี่ยราว 17% และ FV อิง DCF (FCFF ปี 2567- 2572) ลดลงประมาณ 12 บาท
3. Norm Profit Margin ปี 2567 – 2568 ที่ลดลง (เพิ่มขึ้น) 2% จากสมมติฐานปัจจุบันที่ 29% (ปี 2559 – 2562 Norm profit margin เฉลี่ยอยู่ที่ 40% มีการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 2%) จะส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 68 ลดลง (เพิ่มขึ้น) เฉลี่ย 6% ส่วน FV อิง DCF (FCFF ปี 2566 – 2571) ลดลง (เพิ่มขึ้น) 1 บาท