รอบด้านตลาดหุ้น: Earnings play plus Earnings upward revision

ภาพตลาดและแนวโน้ม

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ

“Highlight สัปดาห์ที่ผ่านมา”

1 ตลาดหุ้นโลก MSCI All Country World ปรับตัวขึ้น 0.3% WoW นำโดยดัชนี NIKKE1225 +4.3% และ Hang Seng +3.8% ในขณะที่ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงเล็กน้อย -0.4%

2 ราคาพันธบัตรและหุ้นกู้ปรับตัวลงเล็กน้อย โดย US 7-10Y Treasury ปิด -0.8% และ US Investment Grade Credit -0.6% WoW 3 ราคาน้ำมัน WTI บวกต่อ 3.1% WoW และขึ้นทดสอบโซนเป้าหมายระยะสั้นของเราได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

4 Gold Spot แม้ว่าจะปิด -0.5% WoW แต่เริ่มเห็นแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงท้าย สัปดาห์ ทำให้ราคาขึ้นมายืนเหนือ 2,000 เหรียญได้อีกครั้ง ส่วน Silver บวกสวนทองคำได้ดี โดยปิดที่ 3.6% Wow

สรุปภาพรวม Risky Assets ยังปรับตัวขึ้นได้ดีและ outperform สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณการซื้อคืนพันธบัตรระยะยาวในระยะอันใกล้ หลังจากที่ US 10Y Bond Yield ขึ้นทดสอบแนวต้านโซน 4.3%-4.4% แล้วไม่ผ่านถึงสองครั้งในช่วงท้ายสัปดาห์

“ประเด็นสำคัญทางเศษฐกิจที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้”

  • วันจันทร์ China 1Y MLF (Medium-term Lending Facility) คาดว่าทางการจีนจะคงอัตราไว้ที่ 2.5% ตามเดิม หลังจากที่ปรับลดลงมาแล้ว 2 ครั้งในปีก่อน
  • วันอังคาร China Loan Prime Rate Consensus คาดว่าอัตราดอกเบี้ย 1Y และ 5Y จะคงอยู่ที่ระดับ 3.45% และ 4.2% ตามลำดับ
  • วันพุธ US FOMC Minutes คาดว่าเนื้อหาคงไม่มีอะไรใหม่ โดยตลาดน่าจะรับรู้ไปหมดแล้ว เนื่องจากประธานเฟดเคยให้สัมภาษณ์ไว้ เช่น การที่เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในปีนี้ แต่ยังไม่แน่นอนว่าจะเริ่มลดเมื่อใด ขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆในสัปดาห์นี้”

1. ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วคาดว่าจะยังอยู่ในภาวะ risk on ต่อไป หนุนโดย Bullish Sentiment Index ซึ่งสำรวจโดย Consensus Inc ได้ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี

นอกจาก DM แล้ว ตลาดเกิดใหม่ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น หลังจากที่ Momentum Tracker เริ่มยืนได้ในโซน strength เป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน (สัปดาห์นี้ลุ้นว่าตลาดหุ้นจีนเป็นตัวผลักดันให้ performance ของดัชนี MSCI EM ดีขึ้น)

2. สำหรับสินทรัพย์อื่นๆ คาดว่า Gold Spot จะฟื้นตัวต่อจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว จากแรงกดดันที่ลดลงของ Bond Yield และ Dollar Index ส่วนราคาน้ำมัน WTI ก็มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อไปทดสอบแนวต้านถัดไปโซน 81-83 เหรียญ เนื่องจาก Momentum Tracker มีแนวโน้มที่ดีขึ้นและค่าใกล้กับเข้าสู่ strength zone แล้ว

3. ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่แล้วยังเคลื่อนไหวขึ้นๆลงๆไร้ทิศทาง จากวอลุ่มเทรดเฉลี่ยของ 5 วันทำการที่เบาบาง ซึ่งปรับตัวลงเหลือเพียง 36,100 ลบ. ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาเดียวกันในปี 2023 และ 2022 ที่ระดับ 72,000 ลบ. และ 94,000 ลบ. เป็นอย่างมาก

Quant Focus List ประจำสัปดาห์ ได้แก่

  • Bank: BBL
  • Commerce: CPALL, CPN, CRC
  • Conmat: DCC
  • Construction: STEC (ตั้งรับ)
  • Energy: BSRC, PTTEP, SPRC
  • Media: MAJOR
  • MAI: YGG

Optional:

1. China’s DR: CN01, CNTECH01 และ HK01 (ลุ้นการเกิดภาพ bear rally ของตลาดหุ้นจีน)

2. Vietnam’s DR: E1VFVN3001, FUEVFVNDO1 (Momentum Tracker ของตลาดหุ้นเวียดนามล่าสุดอยู่ใน strength zone จึงทำให้หุ้นขนาดใหญ่ยังมีแนวโน้มซิกแซกขึ้น)

สรุปภาพตลาดวานนี้

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา DELTA กดดันดัชนี โดยส่งผลต่อดัชนีไป 4 จุด และลาก HANA CCET ลงมาด้วย (ไม่รวม DELTA จะเป็นบวกเล็กๆ) โดยหุ้นบวกส่วนใหญ่ กลุ่ม PTT-PTTEP CPALL-CPAXT ADVANC-INTUCH ขณะที่หุ้น Alpha ไม่ค่อยทำงาน มีเพียงบางตัวบวกแรง เช่น NAT POMPUI ORN ส่วนตัวที่กดดันตลาดอื่นๆ เช่น IVL BDMS BH AOT AWC

แนวโน้มตลาดวันนี้

Earnings play plus Earnings upward revision

สัปดาห์ที่แล้วตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบที่คาด โดยมีการพักตัวลงเกือบหลุด 1,379 จุด ก่อนจะดีดกลับในกรอบ Sideways และสุดท้ายยังเปลี่ยนโมเมนตั้มให้ทะลุผ่าน 1,407 จุด ไม่สำเร็จ จากแรงขายหุ้นกลุ่ม ปิโตรเคมี (IVL) ชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ (DELTA HANA KCE CCET) ธนาคาร โรงพยาบาล ICT ส่วนกลุ่มบวก ได้แก่ ค้าปลีก (CPALL CPAXT) และพลังงานเชื่อมโยงน้ำมัน (PTT PTTEP ТОР ВСР)

ราคาหุ้นตลอดสัปดาห์ที่แล้ว เคลื่อนไหวจากประเด็นผลการดำเนินงานเป็นหลัก เช่น ที่แย่ผิดคาด อย่างกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ร่วงยกแผง ส่วนพลังงานเชื่อมโยง น้ำมัน พบราคาหุ้นบวกดีตาม กำไรที่ดีขึ้นกว่าคาด ดังนั้นเรามองว่าสัปดาห์นี้ การรายงานงบการเงินที่ดีขึ้น/แย่ลง จะมีอิทธิพลต่อราคา หุ้นรายกลุ่ม มากกว่า Sector Rotation (สังเกตพบว่าราคาหุ้นกลุ่ม Defensive ไม่ได้บวกดีกว่าตลาดทุกตัว กลุ่ม Beta อย่างพลังงานบวกดี แต่แบงก์แย่ ทั้งที่ภาพตลาดคือการ Sideways)

กลยุทธ์สัปดาห์นี้ จึงเน้นไปที่ ธีมการลงทุนหลัก 2 เรื่อง (โดยไม่ได้ให้น้ำหนักกับการ จัดทัพตาม Sector rotation) คือ (1) การรายงานงบกลุ่มที่เป็นความหวังหมู่บ้านอย่าง ค้าปลีก และหุ้นกลางเล็ก (2) ฤดูร้อน-ผลกระทบจากเอลนีโญ ที่จะผลักดันรายได้ ของกลุ่มที่เชื่อมโยงให้มีโอกาสดีกว่าคาด (ตามที่ BLS Research ออกรายงาน Thai Market Strategy วันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา)

กลยุทธ์การลงทุน

เลือกเล่นหุ้นตาม ธีมลงทุน Earnings play / หุ้นปันผล / ธีมการลงทุนจากปัจจัยหนุนการปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไร เช่น เอลนีโญ ทำอุณหภูมิประเทศไทยเฉลี่ย สูงขึ้น มีผลต่ออุตสาหกรรมเชื่อมโยง เช่น ความต้องการใช้ไฟฟ้าครัวเรือนเพิ่มขึ้น,ยอดขายสินค้าฤดูร้อนมีแนวโน้มจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาล เป็นต้น

What to watch

  • รายงานการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐ วันพุธนี้ คาดส่งสัญญาณที่ชัดเจนกว่า การประชุมเดือน มค. หลังเฟดเห็นตัวเลขจ้างงานแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อที่ยังเหนียวแน่นไม่ยอมลงง่ายๆ แต่ตลาดเงิน ที่ดูจะตึงตัว เช่น การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในกลุ่มธนาคารเงาอย่างรวดเร็ว คาดว่าเฟดจะแถลงรายงานการประชุม ด้วยท่าที ที่อ่อนลง กว่าการประชุมเมื่อเดือน มค.
  • งบโตรมาส 4/66 หุ้นรายตัว มีผลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นใน สัปดาห์นี้
  • การประชุมธนาคารกลาง เกาหลีใต้ คาดคงดอกเบี้ย 3.5% ส่วนอินโดนีเซียคงดอกเบี้ย 6%
  • คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (บอร์ดใหญ่) จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางเพื่อตัดสินใจ วันที่ 19 ก.พ. เรื่องการแก้กฎหมายที่จำกัดเวลาการจำหนายและอำนาจในการแก้ไขกฎระเบียบ
  • ตัวเลขเศรษฐกิจไทย GDP 4Q คาดขยายตัว 1.5% y-y โดยตัวเลขที่ตลาดคาดดูจะสูงกว่าตัวเลขที่หลุดออกมาก่อนหน้านี้ ที่ 1.4% อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยน่าจะซึมซับรับกับข่าวนี้ไปแล้ว
  • แบงก์ชาติจีนคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% คาดพุ่งเป้าปกป้องเงินหยวน ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนเอาไว้ที่ระดับ 2.50% และอัดฉีดสภาพคล่องจำนวน 5 แสนล้านหยวน (ราว 7.039 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบธนาคารผ่านทางโครงการ MLF และกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ระดับ 2.5% ซึ่งอัตราดอกเบี้ย MLF เป็นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายเมื่อมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางจีน โดยมีระยะเวลาการกู้ยืม 6 เดือน -1 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้กับธนาคารพาณิชย์
  • MSCI Rebalance ทั้งในส่วนจีน (66 บริษัทถูกถอดออกจากดัชนี MSCI China Index และดัชนี MSCI All Country World Index) และไทย MSCI Thailand Standard index ถอดหุ้นออก BANPU BJC OSP
  • FTSE Rebalance ดัชนี Large-Cap ไม่มีหุ้นเข้า แต่หุ้นออกได้แก่ CPF HMPRO IVL SCGP และไปเข้าใน Mid-Cap. แทน (ไม่มีหุ้นออกใน Mid-Cap) ส่วน Small-Cap หุ้นออก KEX RABBIT RAM SAMART WORK (มีผล 15 มี.ค.)

หุ้นแนะนำวันนี้

  • CPN คาดกำไร 4Q23 สูงกว่าประมาณการเดิม และที่ตลาดประเมินไว้หนุนโอกาสที่กำไรจะออกมาดีกว่าตลาดคาด และ/หรือเห็นการปรับเพิ่มกำไรจากตลาดในช่วงนี้ (S 63 R 66.5 SL 61)
  • CBG ลุ้น Catalysts จากประชุมบอร์ดแอลกอฮอล์ใหญ่ เลิกจำกัดเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (S 73 R 78.5 SL 70.5)

GLOBAL INVESTING BRIEF: ตรุษจีนคึกคัก ดันตลาดหุ้นบวกเด่น

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ย่อตัวเมื่อคืนวันศุกร์ โดย 3 ดัชนีหลักลบ 0.4-0.8% กดตั้นจาก Adobe (ADBE.US) -7.4% และ Uber (UBER.US) -3.7% หลังดัชนี PPI เดือน ม.ค. 67 เพิ่มขึ้น 0.9%YoY มากกว่าตลาดคาดที่ 0.6%YoY ส่งผลให้ bond yield ปรับตัวขึ้นแตะเหนือระดับ 4.3% และทำให้ตลาดกังวลว่า Fed จะเลื่อนการลดดอกเบี้ยออกไปเป็นช่วงกลางปีนี้
  • ตลาดหุ่นสหรัฐฯ จะหยุดทำการในคืนนี้ และจะกลับมาเปิดในคืนวัน อังคาร คาดตลาดแกว่งตัวในกรอบ เพื่อรอดูงบหุ้นที่สำคัญที่สุดในสัปดาห์นี้อย่าง NVIDIA (NVDA.US) เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนด ทิศทางของหุ้นเทคฯ ทั้งนี้ เรามองว่าหุ้น Home Depot (HD.US) ที่แนะนำไปเมื่อ 16 ก.พ. 67 จะเคลื่อนไหวดีกว่าตลาด ลุ้นเผยงบเดือน พ.ย.-ม.ค. 67 ดีกว่าตลาดคาด รวมทั้งรายได้ที่มีแน่วโน้มฟื้น ตัวต่อในปี 67 หลังมีสัญญาณบวกจากตลาดบ้านที่ฟื้นตัว

ตลาดหุ้นฮ่องกง

  • เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาดัชนี Hang Seng ปรับขึ้นเด่น 2.5% นำโดย Ping An (2318.HK) +4% Xiaomi (1810.HK) +5.5% และ Alibaba (9988.HK) +2.4% หลังการเดินทางด้วยรถไฟในช่วงตรุษจีนเพิ่มขึ้นกว่า 61%YoY คึกคักกว่าที่ตลาดคาด ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ
  • วันนี้คาดตลาดหุ้นฮ่องกงมีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่อง หนุนโดยหุ้นอิงการบริโภคตามตั๋วเลขการท่องเที่ยวช่วงตรุษจีนที่ทยอยออกมาดีขึ้นจากปี 66 นอกจากนี้ ทางการจีนได้ประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบธนาคารเพื่อเพิ่มสภาพคล่องเมื่อวานนี้ มูลค่ากว่า RMB500bn หรือราว 3 ล้านล้านบาท แม้ว่าจะคงดอกเบี้ยเงินกู้อายุ 1 ปี (MLF) ที่ 2.5% ก็ตาม โดยเรามองว่าจะเป็นปัจจัยหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในระยะข้างหน้า

 

ตลาดหุ้นเวียดนาม

  • ดัชนี VN บวกเบาๆ 0.6% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้มีแรงขายทำกำไรจากหุ้นกลุ่มธนาคาร Vietcombank (VCB.VN) -0.3% หลังราคาหุ้นปรับขึ้นเด่นนับจากต้นปี แต่หุ้นกลุ่มอิงการบริโภคและการท่องเที่ยวที่เราแนะนำ ปรับตัวขึ้นดีกว่าตลาด โดย Vinamilk (VNM.VN) +3.6% Airport Vietnam (ACV.VN) +3.1%
  • คาดตลาดหุ้นเวียดนามจะแกว่งตัวขึ้นต่อในวันนี้ หนุนจากภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้มากขึ้นในปีนี้ หลังเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 67 ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย ทำให้รัฐบาลเวียดนามยังคงมีพื้นที่คงเหลือในการดำเนินนโยบายผ่อนคลายต่อเนื่อง โดยคาดว่ากลุ่มอิงการบริโภคและท่องเที่ยวจะเป็นธีมหลักที่น่าสนใจลงทุนจากมูลค่าที่ยังถูกกว่าหุ้นกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มธนาคารและนิคมอุตสาหกรรมที่ราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมาพอสมควร
- Advertisement -