KS Daily View 20.02.2024 >>> GDP ไทยต่ำคาด จับตารัฐเร่งเบิกจ่าย พรบ.งบประมาณ คาดดัชนีแกว่งตัวในกรอบ 1,380-1,400 จุด หุ้นแนะนำ KKP, PSL
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ: ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดทำการในวัน ปธน.; Dollar index +0.00% เป็น 104.28 และค่าเงินบาทปิดที่ 36.081; ราคาน้ำมันดิบ Brent Futures -0.7% เป็น 82.89/bbl; ราคาทองคำ +0.2% เป็น 2015.6/ounce; US 10Y yield ปิดทำการในวัน ปธน.
ในประเทศ: SET Index +1.06 จุด หรือ +0.08% ปิดที่ 1387.33 จุด หุ้นใน SET100 ที่ราคาเพิ่มขึ้นมากสุด ได้แก่ STGT (+12.32%), STA (+10.84%), TASCO (+4.91%), TRUE (+3.10%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ราคาลดลงต่ำสุด ได้แก่ BYD (-3.38%), PTTEP (-2.90%), CPF (-2.20%), ITC (-2.04%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
คาดดัชนีแกว่งตัวในกรอบ 1,380-1,400 จุด ดัชนีหุ้นไทยปิดบวกได้วานนี้จากความคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังตัวเลข GDP 4Q23 จะออกมาต่ำคาดโดยเพิ่มขึ้น 1.7% YoY ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.6% YoY ทำให้คาดจะเห็นการเร่งเบิกจ่าย พรบ. งบประมาณ รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะเดียวกันเราเชื่อว่าสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอและเงินเฟ้อที่ถูกกดดันเป็นสาเหตุหลักของการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เรามองว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25-50bps จาก 2.50% เป็น 2.25% ในระยะถัดไป อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นขึ้นของตลาดจะถูกจำกัดด้วยUS 10Y bond yield ที่ปรับขึ้นสะท้อนเฟดเลื่อนการลดดอกเบี้ย
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) GPP ของไทยลดลง 0.6% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 1.7% YoY ในไตรมาส 4/2566ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.6% YoY ขณะเดียวกัน สภาวะเศรษฐกิจไทยในปี FY2566 ขยายตัวขึ้น 1.9% น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.2% และ 2.5% ในปี 2565 โมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงมีสาเหตุหลักจากการบริโภคของภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง และการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดจีดีพีปีนี้ลงเหลือ 2.6% จากเดิม 3.1% สอดคล้องกับทางสภาพัฒน์ฯ ที่ปรับลดเป้าจีดีพีปีนี้ลงเป็น 2.2-3.2% เนื่องจากโมเมนตัมในการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ชะลอตัว
2.) สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจรายงานว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้โพสต์ทวิตเตอร์ เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา (19 พ.ย.) ขอให้ กนง. ประชุมนัดพิเศษหั่นดอกเบี้ยนโยบายหลัง GDP โตต่ำคาด
3.) ธปท. เปิดเผยวานนี้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2566 หดตัวเล็กน้อยที่ 0.3% YoY จากการทยอยชำระคืนหนี้ของภาคธุรกิจหลังเร่งขยายตัวต่อเนื่องเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงโควิดNPL ไตรมาส 4 ปี 2566 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 4.92 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.66% โดยเป็นการลดลงจากสินเชื่อธุรกิจเป็นหลักจากการบริหารจัดการคุณภาพหนี้และการกลับมาชำระคืนหนี้ ขณะที่ยอดคงค้าง NPL ของสินเชื่ออุปโภค-บริโภคยังเพิ่มขึ้นในทุกพอร์ต ส่วน Stage 2 loan อยู่ที่ 5.86% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,380-1,410 จุด โดยปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตามได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ, ทิศทางเงินลงทุนต่างชาติ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ก.พ., ยอดขายบ้านมือสองเดือน ม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 30-31 ม.ค.67
KKP (ราคาพื้นฐาน 54.75 บาท) ราคารถยนต์มือสองผ่านลานประมูล เพิ่มขึ้น 10-15% ในช่วงปลายปี 2566 และเพิ่มขึ้น 30% ในเดือนม.ค. ขณะที่คาดว่าแนวโน้มจะดีต่อเนื่องไปถึงก่อนสงกรานต์จากการเข้าช่วง Hi season ทำให้เราคาดว่าผลขาดทุนจากรถยนต์ยึดคืนของ KKP จะลดลงในไตรมาส 1/2567 นอกจากนี้เริ่มเห็นสัญญาณการตกชั้นที่ลดลงของสินเชื่อในกลุ่ม Auto loans โดยตัวเลข Stage 2 loans ใน 4Q23 ลดลงเป็น 14.29% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 14.55% แม้ NPL จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.13% ใน 4Q23 จาก 2.10% ใน 3Q23 เรามองว่าราคาหุ้น KKP ปัจจุบันที่ปรับตัวลงกว่า -34% จากต้นปี 2023 แย่กว่ากลุ่มธนาคารที่ -7% สะท้อนความกังวลทั้งราคารถมือสองที่ตกต่ำและการรุกตลาดของรถยนต์ EV แล้ว ขณะที่การประเมินมูลค่าของ KKP ดูน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วย PBV ปี 2567 ที่ 0.6 เท่า และปันผลตอบแทน 5%
PSL (ราคาพื้นฐาน 9.40 บาท) ค่าระวางเรือ BDI ฟื้นตัว 1.18% วานนี้และมีแนวโน้มขึ้นต่อจากการเข้าสู่ช่วง Hi season นอกจากนี้มองว่าจะมีการ restocking ก่อนการเลือกตั้ง ปธน. สหรัฐฯ ปลายปีจากนโยบายหาเสียงของ Donald Trump ที่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าโดยเฉพาะกับจีน และหลังเลือกตั้งมีแนวโน้มจะหย่าศึกระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้คาดว่าจะเห็นอุปสงค์สินค้าแห้งเทกองในการบูรณะยูเครนด้วย
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันอังคาร ติดตามการประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารจีน (PBOC) โดยตลาดคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย Loan prime rate ระยะ 1 และ 5 ปี ไว้ที่ 3.45% และ 4.20% ตามลำดับ ต่อด้วยติดตามตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของยุุโรปสำหรับเดือน ธ.ค. ตลาดคาดจะเกินดุลที่ 45 พันล้านยูโร เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 31.7 พันล้านยูโร
- วันพุธ ติดตามตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่นสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดจะขยายตัว 12.5% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 9.8% YoY และติดตามตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยุโรปสำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ -15.5 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -16.1 จุด ต่อด้วยตัวเลขยอดขายรถของไทยสำหรับเดือน ม.ค. โดยตัวเลขรายงานในเดือนก่อนหน้าที่ 68,326 คัน และปิดท้ายที่ติดตามบันทึกการประชุม Fed FOMC minutes
- วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตเบื้องต้นของยุโรป (Flash PMI) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 46.8 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 46.6 และดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของยุโรปสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ 2.8% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 2.9% YoY และ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของยุโรปสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ 3.3%YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 3.4% YoY ปิดท้ายที่ตัวเลขยอดขายบ้านของสหรัฐฯสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ 3.96 ล้านยูนิต เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 3.78 ล้านยูนิต
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขดัชนีราคาบ้านของจีนสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ -0.7% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.4% MoM และติดตามตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมัน (German ifo Business Climate) สำหรับเดือน ก.พ. โดยตัวเลขรายงานที่ 85.2 ในเดือนก่อนหน้า