Banking sector: ติดตามการรายงานผลประกอบการ 3Q21 ของกลุ่มธนาคาร โดย นวค. KS คาดกำไร 3Q21 ของธนาคาร 7 แห่งที่ cover จะอยู่ที่ 2.85 หมื่นลบ. (-31% QoQ แต่ +27% YoY) สาเหตุที่กำไรลดลง QoQ เพราะ BAY ไม่มีกำไรพิเศษจาการ IPO ติดล้อ, รายได้ non-NII ลดลง NIM ลดลง และ credit cost สูงขึ้น ขณะที่กำไรที่โต YoY จาก non-NII ที่สูงขึ้นจากปีก่อน โดยธนาคารที่คาดว่าจะรายงานกำไร 3Q21 เติบโตโดดเด่น YoY ได้แก่ BBL, KTB และ SCB
Auto and EV related sectors: ติดตามยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ย. ของไทยและแนวโน้มของอุตสาหกรรมในช่วงที่เหลือของปี โดยล่าสุดทาง Toyota มีแผนจะปรับลดการผลิตรถยนต์เดือน พ.ย. ลง 15% หรือราว 1.5 แสนคัน จากปัญหา chip shortage และไฟฟ้าขาดแคลนที่จีนทำให้ยังเร่งผลิตได้ไม่เต็มที่ แต่จะไปเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นในเดือนธันวาคมเป็นต้นไป โดยทาง Toyota ยังคงเป้าหมายการผลิตรถยนต์ที่ 9 ล้านคันสำหรับ FY21 (เม.ย. 2021 – มี.ค. 2022) ทั้งนี้ยอดผลิตรถยนต์เดือน พ.ย. ปีนี้ของ Toyota จะเท่ากับเดือน พ.ย. ปีก่อนที่ 8.2 แสนคัน
Digital currency related sectors: ติดตามทิศทางราคาบิทคอยน์ซึ่งปรับตัวขึ้นกว่า 10% WoW มาที่ระดับเกิน US$60,000 ต่อบิทคอยน์ ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ US$64,000 ต่อบิทคอยน์ ทำให้คาดว่าจะมีแรงเก็งกำไรในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ Digital currency เช่น BROOK, XPG, JTS, SIRI เป็นต้น รวมถึงธุรกิจที่จำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองบิทคอยน์ เช่น SYNEX, IT เป็นต้น
Reopening related sectors: ติดตาม “สุชาติ ชมกลิ่น” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตรียมเปิดนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เบื้องต้นตั้งเป้าไว้ที่ 50,000-80,000 คน จาก 3 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา, กัมพูชา และ สปป.ลาว สอดคล้องกับแผนเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 โดยมองว่าอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลบวกคือ กลุ่มรับเหมาก่อนสร้าง และร้านอาหาร
Healthcare sector: ติดตามราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เตรียมเปิดจองโมเดอน่า 555 บาท/เข็ม ซึ่งอาจกระทบต่อการจำหน่ายวัคซีนทางเลือกของ รพ.เอกชน เพราะตั้งราคาไว้สูงกว่าที่ 1,650 บาทต่อเข็ม โดย นวค. KS ประเมินหุ้นที่คาดว่าจะได้ปรับผลกระทบมากสุดคือ BCH และ THG ที่กำไรจากวัคซีนทางเลือกคิดเป็น 6-7% ของกำไรสุทธิปี 2022-23
มุมมองตลาดหุ้น วันนี้คาด SET กรอบ 1635-1645 หุ้นแนะนำ SVI
1) SVI (ราคาพื้นฐาน 6.30 บาท) คาดรายงานกำไร 3Q21 เพิ่มขึ้น 8.4% YoY และ 31% QoQ จากยอดขายและ GPM ที่สูงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าและการปรับเพิ่ม ASP นอกจากนี้บริษัทเตรียมซื้อกิจการ TPT ซึ่งจะช่วยในการผลิตลดต้นทุนการผลิตและขยายฐานลูกค้าญี่ปุ่นเพิ่มเติม
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
วันจันทร์ ติดตาม ตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ของไทยเดือน ก.ย. ตัวเลข GDP 3Q21 ของจีนคาด +0.5% QoQ และ +5.2% YoY ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือน ก.ย. คาด +4.5% YoY ตัวเลข Retail sales ของจีนเดือน ก.ย. คาด +3.3% YoY ตัวเลข Fixed asset investment ของจีนใน 9M21 คาด +7.9% YoY และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +5.7% YoY
วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข Housing starts ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด -0.9% MoM เป็น 1.6 ล้านยูนิต และตัวเลข Building Permits ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด -1.8% MoM เป็น 1.69 ล้านยูนิต
วันพุธ ติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. คาด +11% YoY และ +34% YoY ตามลำดับ ตัวเลข Loan Prime Rate 1 ปีของจีน คาดคงดอกเบี้ยที่ 3.85% ตัวเลข House Price Index เดือน ก.ย. ของจีนคาด +4% YoY ดัชนีราคา PPI ของเยอรมันเดือน ก.ย. คาด +1% MoM และ +12.7% YoY และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ รายสัปดาห์
วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลข Existing Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +1.2% MoM เป็น 5.95 ล้านยูนิต ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯรายสัปดาห์คาด 2.98 แสนคน
วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน ก.ย. ดุลการค้าของไทยเดือน ก.ย. ตัวเลข Inflation และ Core Inflation เดือน ก.ย. ของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. คาด -0.3% YoY และ +0.1% YoY ตามลำดับ ตัวเลข Markit Manufacturing PMI Flash ของยูโรโซน เดือน ต.ค. คาด -2.7% MoM เป็น 57 จุด ตัวเลข Markit Service PMI Flash ของยูโรโซน เดือน ต.ค. คาด -1.8% MoM เป็น 55.4 จุด ตัวเลข Markit Manufacturing PMI Flash ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาดทรงตัว MoM ที่ 60.3 จุด และตัวเลข Markit Service PMI Flash ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาดทรงตัว MoM ที่ 55.1 จุด