KS Daily View 01.03.2024 >>> โค้งสุดท้ายของงบ 4Q23 / EPS หุ้นไทยยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง ทำ SET ฟื้นช้ากว่าคาด / น้ำมันดิบปรับขึ้นในเดือน ก.พ. คาด OPEC+ ขยายเวลาลดกำลังการผลิต/ หุ้นแนะนำ SJWD, PSL
สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้
- ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA +0.12% S&P500 +0.52% NASDAQ +0.90%; Dollar index +0.19% เป็น 104.139 และค่าเงินบาทปิดที่ 35.872; ราคาน้ำมันดิบ Brent Futures -0.07% เป็น 83.62/bbl; ราคาทองคำ +0.6% เป็น 2046.29/ounce; US 10Y yield -3bps เป็น 4.24%
- ในประเทศ: SET Index -11.380 จุด หรือ -0.82% ปิดที่ 1370.67 จุด หุ้นใน SET100 ที่ราคาเพิ่มขึ้นมากสุด ได้แก่ TLI (+4.65%), DELTA (+3.26%), HANA (+2.78%), SAPPE (+2.67%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ราคาลดลงต่ำสุด ได้แก่ EGCO (-9.62%), TASCO (-7.02%), GUNKUL (-6.16%), BCP (-4.60%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
คาดดัชนีฟื้นตัวในกรอบ 1,360-1,380 จุด โดยวานนี้ดัชนีปรับตัวลงแรงจากทิศทางของกำไร บจ. ใน 4Q23 ภาพรวมออกมาแย่กว่าคาด โดยพบว่า 188 บริษัทที่อยู่ในความสนใจของตลาดรายงานงบ 4Q23 ที่ 1.36 แสนลบ. (-43% QoQ, flat YoY) และโดย 137 บริษัทที่มีการคาดการณ์กำไรโดย Bloomberg Consensus รายงานกำไร 4Q23 แย่กว่าคาด -24% ทำให้ล่าสุด Bloomberg Consensus ปรับลดประมาณการ EPS หุ้นไทยลงเป็น 94 จุด หรือลดลงแล้ว -3% จากต้นปี 2024 วันนี้ติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ของจีน ญี่ปุ่น จีน ยูโรโซนอังกฤษ และสหรัฐฯ โดยหากตัวเลขออกมาดีกว่าคาด หรือกลับสู่โซนการขยายตัว (>50 จุด) จะเป็น sentiment บวกกับกลุ่มส่งออก และโลจิสติกส์
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
- ดัชนี Nasdaq ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2021 หนุนจากธีม AI และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.4% MoM ในเดือนมกราคมตามที่คาดไว้ และเพิ่มขึ้น 2.8% YoY เพิ่มความหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงฤดูร้อน รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 1% MoM ในเดือนมกราคม ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ที่ 0.3% ขณะที่ยอดขายบ้านที่รอโอนลดลง 4.9% ในเดือนนี้ ซึ่งแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ 2% มาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลงเล็กน้อย ดอลลาร์ร่วงลง หลังตลาดปรับเพิ่มโอกาสที่เฟดจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็น 66% เพิ่มขึ้นจาก 63% ในวันพุธ ทองคำแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยตลาดคาด OPEC+ จะขยายเวลาลดกำลังการผลิต
- รายงานเศรษฐกิจเดือน ม.ค. โดย ธปท. พบว่า เศรษฐกิจไทยปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนแต่โดยรวมการขยายตัวยังอยู่ในระดับต่ำ โดยการส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นหลังจากที่หดตัวในเดือนก่อน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลง แต่หลายอุตสาหกรรมยังถูกกดดันจากอุปสงค์โลกที่ฟื้นตัวช้า สินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูง และปัจจัยเชิงโครงสร้าง ด้านการลงทุนภาคเอกชนทยอยปรับดีขึ้น และการบริโภคภาคเอกชนและเศรษฐกิจในภาคบริการยังขยายตัวได้ตามรายรับในภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากรายจ่ายลงทุนและรายจ่ายประจำของรัฐบาลกลาง
- ดัชนีราคารถยนต์มือสองที่รายงานโดย TTB เริ่มฟื้นตัวขึ้นในเดือน ม.ค. โดยราคารถยนต์นั่งมือสองปรับเพิ่มขึ้น 12% MoM ขณะที่ราคารถกระบะมือสองปรับเพิ่มขึ้น 8% MoM มองเป็นบวกกับกลุ่มแบงค์เล็กที่เน้นปล่อยสินเชื่อรถยนต์ (KKP, TTB, TISCO) รวมถึงกลุ่ม Auto title loan (MTC, TIDLOR, SAWAD, HENG) จากโอกาสที่จะบันทึกผลขาดทุนรถยึดลดลง
- ก.ล.ต.เตรียมเสนอ ที่ประชุมบอร์ดมี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ “กองทุนรวม” ลงทุน “บิตคอยน์อีทีเอฟ” แย้มกำลังพิจารณาแนวทางเหมาะสม ยืดหยุ่นไม่ทับซ้อน บลจ.ระบุเบื้องต้นกำหนดสัดส่วนลงทุน ไม่เกิน 20% ของพอร์ตรวม หรือไม่เกิน 5% ต่อประเภท
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงหลุดกรอบแนวรับรายสัปดาห์ของเราที่ 1,380-1,420 จุด มองแนวรับถัดไปที่บริเวณ 1,350 จุด หลังนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องจากแนวโน้ม EPS หุ้นไทยยังเผชิญการปรับลดต่อเนื่อง สำหรับปัจจจัยที่ต้องติดตามในวันศุกร์ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ของจีน ญี่ปุ่น จีน ยูโรโซนอังกฤษ และสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์หน้าติดตามการให้ถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell ต่อสภาคองเกรส, ตัวเลขงานเปิดใหม่ของสหรัฐฯ และการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนตลาด
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
- SJWD (ราคาพื้นฐาน 17.50 บาท) SJWD รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 4/66 ที่ 261 ลบ. เพิ่มขึ้น 131% YoY และ 87% QoQ ดีกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 15% และ 13% กำไรสุทธิทั้งปี 66 เติบโตขึ้น 51% YoY มาทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 761 ลบ. รายได้ที่เติบโตขึ้นแข็งแกร่งหนุนการเติบโตของกำไรเชิง YoY ขณะที่ GPM ที่เพิ่มขึ้นและการขาดหายไปของค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกี่ยวข้องกับ EBT เหมือนที่บันทึกในไตรมาส 3/66 หนุนการเติบโตเชิง QoQ เราคาดว่ากำไรสุทธิรายไตรมาสของ SJWD ในปี 2567 จะอยู่ในทิศทางขาขึ้น การลงทุนใหม่ที่มากขึ้นที่บริษัทฯ ตั้งเป้าซื้อกิจการในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2567 จะเพิ่ม upside ต่อประมาณการปัจจุบันของเรา
- PSL (ราคาพื้นฐาน 9.40 บาท) BDI ปรับตัวขึ้นต่ออีก 3.4% คืนก่อน จากแนวโน้มการ restocking สินค้าแห้งเทกองหลังผ่านช่วง Low season ก่อนเทศกาลตรุษจีนและวัฏจักรการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับสู่รอบการฟื้นตัว โดยล่าสุดดัชนี PMI ภาคการผลิตของโลกปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50 จุดในเดือน ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา เราคาดว่า PSL จะรายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2567 ในช่วงโลว์ซีซั่นและมากกว่าระดับปีที่แล้วที่ 79 ลบ. เนื่องจากค่าระวางเรือ Supramax YTD (12,000 ดอลลาร์ฯ/ลำ/วัน) มากกว่าต้นทุนรวมที่ 9,000-10,000 ดอลลาร์ฯ/ลำ/วัน) และระดับในไตรมาส 1/2566 ที่ 10,222 ดอลลาร์ฯ/ลำ/วัน
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีนเดือน ม.ค. คาด 49.3 จุด และตัวเลข Caixin Manufacturing PMI ของจีนเดือน ม.ค. คาด 50.9 จุด ตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของญี่ปุ่น (Jibun Manufacturing PMI) สำหรับเดือน ก.พ. โดยตลาดคาดที่ 47.2 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 48.0 และติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของยุโรป (Eurozone Manufacturing PMI) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 46.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 46.6 ต่อด้วยช่วงข้ามคืนติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ (ISM Manufacturing PMI) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 49.1 ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า