Daily Focus: Selective Play // Hold after Accumulated
2024 SET Target : 1470
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index พักตัวลงตามตลาดหุ้นทั่วโลก จากเงินเฟ้อ PPI สหรัฐฯเดือนก.พ. ที่สูงกว่าคาด กดดันสินทรัพย์เสี่ยง ดัชนีปิดลบ 8.89 จุด ที่ระดับ 1,386.04 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นขึ้นเป็น 5 หมื่นลบ. โดยมีผลของ FTSE Rebalance สถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นบางๆ 90 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายหนาแน่น 2.2 พันลบ. (และ Short Index Futures 1.8 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,378-1,392 จุด โดยตลาดไม่มีปัจจัยหนุนใหม่ ขณะที่สัปดาห์นี้มีธนาคารกลางหลายประเทศประชุม โฟกัสหลักอยู่ที่ FED ในคืนวันพุธว่าจะส่งสัญญาณด้านดอกเบี้ยอย่างไร และต้องติดตาม Dot Plot ชุดใหม่หลังการประชุมสัปดาห์หน้า ว่าจะมีการปรับมุมมองต่อแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยในปี 2024-2026 ที่ 3 ครั้ง / 4 ครั้ง / 3 ครั้ง ตามลำดับ อยู่หรือไม่ ส่วนพรุ่งนี้ติดตาม BoJ ว่าจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยจากติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ตามที่ตลาดคาดการณ์หรือไม่ ส่วนปัจจัยในประเทศเรามองว่ามี Catalyst บวกจากงบประมาณประจำปี 2567 ที่คาดว่าจะผ่านสภาผู้แทนๆ และวุฒิสภาในช่วง 2 สัปดาห์นี้ และนำขึ้นทูลเกล้าฯวันที่ 3 เม.ย. เราเชื่อว่าจะหนุนความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนและทำให้โมเมนตัมของการลงทุนภาครัฐให้เร่งตัวขึ้นหลังติดลบแรงในไตรมาสก่อนๆหนุน GDP เร่งตัวใน 2024 เป็นต้นไป โดยเราเชื่อว่า SET Index มีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วตามกำไรบจ.และ GDP 4Q23 ที่ประกาศออกมา
กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่แนวโน้มกำไรปี 2024 แข็งแกร่งและเทรด PER/PBV ต่ำเทียบกับ Pre-Covid // ถือลงทุนหลังสะสมหุ้นเพิ่มบริเวณ 1,350 จุด
หุ้นเด่นเดือน มี.ค.: BDMS, HMPRO, KCG, SHR, TACC
FSSIA Portfolio: AOT, BCH, CPALL, CPN, GPSC, MINT, NSL, SJWD, and TIDLOR
หุ้นเด่นวันนี้ : NSL
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 26 บาท
- ภาพระยะสั้น 1Q24 ยังโตได้ตามเป้า ซึ่งจะทำให้ในแง่ q-q มีลุ้นทรงตัวที่ระดับนิวไฮได้ สวนทางฤดูกาล ส่วนภาพทั้งปี 2024 ยังสดใสโดยบริษัทตั้งเป้ารายได้รวม +19% y-y มาจากการโตตาม 7-Eleven, Food service, NSL brands + BAW
- ผู้บริหารตั้งเป้าพลิกฟื้นผลการดำเนินงานบริษัทร่วม Pen 1 และ BAW และ BEV ให้มีกำไรในปีนี้ เราเริ่มเห็น Upside ต่อประมาณการของเราราว 4-5% บนสมมติฐานรายได้ที่ยังต่ำกว่าเป้าของบริษัท และหากสามารถบรรลุเป้าที่จะไม่รับรู้ขาดทุนจาก 3 บริษัทลูก รวมถึงการะชำระคืนหนี้ธนาคาร
- แนวรับ 21//20.50 บาท แนวต้าน 22//22.50 บาท
Fund Flow : เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนพลิกมาไหลออกจากภูมิภาคหนาแน่น US$1,643 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้และไต้หวัน US$832 ล้าน และ US$524 ล้าน ตามลำดับ ส่วนอาเซียนไหลออกทุกประเทศ ประเทศละ US$53-97 ล้าน สูงสุดที่อินโดนีเซียและต่ำสุดที่เวียดนาม ภาพรวมถูกกดดันจาก Bond Yield ขยับขึ้นจากเงินเฟ้อ PPI สหรัฐฯสูงกว่าคาด แนวโน้มกระแสเงินทุนวันนี้คาดว่ายังค่อนไปในทิศทางไหลออก ตลาดรอติดตามการประชุม FED สัปดาห์นี้
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) จับตาผลประชุม FED สัปดาห์นี้ Fed ประชุม 19-20 มี.ค. 2024 ตลาดคาดคงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 5.25-5.50% ที่สำคัญต้องติดตาม Dot Plot ใหม่หลังการประชุมครั้งนี้ว่าคณะกรรมการเฟดจะยังคงมุมมองการปรับลดดอกเบี้ยในปี 2024-2026 ที่ 3 ครั้ง / 4 ครั้ง / 3 ครั้ง ตามลำดับอยู่หรือไม่ และระยะสั้นยังต้องจับตา Bond Yield ที่ยังปรับตัวพุ่งขึ้นต่อเนื่องโดย ล่าสุดอายุ 10 ปี ขยับมาเหนือ 4.3% สะท้อนมุมมองว่าตลาดที่ Bullish น้อยลงต่อการลดดอกเบี้ยของ Fed
(+) TTB คาดกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 5.38 พันลบ. +11% q-q, +25% y-y ทำสถิติสูงสุดรายไตรมาส แม้ธุรกิจหลักยังไม่สดใส แต่ได้ประโยชน์จากการโอนกลับรายการค่าใช้จ่ายทางภาษีต่อเนื่องใน 1Q24 และคาด PPOP เพิ่มขึ้น q-q หลักๆ มาจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลงจาก 4Q23 ขณะที่ NII และ non-NII ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจและสถานะการณ์การปล่อยสินเชื่อในช่วง 2M24 ที่อ่อนแอ ส่วน NIM ลดลงเล็กน้อยจาก cost of fund ที่ปรับขึ้น ด้านคุณภาพสินทรัพย์ไม่มีประเด็นที่น่าห่วง คาด NPL 1Q24 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.12% เรายังคงคาดกำไรสุทธิปี 2024-11% y-y และปี 2025-26 เติบโตเฉลี่ย 2-3% y-y ยังแนะนำ “ซื้อ”
(+) BCH โทนประชุมเป็นบวก บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2024 เติบโต double-digit (เราคาด +10% y-y) หนุนจากจำนวนผู้ป่วยประกันสังคมที่ลงทะเบียนแล้วเพิ่มขึ้น 4% เป็น 1.05 ล้านคน รวมถึงมีบริการรักษาด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น และคาดผู้ป่วยต่างชาติเติบโต double-digit แนวโน้มรายได้ในช่วง ม.ค.-ก.พ. 2024 เติบโต double-digit y-y และมี margin ที่สูงขึ้น ส่วนประเด็นการขอลดค่า RW ในปี 2022 คาดว่ากระทบไม่มากและจะได้ข้อสรุป 22 มี.ค. นี้ คงคาดกำไรปกติปี 2024 ที่ 1.9 พันลบ. +33% y-y จากจำนวนโควต้าคนไข้ประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น 3.14 แสนคน เป็น 1.86 แสนคน ไม่มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนปีก่อน และการ Turnaround ของโรงพยาบาลใหม่ คงราคาเป้าหมาย 26 บาท Div. Yield ปีละประมาณ 5% ยังแนะนำ “ซื้อ”
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 190.89 จุด หรือ -0.49% ปิดที่ 38,714.77 จุด นำโดยหุ้นขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งเคยหนุนตลาดทะยานขึ้นในปีนี้ ขณะที่นักลงทุนพิจารณาแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยก่อนการประชุมของเฟด ในสัปดาห์หน้า
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นว่าเฟดอาจชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่หุ้นเทเลคอมที่ปรับตัวแข็งแกร่งได้ช่วยลดช่วงติดลบในตลาด
(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก ขณะที่นักลงทุนจับตาองรายงานตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจของจีน และการประชุมของธนาคารกลางหลักต่างๆ ระหว่างสัปดาห์นี้
(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 35.90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.36%
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 22 เซนต์ หรือ 0.27% ปิดที่ 81.04 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้น 4.07% ในรอบสัปดาห์นี้ จากแรงขายทำกำไร หลังราคาพุ่งทะลุระดับ 85 ดอลลาร์/บาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. แต่ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์นี้ โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากโรงกลั่น น้ำมันของสหรัฐหลังจากเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงตามแผน ในขณะที่เช้านี้บวกอยู่ที่ระดับ 81.13 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.11%
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 6 ดอลลาร์ หรือ 0.28% ปิดที่ 2,161.50 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยถูกกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังตลาดคาดว่าเฟดอาจตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงต่อไปอีก หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อสูงเกินคาดในสัปดาห์นี้ ในขณะที่เช้านี้ปรับทรงตัวที่ระดับ 2,160.00 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ -0.07%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 831.84/ +1.83%