ตลาดหุ้นวานนี้

SET บวก 7 จุด มี Technical Rebound นักลงทุนเข้าซื้อคืนหุ้นที่ถูกเทขายในวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตามมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการลงทุนก่อนวันหยุดยาว

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

คาด SET แกว่งตัว 1,630 – 1,650 จุด โดยดัชนีได้แรงหนุนจากกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งเหนือ 83 US/Barrel  รวมถึงแรงเก็งกำไรในกลุ่มคาดการณ์งบ 3Q21 เติบโต อย่างไรก็ตามควรระวังแรงขายปรับพอร์ทของนักลงทุนสถาบันที่ Net sell มาต่อเนื่อง รวมถึงการลดความเสี่ยง long weeken 3 วันจะกดดันให้ภาวะตลาดสลับอ่อนตัวลง

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มพลังงาน PTT PTTEP TOP PTTGC SPRC BCP ราคาน้ำมันดิบ+ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น
  • กลุ่มกำไร 3Q21 เติบโต BANPU LANNA GULF CHG BCH BDMS KCE  PSL  TTA

หุ้นแนะนำวันนี้

  • TOP (ปิด 57.25 ซื้อ/เป้า 61 บาท) ได้ Sentiment บวกราคาน้ำมันดิบกลับมาฟื้นตัว ขณะที่ค่าการกลั่น ณ โรงกลั่นสิงคโปร์เพิ่มขึ้นทะลุ 8$/bbl เทียบกับ 1H21 เฉลี่ยที่ 1-2 $/bbl ด้านผลการดำเนินงานคาดกำไรสุทธิ 3Q21 ประมาณ 2.8 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น 34%qoq และ 298%yoy
  • JMT (ปิด 47.25 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 57) คาดยังประคองงบ 3Q21 เติบโตทั้ง qoq และ yoy แม้จะมีอุปสรรคจากการบ้างจากนโยบาย 29 จังหวัด ยอดการเก็บหนี้ยังทำได้ดี ขณะที่ GPM ยังเพิ่มขึ้นจากกองหนี้หลายกองตัดต้นทุนหมดแล้ว

บทวิเคราะห์วันนี้

AOT, GLOBAL, ICHI, KTB, TTB

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (+) ดาวโจนส์บวก 152 จุด  จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่ง: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 152.03 จุด หรือ +0.43% ปิดที่ระดับ 35,609 จุด ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่งยังเป็นปัจจัยหนุนหลัก โดยข้อมูลจาก FactSet ระบุว่า บริษัทจำนวน 82% ในดัชนี S&P 500 ที่รายงานผลประกอบการในไตรมาส 3 แล้ว ต่างมีกำไรสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • (+) น้ำมันดิบพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปีหลังสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐลดลง: ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 91 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 83.87 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจาก EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐลดลง 400,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรลส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 5.4 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 2.2 ล้านบาร์เรล
  • (+/-) พรุ่งนี้ติดตามตัวเลข PMI ภาคการผลิตของสหรัฐและยูโรฯ เพื่อวัดความแข็งแกร่งภาคการผลิต: โดยสหรัฐและกลุ่มในประเทศยุโรปจะเปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นของดัชนี PMI เดือน ต.ค.ออกมาก่อนซึ่งจะช่วยบ่งชี้ได้ว่าภาคการผลิตของทั้ง 2 กลุ่มประเทศยังแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ โดย Consensus คาดดัชนี PMI การผลิตของสหรัฐจะทรงตัวที่ระดับ 60.3 เทียบกับ 60.7 ในเดือน ก.ย. ส่วนยูโรโซนคาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 57 จาก 58.6 ในเดือน ก.ย. (ตัวเลขหากเกิน 50 สะท้อนภาคการผลิตยังแข็งแกร่ง)
- Advertisement -