Daily Focus: Selective Play // Hold after Accumulated
2024 SET Target : 1470
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways โดยพักตัวลงในช่วงเปิดตลาด ก่อนที่จะทยอยฟื้นตัวไต่ระดับขึ้นก่อนปิดบวกได้อ่อนๆ 1.69 จุด ที่ระดับ 1,375.58 จุด มูลค่าการซื้อขายบางเพียง 2.7 หมื่นลบ. เนื่องจากเข้าสู่ช่วงคาบเกี่ยววันหยุดยาว สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 510 ลบ. และ 1.3 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติ Long Index Futures สุทธิ 5.1 พันสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่ง Sideways to Sideways Up ในกรอบ 1,370-1,382 จุด แต่ประเมิน Upside จะยังไม่กว้างนัก เนื่องจากตลาดยังรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ เงินเฟ้อ CPI PPI ของสหรัฐฯในวันพุธ-พฤหัสฯ ว่าจะชะลอตัวลงได้มากน้อยเพียงใดหลังจากแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีทิศทางแข็งแกร่งกว่าคาด หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรฯเดือน มี.ค. ที่พุ่งขึ้นถึง 3.03 แสนตำแหน่ง (ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 2 แสนตำแหน่ง) ขณะที่ปัจจัยในประเทศสัปดาห์นี้ติดตามการประชุมกนง.วันพุธ แม้จะมีแรงกดดันให้กนง.ลดดอกเบี้ยและเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ โดยล่าสุดเงินเฟ้อไทยเดือน มี.ค. ยังต่ำกว่าคาดเล็กน้อย (Headline -0.47% y-y และ Core +0.37% y-y) แต่เราคาดว่าจะยังคงดอกเบี้ยที่ 2.5% และให้น้ำหนักในการเริ่มลดในเดือน มิ.ย. นอกจากนี้ต้องติดตามการแถลงรายละเอียดของนโยบายเงินดิจิทัลในวันเดียวกัน ซึ่งเราเชื่อว่าจากภาพที่ชัดเจรมากขึ้น จะหนุนความเชื่อให้แก่นักลงทุน ภาพรวมเรายังเชื่อว่าดัชนีมีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วตามแนวโน้มเศรษฐกิจและกำไรบจ. ที่คาดทยอยเร่งตัวขึ้นในปีนี้ ระยะกลาง-ยาวเป็นบวกมากขึ้นจากการเร่งเบิกจ่ายงบฯปี 2567 ที่จะเริ่มใน 2024 และงบฯปี 2568 คาดว่าจะไม่ล่าช้า ทำให้เรายังคง มุมมองว่า SET Index ซึ่งเป็น Leading Indicator มีแนวโน้มว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงก่อนหน้า
กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่แนวโน้มกำไรปี 2024 แข็งแกร่งและเทรด PER/PBV ต่ำเทียบกับ Pre-Covid // ถือลงทุนหลังสะสมหุ้นเพิ่มบริเวณ 1,350+- จุด
หุ้นเด่นเดือน เม.ย.: BA, CPALL, CPN, ITC, TIDLOR
FSSIA Portfolio: AOT, BCH, CPALL, CPN, GPSC, NSL, SHR, SJWD, and TIDLOR
หุ้นเด่นวันนี้ : SJWD
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 23 บาท
- เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตครั้งใหม่ที่กำลังจะเริ่มขึ้น เราคาดรายได้ปี 2024 จะเติบโต12% y-y อยู่ในกรอบเป้าหมายของบริษัทที่ 10-15% เติบโตจากทั้ง 4 ธุรกิจดาวเด่น ได้แก่ คลังสินค้าทั่วไป คลังสินค้าอันตราย ลานจอดพักรถยนต์ และห้องเย็น (สัดส่วนรายได้ 16% แต่สร้าง Gross Margin 39%)
- นอกจากนี้ยังมีแรงหนุนจากการลงทุนใน ANI และ SWIFT รวมถึงกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้ากอง REIT ช่วยหนุนการเติบโตของกำไร เราคาดกำไรปี 2024-26 +14% CAGR
- แนวรับ 15-14.80 บาท แนวต้าน 16//16.60-16.70 บาท
Fund Flow : ช่วง 2 วันที่ผ่านมากระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาคสุทธิ US$851 ล้าน นำโดยไต้หวันและอินโดนีเซีย US$499 ล้านและ US$237 ล้าน ตามลำดับ ขณะที่ไหลเข้าไทย US$35 ล้านแนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่าจะทรงตัวรอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อ CPI และ PPI สหรัฐฯสัปดาห์นี้
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) สัปดาห์นี้จับตาการประชุมกนง. ล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน มี.ค. 24 ออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย และต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย 1-3% อย่างไรก็ตามเราคาดว่าทิศทางเงินเฟือในเดือน เม.ย.-พ.ค.จะเริ่มขยับขึ้นหลังราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวแรง รวมถึงผลของฐานที่เริ่มต่ำในเดือน พ.ค. ปีก่อน เราจึงยังคาดว่ากนง.จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% และมองโอกาสลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย มีสูงกว่า แต่หากปรับลดทันทีในรอบนี้จะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้น และอาจมีแรงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่ม Finance และไฟฟ้า ที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง
(+) ก.คลังชงมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ โดยจะมีการลดค่าธรรมเนียมการโอนจากปกติ 2% เหลือ 0.01% และค่าจดจำนองจากปกติ 1% เหลือ 0.01% ก.คลังประเมินว่าจะช่วยให้เกิดการซื้อขายอสังหาฯ 8 แสนลบ./ปี เพิ่มการบริโภคได้กว่า 1.2 แสนลบ./ปี เพิ่ม GDP ได้ 1.6% ต่อปี มาตรการนี้จะใช้กับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ลบ. (ขยายจากเดิมไม่เกิน 3 ลบ. มีผลถึงสิ้นปี 2024) เรามองว่าเป็น Sentiment บวกต่อกลุ่มอสังหาฯ แต่กระตุ้นตลาดได้บางส่วนสำหรับบ้านราคา 3-7 ลบ.และสำหรับผู้ที่ซื้อแล้วรอโอน ทำให้โอนราบรื่นขึ้น เพราะกลุ่ม 3-7 ลบ.เป็นตลาดหลักในปัจจุบัน พอมีกำลังซื้อ อัตรา Rejection ต่ำกว่ากลุ่ม 3 ลบ. คาด AP, SPALI ได้ประโยชน์กว่ารายอื่นเพราะเป็นพอร์ตหลัก แต่ภาพรวมของกลุ่มฯยังคงมี Presales และกำไร 1024 ที่ไม่สดใส จากกำลังซื้อที่ยังไม่แข็งแรงและ สินเชื่อที่ถูกคุมเข้มจากแบงก์
(0) ยอดจองรถงาน Motor Show 2024 (25 มี.ค.-7 เม.ย. 2024) มียอดจองซื้อรถยนต์ 53,438 คัน เพิ่มขึ้น 25% y-y จากรถรุ่นใหม่ที่เปิดตัวในงาน มีค่ายใหม่ๆจากจีนและเวียดนาม และแคมเปญกระตุ้นจากค่ายต่างๆ ทำให้มีผู้เข้าชม 1.6 ล้านคน สูงกว่าปีก่อนที่มีผู้เข้าชม 1.5 ล้านคน โดยยอดขาย ปีนี้ 67% หรือ 35,921 คันเป็นรถสันดาป อีก 33% (17,517 คัน) เป็นรถไฟฟ้า 100% Toyota ครองแชมป์อันดับ 1 (8,540 คัน) BYD อันดับ 2 (5,345 คัน) และ Honda (4,607 คัน) ส่วน ChangAn เป็น อันดับ 6 (3,073 คัน) Aion อันดับ 7 (3,018 คัน) เรายังมีมุมมองลบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในปีนี้เช่นเดิม ส.อ.ท.คาดยอดผลิตรถปีนี้โตเพียง 3% y-y เป็น 1.9 ล้านคัน 60% เป็นการผลิตเพื่อส่งออก (-1% y-y) อีก 40% เป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศ (+9% Y-y) เราคิดว่าเป้ายอดขายในประเทศ ค่อนข้างท้าทายจากกำลังซื้อที่ยังไม่แข็งแรง สินเชื่อแบงก์ที่เข้มงวด หนี้เสียรถที่ยังมีมาก ยอดออเดอร์ที่ผู้ผลิตได้รับในปีนี้ลดต่ำกว่าปีก่อน
(+) CPAXT เราคาดกำไรปกติ 1Q24 ยังโต y-y ที่ 2.46 พันลบ. -25% q-q จากปัจจัยฤดูกาล แต่ +18% y-y หนุนจากรายได้ที่ดีขึ้นของทั้ง Makro แลt Lotus’s จาก SSSG ที่เป็นบวกราว 4-6% ด้าน Gross Margin คาดทรงตัวแต่ค่าใช้จ่ายค้าส่งคาดเพิ่มขึ้นจากการเปิดศูนย์กระจายสินค้าใหม่ ขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงาจากการปรับโครงสร้างหนี้ยังช่วยหนุนในแง่ Y-y เรายังคาดกำไรปกติปี 2024เติบโต +21% y-y ยังคงราคาเป้าหมาย 36 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”
(+) NEO เข้าเทรดวันนี้ เป็นผู้นำตลาดสินค้าอุปโภค เป็นเจ้าของแบรนด์ดัง Fineline, D-nee, BeNice เป็นต้น รายได้ส่วนใหญ่เป็นการขายในประเทศ 87% และที่เหลือส่งออกไปยัง CLMV เป็นหลักแม้อุตสาหกรรมจะแข่งขันสูง แต่บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดในอันดับ 1 และ 2 หลายผลิตภัณฑ์ เราคาดกำไรปี 2024 จะเติบโต 10% เป็น 922 ลบ. จากการเติบโตในประเทศที่กลับสู่ระดับปกติหลังผ่านโควิดและการส่งออกเติบโตมากขึ้น ส่วน 3 ปีถัดไป (2025-27) คาด +8% CAGR ประเมินราคาเป้าหมายที่ 58 บาท อิง PER 19 เท่า (Finansia เป็นผู้จัดจำหน่ายฯ)
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 11.24 จุด หรือ -0.03% ปิดที่ 38,892.80 จุด โดยตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมทั้งรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก นำโดยหุ้นที่ปรับตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ หลังเยอรมนีเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่ง แม้การซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวังก่อนการประชุมของ ECB ในวันพฤหัสบดีนี้ (11 เม.ย.)
(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก สวนทางกับทิศทางของ Bond Yield ที่ปรับตัวขึ้นของตลาดสหรัฐเมื่อวานนี้ โดยนักลงทุนจับตาผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของออสเตรเลียและความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่น
(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 36.71 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.34% (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 48 เซนต์ หรือ 0.55% ปิดที่ 86.43 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากมีรายงานว่ากองทัพอิสราเอลได้ลดจำนวนทหารที่ประจำการใน พื้นที่ตอนใต้ของฉนวนกาซา และเริ่มเจรจาหยุดยิงรอบใหม่กับกลุ่มฮามาส ซึ่ง ข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่ออุปทาน น้ำมันในตลาด ในขณะที่เช้านี้บวกอยู่ที่ระดับ 86.81 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.44%
(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 5.60 ดอลลาร์ หรือ +0.24% ปิดที่ 2,351.00ดอลลาร์/ออนซ์ โดยสัญญาทองคำยังคงปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขานรับข่าวธนาคารกลางหลายแห่งเข้าซื้อทองคำ นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียด ด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังเป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในขณะที่เช้านี้ขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,356.50 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.23%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 827.85/ -0.55%