บล.พาย
BANKING คาดผลการดำเนินงาน 1Q24 แข็งแกร่ง (NEUTRAL)
TOP PICK BBL, TTB
คาดผลกำไรสุทธิรวมของธนาคาร 8 แห่งใน 1Q24 แข็งแกร่งที่ 55.6 พันล้านบาท (+7.6% YoY, +26.6% QoQ) ธนาคารขนาดใหญ่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นกว่าธนาคารขนาดเล็ก ทั้งนี้ แม้จะมีความท้าทายจากคุณภาพสินเชื่อที่อ่อนแอลง ธนาคารไทยมีพื้นฐานแข็งแกร่ง และตั้งสำรองหนี้ฯ สูงในปี 2023 เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต สำหรับในปี 2024 เราคาดว่ากำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะเติบโตชะลอตัวที่ 7.7% YoY (2023: +18.4%) เพราะการปรับลดลงของ NIM และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น แต่มองว่า ROE จะสูงขึ้นได้ต่อเนื่องที่ 9.1% ในปี 2024 จาก 8.8% ในปี 2023 และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงขึ้นเป็น 6.4% สวนทางกับ Valuation ที่ลดลง และยังไม่แพงในมุมมองของเรา กลุ่มธนาคารซื้อขายที่ 0.5x PBV’24E หรือ -1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี ด้านมุมมองการลงทุน เราคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” เลือก BBL และ TTB เป็นหุ้นเด่น
คาดกำไรสุทธิรวมใน 1Q24 แข็งแกร่งเติบโต 7.6% YoY และ 26.6% QoQ
- คาดธนาคาร 8 แห่ง (รวม TCAP) จะรายงานกำไรสุทธิรวมใน 1Q24 ที่ 55.6 พันล้านบาท (+7.6% YoY, +26.6% QoQ) โดยกำไรเติบโต YoY หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัวตามการขยายสินเชื่อ และส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) เพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรเติบโต QoQ เนื่องจากสำรองหนี้ฯ ลดลง หลังจากธนาคารหลายแห่งได้ตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มพิเศษล่วงหน้าใน 4Q23 รองรับความผันผวนในอนาคต และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานลดลง
- คาด BBL KBANK KTB SCB และ TTB จะรายงานกำไรเติบโตทั้ง YOY และ QoQ ขณะที่คาดกำไรของ TISCO จะลดลงเล็กน้อย YOY และ QoQ เพราะสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วน KKP กำไรจะฟื้นตัว QoQ แต่จะยังลดลง YoY เพราะค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และการขาดทุนจากการขายรถยึดสูงขึ้น
สินเชื่อรวมทรงตัว QoQ แต่ปรับเพิ่มเล็กน้อย 0.7% YoY ใน 1Q24
- แม้มีมาตรการ Easy E-Receipt ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเดือน ม.ค. – 15 ก.พ. 2023 แต่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายเท่าที่ควรเพราะเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า เราคาดว่าสินเชื่อรวมใน 1Q24 ทรงตัว QoQ (+0.7% YoY) โดยคาดว่าสินเชื่อของ BBL จะโตโดดเด่น 1.5% QoQ ขณะที่สินเชื่อของ KKP KTB SCB TISCO เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วน KBANK TTB แนวโน้มสินเชื่อจะหดตัว
- เราคาดว่าหนี้เสียรวมใน 1Q24 ปรับเพิ่มขึ้น 5.7% QoQ (+3.8% YoY) หากสินเชื่อของ ITD ถูกปรับลดชั้นเป็นหนี้เสีย และ NPL ratio เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารจะปรับเพิ่มเป็น 3.8% แต่หากหนี้ของ ITD ไม่ถูกปรับลดชั้นเป็นหนี้เสีย เราคาดว่าหนี้เสียรวมจะเพิ่มขึ้น 2% QoQ และ NPL ratio ปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.66% สำหรับกรณีสินเชื่อของ ITD ถูกปรับลดเป็นหนี้เสีย เราคาดว่า Coverage ratio ของกลุ่มธนาคารจะลดลงเหลือ 178.6% ใน 1Q24 (4Q23: 184.9%) โดยธนาคารที่เกี่ยวข้องมีพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีระดับ Coverage ratio สูงเพียงพอรับความไม่แน่นอนในอนาคต
กำไรสุทธิรวมในปี 2024 เติบโตชะลอตัว หลังจากวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นสิ้นสุดในปี 2023
- คาดกำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในอัตราชะลอตัวลงที่ 7.7%/7.3% ในปี 2024-25 (2023: +18.4%) โดยคาดว่า TTB จะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิโดดเด่น 14% ในปี 2024 และ BBL (+9.7%) KBANK (+9.1%) โดยจะมีเพียง TISCO ที่คาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง 0.4% แม้ว่ากำไรของกลุ่มธนาคารจะเติบโตชะลอตัว แต่คาดว่า ROE จะปรับสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น 9.1%/9.3% ในปี 2024-25 (2023: 8.8%) สวนทางกับราคาหุ้นกลุ่มธนาคารที่ลดลงเฉลี่ย 3% YTD (ส่วนใหญ่จากราคาหุ้น BBL KBANK KTB ลดลง) และ Valuation ของกลุ่มธนาคารซื้อขายที่เพียง 0.5x PBV’24E
- เงินกองทุนของธนาคารแข็งแกร่งและสภาพคล่องเพียงพอแม้ว่ากำไรจะโตชะลอตัว เราคาดว่าธนาคารจะจ่ายเงินปั่นผลสูงขึ้นได้ในปี 2024-25 ล้อกับผลกำไรที่คาดว่าจะสูงขึ้น
คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด”
เราคงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” เพราะแม้เรามองว่าอัตราการเติบโตของกำไรจะชะลอตัวลงในปี 2024-25 และมีความท้าทายจากคุณภาพสินเชื่อที่เปาะบาง แต่พื้นฐานของธนาคารยังคงแข็งแกร่ง อัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูง และ Valuation ไม่แพง กลุ่มธนาคารซื้อขายที่ 0.5x PBV’24E หรือ -1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี ธนาคารส่วนใหญ่ซื้อขายที่ระดับ P/BV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี
คาดกำไรสุทธิรวมเติบโต 26.6% YoY และ 7.6% QoQ
- เราคาดว่ากลุ่มธนาคารจะมีกำไรสุทธิรวมที่ 55.6 พันล้านบาท (+26.6% YoY, +7,6% QoQ) โดยกำไรเติบโต YOY หนุนจาก (1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัวตามการขยายสินเชื่อ และส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) เพิ่มขึ้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายการดำเนินงานจะสูงขึ้นก็ตาม ขณะที่กำไรเติบโต QoQ เนื่องจาก (1) สำรองหนี้ฯ ลดลง หลังจากธนาคารหลายแห่งได้ตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มพิเศษล่วงหน้าใน 4Q23 รองรับความผันผวนในอนาคต และ (2) ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานลดลง
- เราคาดว่าธนาคารขนาดใหญ่ เช่น BBL KBANK KTB SCB และ TTB จะรายงานกำไรเติบโตทั้ง YoY และ QoQ ขณะที่คาดกำไรของ KKP จะลดลง YoY เพราะภาระสำรองหนี้ฯ และการขาดทุนจากการขายรถยนต์ที่ถูกยึดสูงขึ้น เนื่องจากอุปทานรถยนต์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดสูงกว่าอุปสงค์การซื้อรถยนต์มือสอง ก่อปรกับการแข่งขันของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กดดันราคาขายรถยนต์มือสองยังลดลง แต่ TISCO เราคาดว่ากำไรจะลดลงเล็กน้อย YoY และ QoQ เพราะสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น สินเชื่อรวมใน 1Q24 ทรงตัว QoQ แต่ยังเพิ่มขึ้น 0.7% YoY
- แม้มีมาตรการ Easy E-Receipt ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเดือน ม.ค. – 15 ก.พ. 2023 แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายเท่าที่ควร เพราะเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า และลูกค้าบางส่วนจะชำระคืนหนี้ใน 1Q24 เราคาดว่าสินเชื่อรวมใน 1Q24 ทรงตัว QoQ (+0.7% YoY) โดยคาดว่าสินเชื่อของ BBL จะโตโดดเด่น 1.5% QoQ ขณะที่สินเชื่อของ KKP KTB SCB TISCO เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วน KBANK TTB แนวโน้มสินเชื่อจะหดตัว
- เราคาดว่าสินเชื่ออาจยังแค่ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยใน 2Q แต่คาดว่าสินเชื่อจะเร่งตัวขึ้นใน 2H24 เพราะแรงกระตุ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลง เราคาดว่าสินเชื่อรวมปี 2024 จะขยายตัว 3% YoY ดีขึ้นจากที่โตเพียง 0.1% YoY ในปี 2023
NIM แม้อาจจะผ่านจุดพีคไปแล้วใน 4Q23 แต่จะทรงตัวระดับสูงใน 1Q24
- วัฏจักรดอกเบี้ยไทยกำลังเปลี่ยนเป็นขาลง เนื่องจาก (1) แรงกดดันจากอัตราเงินเฟือลดลง (2) เศรษฐกิจไทยต้องการแรงกระตุ้นจากการผ่อนคลายของนโยบายการเงิน (3) ลดภาระและลดความเสี่ยงในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่บางส่วนยังประสบปัญหาสภาพคล่อง และ (4) ธนาคารกลางหลักของโลกส่งสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ย
- เราคาดว่าส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของกลุ่มธนาคารจะเฉลี่ยที่ 3.56% (+38 bps YoY, -3 bps QoQ) แรงกดดันจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายจะเร่งตัวสูงขึ้นจากการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำในปี 2023 ขณะที่ดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนใหญ่ได้ปรับขึ้นไปก่อนหน้าทำให้ NIM ในปี 2024 ถูกกดดันจากต้นทุนการเงินที่เร่งตัวขึ้น เราคาดว่า NIM ของกลุ่มฯ ในปี 2024 จะปรับลดลงเหลือ 3.37% (-5 bps YoY) แต่จะยังสูงกว่าในปี 2022 ที่มี NIM เฉลี่ย 3% ทั้งนี้เนื่องจากเราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับลดลง 2 ครั้ง (ครั้งละ 25 bps) เหลือ 2.00% สิ้นปี 2024 เทียบกับ 2.50% สิ้นปี 2023 และ 1.25% สิ้นปี 2022
คุณภาพสินเชื่อ
ธนาคารมีความเข้มแข็งและได้ตั้งสำรองหนี้ฯ ล่วงหน้ารอบรับความไม่แน่นอนในอนาคต
- แม้เศรษฐกิจไทยปี 2023 จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2020 เพราะการกลับมาเปิดเมืองเป็นปกติ แต่การฟื้นตัวของไทยเชื่องช้า และฟื้นตัวแบบ K-Shape ทำให้ฐานะการเงินของลูกค้าบางกลุ่มยังไม่กลับเป็นระดับปกติ เพราะรายได้อาจไม่เพียงพอต่อการชำระคืนหนี้สินกับสถาบันการเงิน ทำให้เรามองว่าคุณภาพสินเชื่อของลูกค้าบางกลุ่มยังเปาะบาง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าบุคคล และธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SME) อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากการปิดเมืองยาวนาน และการลงทุนที่ผิดพลาดทำให้บริษัทขนาดใหญ่บางแห่ง มีปัญหาในการชำระเงินคืนหุ้นกู้ที่ถึงกำหนด และไม่สามารถชำระคืนเงินกู้กับสถาบันการเงิน จนเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ราคาหุ้นของธนาคารที่เกี่ยวข้องปรับตัวลดลง
- กรณี บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ (ITD) หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจรายงานว่าธนาคารหลัก 4 แห่ง ปล่อยสินเชื่อรวม 24 พันล้านบาท แบ่งเป็น (1) BBL วงเงิน 8 พันลบ. เป็นเงินกู้ไม่มีหลักประกัน 4 พันลบ. (2) KBANK วงเงิน 6 พันลบ. เป็นเงินกู้ไม่มีหลักประกัน 3 พ้นลบ. (3) SCB วงเงิน 6 พันลบ, เป็นเงินกู้ไม่มีหลักประกัน 3 พันลบ. และ (4) KTB วงเงิน 4 พันลบ. เป็นเงินกู้ไม่มีหลักประกัน 2 พันลบ. ทั้งนี้ มีการรายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารที่เกี่ยวข้องจะให้เงินสนับสนุนเพื่อเสริมสภาพคล่องกับทาง ITD ทั้งนี้ ธนาคารที่เกี่ยวข้องอาจจะปรับลดระดับชั้นหนี้ของ ITD ลง และได้ตั้งสำรองหนี้พิเศษที่จำเป็นรองรับไปแล้ว ดังนั้น แม้อาจจะมีแรงกดดันด้านการลงทุนต่อธนาคารที่เกี่ยวข้อง เรามองว่าผลกระทบเชิงพื้นฐานค่อนข้างจำกัด โดยแม้ธนาคารอาจต้องกันสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นในอนาคตก็จะไม่ส่งผลอย่างมีนัยต่อผลการดำเนินงานในปี 2024
- หากปรับลดชั้นสินเชื่อของ ITD เป็นหนี้เสีย จะทำให้หนี้เสียรวมใน 1Q24 ปรับเพิ่มขึ้น 5.7% QoQ (+3.8% YoY) และ NPL ratio เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารปรับเพิ่มเป็น 3.8% (4Q23: 3.6%) แต่หากหนี้ของ ITD ไม่เป็นหนี้เสีย เราคาดว่าหนี้เสียรวมจะเพิ่มขึ้น 2% QoQ และ NPL ratio ปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.66% สำหรับกรณีที่ ITD เป็นหนี้เสีย เราคาดว่า Coverage ratio ของกลุ่มธนาคารจะลดลงเหลือ 178.6% ใน 1Q24 (4Q23: 184.9%) ธนาคารที่เกี่ยวข้องมีพื้นฐานแข็งแกร่ง และ Coverage ratio สูงเพียงพอรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต
- ด้านระดับเงินทุนขั้นที่ 1 เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารไทยแข็งแกร่งที่ 16.4% ใน 4Q23 แม้จะมีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินเชื่อ เรามองว่าธนาคารมีระดับเงินทุนแข็งแกร่ง โดยมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 8.5%-9.5% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลุ่มธนาคารไทยจะยังมีความสามารถจ่ายปันผลในระดับสูงต่อเนื่อง โดยราคาหุ้นธนาคารที่ปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมา เราคาดอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเฉลี่ยของกลุ่มฯ สูงขึ้นเป็น 6.4%16.8% ในปี 2024-25
แนวโน้มการเติบโตปี 2024-25
อัตราการเติบโตของกำไรชะลอตัว หลังจากวัฐจักรดอกเบี้ยขาขึ้นสิ้นสุดลง
- เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวราว 2.5-3.0% ในปี 2024 สูงขึ้นจากโตเพียง 1.9% ในปี 2023 จากการเติบโตในทุกภาคส่วนสำคัญ (1) ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง (2) การส่งออกกลับมาขยายตัว (3) การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2024 และ 2025 (4) การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัว และ (5) การบริโภคขยายตัว แม้ในอัตราชะลอลงก็ตาม ทำให้เราคาดว่าสินเชื่อรวมปี 2024 จะขยายตัว 3% จากที่สินเชื่อขยายตัวเพียง 0.1% ในปี 2023
- แม้เศรษฐกิจไทยถูกคาดการณ์ดีขึ้นในปี 2024 แต่การฟื้นตัวยังเป็นแบบ K-Shape ทำให้ฐานะการเงินของลูกค้าบางกลุ่มยังไม่กลับเป็นระดับปกติ เห็นได้จากสินเชื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้ และจำนวนอีกไม่น้อยถูกปรับลดชั้นเป็น Underperforming loans (Stage 2) และสินเชื่อเหล่านี้อาจกลายเป็นหนี้เสียได้ในอนาคตหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง และไม่ได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินและภาครัฐ ทำให้คุณภาพสินเชื่อยังเป็นปัจจัยท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารในปี 2024
- อัตราดอกเบี้ยของไทยกำลังเปลี่ยนเป็นวัฐจักรขาลง เราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเริ่มปรับลดลงได้ใน 2Q-3024 ขึ้นกับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ยังเหลืออยู่อีก 5 ครั้ง (10 เม.ย., 12 มิ.ย., 21 ส.ค., 16 ต.ค. และ 18 ธ.ค.) จากทั้งหมด 6 ครั้งในปี 2024 โดยเราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลง 2 ครั้ง (ลดลงครั้งละ 0.25%) ทำให้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 2.0% สิ้นปี 2024 ทั้งนี้ ด้วยปัจจัย อัตราดอกเบี้ยปรับลดลง แต่ต้นทุนการเงินจะยังเพิ่มขึ้นผลจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปี 2023 ทำให้คาดว่าส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ในปี 2024 จะปรับลดลงเฉลี่ย 5 bps ที่ 3.37% และจะเริ่มเห็นการปรับลดลงของ NIM ตั้งแต่ใน 1Q24 อย่างไรก็ดี เราคาดว่าผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อผลการดำเนินงานในกล่มธนาคารค่อนข้างจำกัด เพราะอัตราดอกเบียของไทยไม่ได้สูงมากหากเทียบกับในหลายประเทศ และธนาคารไทยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้น้อยกว่าทาง กนง. ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น หากธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก็อาจจะปรับลดน้อยกว่าทาง กนง. ได้
- แต่ที่ไม่ค่อยพูดถึงกันมาก แต่เป็นเรืองสำคัญเช่นกัน คือ เราคาดว่า Credit costs ในปี 2024 จะปรับลดลง หลังจากธนาคารหลายแห่งตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษรองรับความไม่แน่นอนไปในปี 2023 ส่วนหนึ่งสะท้อนผ่าน Coverage ratio ของธนาคารที่แข็งแกร่งขึ้นและเป้าหมายการเงินปี 2024 ที่หลายธนาคารคาดว่าสำรองหนี้ฯ จะปรับลดลงได้ในปี 2024 แต่ถึงแม้จะมีความกังวลด้านคุณภาพ สินเชื่อ และ NIM ที่ปรับลดลง ธนาคารไทยมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งรองรับความไม่แน่นอน และสามารถจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นได้ใน ปี 2024 โดยกลุ่มธนาคารไทยมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 แข็งแกร่งที่ 16.4% ใน 4Q23 สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 8.5%-9.5% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะที่คาดว่าอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเฉลียของกลุ่มฯ สูงขึ้นเป็น 6.4%/6.8% ในปี 2024-25
- เราคาดว่ากำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในอัตราชะลอตัว ลงที่ 7.7%/7.3% ในปี 2024-25 (2023: +18.4%) โดยคาดว่า TTB จะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิโดดเด่น 14% ในปี 2024 และ BBL (+9.7%) KBANK (+9.1%) โดยจะมีเพียง TiSCO ที่คาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง 0.4% ขณะที่แม้กำไรจะเติบโตชะลอตัว แต่คาดว่า ROE ของกลุ่มธนาคารจะปรับสูงขึ้น ต่อเนื่องเป็น 9.1%/9.3% ในปี 2024-25 (2023: 8.8%) สวนทางกับ Valuation ที่ลดลง กลุ่มธนาคารซื้อขายซื้อขายที่ 0.5x PBV’24E หรือ -1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี ซึ่งเรามองว่าราคาหุ้นที่ลดลงได้สะท้อนความกังวลของนักลงทุนไปบางส่วนแล้ว