Daily Focus 2024: Domestic and Selective Play
2024 SET Target : 1470
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงแรงตามคาดชดเชยช่วงวันหยุดยาว ถูกกดดันทั้งจากสงกรามในตะวันออกกหลาง และการลดดอกเบี้ยของ FED ที่ยากขึ้น โดยดัชนีปิดลบ 29.44 จุด ที่ระดับ 1,366.94 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น 6.2 หมื่นลบ. กลุ่มที่ถ่วงตลาด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ธนาคาร โรงไฟฟ้า ท่องเที่ยว ค้าปลีก ไฟแนนซ์ เป็นต้น สถาบันในประเทศยังขายสุทธิในตลาดหุ้นอีก 624 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเร่งขึ้นเป็น 6.4 พันลบ. (และ Short Index Futures สูงถึง 9.5 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,360-1,375 จุด หลังจากปรับลงแรงตอบรับปัจจัยลบไปมากพอสมควรแล้ว ทั้งประเด็นสงครามระหว่างอิสราเอล-อิหร่านและการลดดอกเบี้ยของ FED ที่จะช้ากว่าที่ประเมิน ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯเริ่มย่อตัวลงบ้างทำให้การเคลื่อนไหวของสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดเอเชียเช้านี้ดูผ่อนคลายขึ้นบ้าง อย่างไรก็ตาม เรามองว่าการฟื้นตัวของดัชนียังค่อนข้างจำกัดจากปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐฯที่ปรับตัวลงช้าและความไม่แน่นอนของ FED ที่จะลดดอกเบี้ยได้เมื่อไรยังเป็นปัจจัย Overhang จนกว่าจะเห็นภาพที่สร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น ว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯจะขยับสู่เป้าหมายของ FED ที่ 2% ในระยะยาว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้การลดดอกเบี้ยของกนง.ทำได้ยากขึ้นเช่นกัน สะท้อนผ่าน Bond Yield ที่ปรับตัวขึ้นราว 25 bps ซึ่งเราประเมิน ว่ากระทบดัชนีราว 40-50 จุด ซึ่งสะท้อนอยู่ในการปรับลงไปแล้ว อย่างไรก็ตามเรายังคงคาดหวังเชิงบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจที่จะทยอยเร่งตัวใน 2Q24 เป็นต้นไป ตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 67 นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่จะเริ่มใช้จ่ายใน 4Q24 ซึ่งสำหรับ SET Index ที่ปกติเป็น Leading Indicator ต่อภาพเศรษฐกิจและกำไร บจ.ราว 3-6 เดือน ทำให้เรายังคงมองว่าดัชนีมีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงก่อนหน้าและจะทยอยฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี ปัจจัยที่ต้องติดตามในเดือน เม.ย.-พ.ค. คือการประกาศกำไร 1Q24 บจ.
กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่แนวโน้มกำไรปี 2024 แข็งแกร่งและเทรด PER/PBV ต่ำเทียบกับ Pre-Covid // ถือลงทุนหลังสะสมหุ้นเพิ่มบริเวณ 1,350+- จุด
หุ้นเด่นเดือน เม.ย.: BA, CPALL, CPN, ITC, TIDLOR
FSSIA Portfolio: AOT, BCH, CALL, CPN, GPSC, NSL, SHR, SJWD, and TIDLOR
หุ้นเด่นวันนี้ : BDMS
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 35 บาท
- เราคาดกำไร 1Q24 ที่ 4 พันลบ. +1% q-q, +16% y-y ทำ Record High หนุนจากรายที่เติบโตแกร่งทั้งจากผู้ป่วยไทยและต่างชาติในระดับ Double Digit ขณะที่ Margin คาดว่าจะขยับตัวขึ้นต่อจาก Operating Leverage
- การ Rebrand รพ.เปาโล พหลโยธินเป็นพญาไทจะช่วยยกระดับการเติบโตของทั้งรายได้และ Margin ได้ เรายังคาดกำไรปกติปี 2024 ที่ 1.64 หมื่นลบ. +14% y-y
- แนวรับ 27.25-27 บาท แนวต้าน 28.25-28.50//30 บาท
Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาคหนาแน่นอีก US$1,033 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$640 ล้าน รองลงมาคือไทยและเกาหลีใต้ US$174 ล้าน และ US$142 ล้าน ตามลำดับ ขณะที่ประเทศในอาเซียนอื่นไหลออกทุกประเทศ โดยถูกกดดันจากความกังวลว่า FED จะคงดอกเบี้ยยาวนานขึ้นหลังเงินเฟ้อลงช้า แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะชะลอการไหลออกหลัง Bond Yield สหรัฐฯเริ่มย่อตัวลงบ้างและตลาดตอบรับปัจจัยลบไปพ่อสมควรแล้วประเด็นสำคัญวันนี้
(-) TISCO กำไร 1Q24 ที่ 1.73 พันลบ. -3% q-q และ y-y ใกล้เคียงคาด สินเชื่อใน 1Q24 ค่อนข้างทรงตัวจาก 4Q23 แต่เพิ่มขึ้น 6.9% y-y ยังสอดคล้องกับ guidance ทั้งปี 2024 ที่ 0-7% y-y และเป้าหมายของเราที่ 6% y-y ขณะที่ NIM 1Q24 ลดลงมากกว่าคาดจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่เร่งตัวขึ้น ส่วน loan yield หดตัวมากกว่าคาด ด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยดีกว่าที่คาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อย คุณภาพสินทรัพย์ยังด้อยลงต่อเนื่องตาม guidance ของธนาคารฯโดย NPL ratio ณ สิ้น 1Q24 ที่ 2.27% เพิ่มขึ้นจาก 2.22% ใน 4Q23 และ credit costs ปรับ ขึ้นมาที่ 47.5 bps coverage ratio ลดลงมาที่ 178% จากการเร่งการเติบโตในสินเชื่อกลุ่ม high yield มากขึ้น เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 -8% y-y และทรงตัวในปี 2025-26 คงคำแนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 97 บาท คาดหวัง div. yield เฉลี่ยที่ 8% ต่อปี
(+) กลุ่มโรงกลั่น เบื้องต้นคาดกำไร 1Q24 ฟื้นตัว q-q หนุนจากค่าการกลั่นสิงคโปร์ที่ฟื้นตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 7-8 ดอลลาร์/บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 16% YTD จะทำให้มีกำไรจากสต็อกน้ำมัน แม้อาจมีขาดทุนจาก FX จากค่าเงินบาทอ่อนค่า แต่สุทธิแล้วคาดโรงกลั่นจะมีกำไรฟื้นตัวสูง q-q จากฐานที่ต่ำ แนวโน้ม 2Q24 คาดทรงตัวถึงชะลอหลังค่าการกลั่นปรับลงมาอยู่ที่ 3.5-5 ดอลลาร์/บาร์เรล ในช่วงเดือนเม.ย. แต่เชื่อว่าค่าการกลั่นมีโอกาสปรับขึ้นจากรัสเชีย ที่ส่งออกน้ำมันเบนซินลดลง ขณะเดียวกันแนวโน้มราคาน้ำมันดิบยังมีโอกาสยืนอยู่ในระดับสูงจากภาวะอุปทานที่ตรึงตัว และความไม่สงบในตะวันออกกลางยังคงอยู่ เราชอบ TOP เพราะโครงการ CFP คืบหน้าแล้ว 97% ขณะนี้ได้เริ่มทยอยเปิดบางเฟสแล้วคาดเปิดโครงสร้างตามแผนสิ้นปีนี้ ซึ่งจะหนุนค่าการกลั่นให้เพิ่มขึ้นอีก US$4-5/บาร์เรล และกำลังการกลั่นจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 2.75 เป็น 4.0 แสนบาร์เรล/วัน และ SPRC ที่คาด 1Q24 กลับเป็นกำไรจากขาดทุนใน 4Q24 และลุ้นทุ่นรับน้ำมันดิบจะกลับมาใช้งานปกติเร็วนี้
(+) NSL วานนี้คณะกรรมการบริษัทมีมติปรับเปลี่ยนวิธีเข้าลงทุนใน SPCI เป็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (จากเดิมเข้าซื้อหุ้นสามัญ) เพื่อป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น เดิม – 28 ก.พ. NSL ประกาศเข้าซื้อหุ้นสามัญใน SPCI (ดำเนินธุรกิจผลิต ขายส่ง ขายปลีก ส่งออกอาหารและวัตถุดิบ เช่น ชีส และกลิ่นในอาหาร เป็นต้น) ในสัดส่วน 79% ด้วยมูลค่าลงทุน 39.5 ลบ. ใหม่ – ขอเปลี่ยนวิธีลงทุนจากเข้าซื้อหุ้น เป็นการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแทน โดยคงมูลค่าลงทุนและสัดส่วนการถือ หุ้น (ในบริษัทร่วมทุน) ตามเดิม ทั้งนี้ NSL อยู่ระหว่างตรวจสอบสถานะของ SPCI หากผลเป็นที่น่าพอใจ บริษัทจึงจะดำเนินการเจรจา เข้าทำสัญญาร่วมทุนต่อไป เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการ พิจารณาการเข้าลงทุนของบริษัทที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับรู้ขาดทุนของธุรกิจใหม่ (หากไม่เป็นไปตามแผน) ขณะที่ธุรกิจปัจจุบันของบริษัทโดยรวมอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 45.66 จุด หรือ -0.12% ปิดที่ 37,753.31 จุด เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด และผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทจดทะเบียน
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทแอลวีเอ็มเอชและอาดิดาส ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ในตะวันออกกลาง
(-) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดลบ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวขอตลาดสหรัฐ ซึ่งปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 4 sessions นำโดยกลุมเทคโนโลยี
(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 36.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.07%
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 2.67 ดอลลาร์ หรือ 3.13% ปิดที่ 82.69 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยตลาดถูกกดดันจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบที่สูงเกินคาดของสหรัฐ และข้อมูลเศรษฐิจที่อ่อนแอของจีน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงหลังจากมีรายงานว่าสหรัฐมีความคืบหน้าในการผลักดันร่างกฎหมายช่วยเหลือยูเครนและอิสราเอล ในขณะ ที่เช้านี้ลบเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 82.66 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.04%
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 19.40 ดอลลาร์ หรือ 0.81% ปิดที่ 2,388.40ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเฟด อาจชะลอเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ในขณะที่เช้านี้ลดลงอยู่ที่ระดับ 2,385.30 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.13%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 827.59/ -0.31%